วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

สร้างความแตกต่างอย่างมีสไตล์สำหรับฟุตบอลไทย


                          อันที่จริงเทคนิคและสไตล์การเล่นของนักฟุตบอลทีมชาติไทย ไม่ได้ด้อยไปกว่าทีมอื่นในเอเซีย ดูอย่างเช่นทีม สโมสรธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นทีมสมัครเล่นที่เป็นแชมป์สโมสรของไทย โดยมีอาจารย์หรั่ง(ดร.ชาญวิทย์  ผลชีวิน)เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน (ผู้เขียนก็เป็นหนึ่งในสตาร์ฟผู้ฝึกสอนชุดนี้ด้วย) สามารถสร้างเกรียติและประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่เป็นสโมสรแรกที่ได้แชมป์ในรายการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรของเอเซีย 2 สมัยติดต่อกัน และยังได้แชมป์สโมสรทวีประหว่างทวีปเอเซียกับทวีปอัฟริกาอีก 1 สมัยด้วย ทั้งๆที่เป็นสโมสรสมัครเล่น นักฟุตบอลเป็นเด็กไทยทั้งหมด เช่น..สุรชัย  จตุรภัทรพงษ์   สะสม ภพประเสริฐ   สัจจา ศิริเขตร์    จตุพร ประมลบาล   วรวุฒิ ศรีมะฆะ   สิงห์ โตทวี   นิพนท์ มาลานนท์  วิเชฏฐ์  คงมาก เป็นต้น
                         สิ่งที่น่าสังเกตุนักเตะชุดนี้สามารถต่อสู้กับนักฟุตบอลระดับแชมป์สโมสรของชาติต่างๆในเอเซียได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งๆที่บางสโมสรมีนักเตะต่างชาติร่วมด้วยเพราะเป็นสโมสรอาชีพหลายทีมเช่นกัน  นั่นแสดงให้เห็นว่าถ้ามีการเตรียมตัวจัดการฝึกซ้อมอย่างดีและมีมาตรฐานแบบสากลแล้ว สามารถยกระดับและศักยภาพของนักฟุตบอลได้จริง ซึ่งทีมงานของอาจารย์ หรั่ง และนักฟุตบอลของสโมสรธนาคารกสิกรไทยได้ทำผลงานไว้ให้เห็นแล้วนักฟุตบอลของไทยทำได้จริง โดยไม่มีข้ออ้างเกี่ยวกับการที่มีร่างกายที่เล็กและเสียเปรียบอื่นใดเลย
                           เคล็ดที่ไม่ลับก็คือ   1.ผู้ฝึกสอนดี..ทีมงานได้ร่วมกันวางแผนเพื่อฝึกซ้อมเตรียมทีม ศึกษาทีมคู่ต่อสู้ จัดตัวผู้เล่นให้เหมาะสม วางแท็คติกการเล่น แก้เกมส์ได้อย่างถูกต้อง...  2.นักกีฬาดี...นักกีฬามืวินัย มุ่งมั่น ทุ่มเท ตั้งใจฝึกซ้อมอย่างจริงจัง สามารถปฏิบัติตามที่โค้ชกำหนดและแสดงสมรรนะที่ตนมีออกมาใช้ได้เต็มศักยภาพมากที่สุด...  3.การบริหารงานดี...ทีมบริหารของสโมสร ผู้จัดการ ทีมงานสนับสนุนให้การดูแลเอาใจใส่ สร้างขวัญเสริมกำลังใจเต็มที่ไม่ขาดตกบกพร่อง....  4.การสนับสนุนดี...ผู้เกี่ยวข้องทั้งสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ กองเชียร์โดยเฉพาะแฟนคลับ และสปอนเซอร์ต่างๆร่วมมือให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี...... จึงทำให้ความสำเร็จเกิดขึ้นได้
                              ส่วนสไตล์การเล่นของนักกีฬาไทยนั้นต้องมาจากพื้นฐานของทักษะที่เกี่ยวกับการครอบครองบอล รับ-ส่ง โหม่ง เลี้ยง ยิงประตู ความเข้าใจเกมส์และต้องเกมส์การเล่นตามมาตรฐานสากลไม่เล่นตามใจตนเองแล้วนั้นจึงมาพัฒนาการเล่นในรูปแบบ วิธีการและระบบการเล่นที่เหมาะสมกับนักกีฬาหรือทีมของตน ซึ่งอาจจะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพของนักกีฬาได้ แต่สิ่งที่สำคัญขาดไม่ได้น่าจะเป็นองค์ประกอยต่ไปนี้
                              1.มีสมรรถภาพทางกายดีเยี่ยม...ต้องขยันมีพละกำลังที่สามารถเล่นได้ 120 นาที ในแต่ละเกมส์การแข่ง
                              2.มีรูปแบบและระบบการเล่นที่ชัดเจน...นักฟุตบอลต้องรู้และเข้าใจเทคนิคและแทคติกการเล่นอย่างมีเอกภาพ หรือพูดง่ายๆคือเล่นอย่างเข้าขาและรู้ใจกัน
                             3.ควรเล่นบอลบนพื้นสนาม...ส่ง-รับบอลเท้าสู่เท้า เล่นบอลตามช่อง การเล่นเกมส์โต้รุกเร็วเป็นหลัก ไม่เน้นการโยนเพื่อเล่นบอลในอากาศถ้าไม่จำเป็น
                             4.เพิ่มความเร็วในการ รับ-ส่งและเคลื่อนที่รับบอล...ไม่ครองบอลนาน เน้นให้บอลเคลื่อนที่ให้มาก เปลี่ยนแกนการเล่น ซ้าย-ขวา ให้เร็ว
                             5.เพิ่มประสิทธิภาพการทำประตู...เน้นพัฒนาผู้เล่นตำแหน่งหน้าเป้า ที่มีสัญชาติญาณเป็นศูนย์แท้ ที่มีความกระหายในการยิงประตูให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญต้องเน้นในการยิงต้องแม่นยำเข้ากรอบทุกครั้งเพื่อเน้นผลการได้ประตูมากขึ้น
                             6.ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะการณ์คับขันเพียงใด และสปิริต
                             7.ต้องมีสมาธิกับเกมส์การแข่งขันตลอดเวลา จนกว่าจะหมดเวลาการแข่งขัน และต้องไม่ทำตัวเป็นผู้ตัดสินเองในขณะแข่งขัน เช่นให้สัญญาณ ล้ำหน้า ลูกออก หรือฟาล์วเป็นต้นแล้วหยุดเล่นเอง ซึ่งถ้าผู้ตัดสินไม่เห็นด้วยเกมส์จะดำเนินต่อไปจะทำให้เกิดความเสียเปรียบทันที
                             จากข้อคิดข้างต้นจะเห็นว่าสภาพภาพของคนไทยมีร่างกายไม่สูงใหญ่จึงควรใช้สไตล์การเล่นบอลกับพื้น เคลื่อนที่ให้มาก ให้บอลกันแบบเท้าสู่เท้า แทงบอลตามช่องเพิ่มความเร็วของการให้บอลเปลี่ยนแกนการเล่นและเล่นเกมส์โต้รุกเร็ว มีสมาธิและควบคุมอารมณ์ให้ได้ 
                             ในช่วงนี้พอจะมีให้เห็นถึงการปรับเทคนิคและสไตล์การเล่นให้เหมาะกับสภาพของคนไทย สอดคล้องกับแนวคิดที่ผู้เขียนได้เสนอไว้ข้างต้น ซึ่งทีมนี้ทำผลงานได้ประทับใจคนไทย เพราะนักฟุตบอลเล่นกันด้วยความสนุกต่อบอลทั้งรุก-รับ มีรูปแบบการเข้าทำประตูอย่างชัดเจน เล่นบอลกับพื้น รับ-ส่งบอลกันเร็วขึ้น ไม่โยนบอลโดยไม่จำเป็น และที่สำคัญนักฟุตบอลในทีมช่วยกันเล่น เล่นด้วยระบบและรูปแบบที่ซ้อมกันมา ไม่ทำตัวเป็นดารา ทีมที่ว่านี้คือทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ ชุดเอเชี่ยนเกมส์และชุด U-23 ในปัจจุบันที่ โค้ช ซิโก้ เกียรติศักดิ์  เสนาเมือง ควบคุมดูแลอยู่ ต้องขอชื่นชมและขอเป็นกำลังใจให้ทั้งทีมทำผลงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อฟุตบอลไทยก้าวไปอีกระดับหนึ่ง...,สู้สู้

 



วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

แนวคิดในการพัฒนาผุู้ฝึกสอนฟุตบอลของไทย
                                                                                    





                      ผู้ฝึกสอนหรือที่เรียกกันติดปาก ว่า"โค้ช "นั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ ในการพัฒนานักฟุตบอลให้มีความสามารถให้สูงยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรได้รับการพัฒนาเป็นลำดับแรก ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบต้องกำหนดนโยบายพัฒนาให้ชัดเจนและมีแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการไว้รองรับเพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้ฝึกสอนได้อย่างเพียงพอ ผู้เขียนเคยบทความเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผู้ฝึกสอนฟุตบอลไว้เมื่อหลายปี ก่อนหน้านี้และเคยนำเสนอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายหน่วยงานแต่ยังไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร ซึ่งบางทีอาจจะมีขีดจำกัดบางประการที่ทำให้ไม่สะดวกในการดำเนินการ อันที่จริงถ้าสามารถทำได้ในระยะเวลาประมาณ 8 ปี น่าจะมี ผู้ฝึกสอนระดับ C-Licence ประมาณหลายหมื่นคนและจะมีนักฟุตบอลที่ได้รับการฝึกตามมาตรฐาน ระดับ C จำนวนหลักแสนคน ส่วนผู้ฝึกสอนระดับ B-Licence มีจำนวนหลักหมื่นคนและมจะมีนักฟุตบอลที่ได้รับการฝึกตามมาตรฐาน B จำนวนหลักหลายหมื่นคน ส่วนผู้ฝึกสอนระดับ A-Licence จำนวนหลักพันคนและจะมีนักฟุตบอลที่ได้รับการฝึกตามมาตรฐาน A จำนวนไม่น้อยกว่าหมื่นคน ถ้าสิ่งที่ได้กล่าวมานี้เกิดขึ้นได้จริงจากช่วงเวลาที่ผ่านมาถึงวันนี้ บ้านเราน่าจะมี โค้ชที่มีมาตรฐานจำนวนไม่น้อยและมีนักฟุตบอลที่มีความสามารถดีๆศักยภาพสูงๆจำนวนมาก พร้อมที่จะต่อสู้กับทุกๆชาติในโลกได้อย่างไม่น้อยหน้าใคร  ลองดูบทความแนวคิดที่แนบมานะครับ

 










วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

สร้างความเข้มแข็งตั้งแต่รากหญ้าช่วยพัฒนาทีมชาติไทย

      ภาพจาก www.mixmails.com        

                           วงการฟุตบอลของประเทศต่างๆ มีการพัฒนาฟุตบอลกันอย่างจริงจัง โดยเน้นการปูทักษะพื้นฐานให้เด็กและเยาวชน เพื่อให้มีทักษะที่ถูกต้องและมีความสามารถในการเล่นที่ดีขึ้นในอนาคต ดังนั้นถ้าแนวคิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้แสดงว่าแต่ละประเทศต้องมีผู้ฝึกสอนที่มีความรู้ในระบบมาตรฐานสากล อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีคำถามตามมาว่าประเทศเราควรทำอย่างไร ?
                แนวทางก็คือ ประเทศไทยต้องรีบสร้างผู้ฝึกสอนต้นแบบขึ้นมา ซึ่งขณะนี้กรมพละศึกษาได้ดำเนินการอบรมผู้ฝ้กสอนฟุตบอลระดับพื้นฐานตามหลักสูตร T-Licence ของ AFC ได้จำนวนหนึ่ง ต้องขอขอบคุณสถาบันพัฒนาบุคลากร กรมพลศึกษาไว้ ณ ที่นี้ด้วยที่เล็งเห็นความสำคัญส่วนนี้ แต่การพัฒนาฟุตบอลไทยไม่ใช่หยุดเพียงเท่านี้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ก้าวหน้าและก้าวให้ทันประเทศอื่นๆต่อไป สิ่งนี้คือโจทย์ที่ท้าทายหน่วยงานที่รับผิดชอบวงการฟุตบอลของไทยทุกหน่วยงานโดยเฉพาะสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ
              แนวคิดที่จะช่วยให้การพัฒนาการที่มีโอกาสเป็นไปได้อย่างเร็วน่าจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลักที่สำคัญยิ่ง 2 ประการ ดังนี้
                 1.ด้านผู้ฝึกสอน  ต้องพัฒนาผู้ฝึกสอนตามมาตรฐานสากลทุกระดับ ตั้งแต่ T-Licence ขึ้นไปถึง A-Licence ให้มีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่รอช้าและเน้นการติดตามประเมินผลการทำหน้าที่ฝึกนักกีฬาแต่ละระดับ ผู้ที่ทำห้น้าที่อย่างจริงจังเท่านั้น จึงควรจะได้รับการพิจารณาให้รับการพัฒนาความรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป มิใช้อย่างที่เป็นอยู่เดิมคือ บางคนใช้ความใกล้ชิดสนิทสนมประสานขอเข้ารับการอบรมทุกระดับเพื่อนำใบวุฒิบัตรไปไว้อวดแต่ไม่ได้นำความรู้ไปทำหน้าที่พัฒนานักกีฬาเลย หรือบางคนทำหน้าที่ แต่ขาดความมุ่งมั่นตั้งใจก็ยังไม่ควรผ่านการพิจารณาให้อบรมในระดับต่อไปเพราะจะไปลดโอกาสของผู้ฝึกสอนบางคนที่เหมาะสมกว่า  นอกจากนั้นควรพิจารณาจัดลำดับคุณภาพของผู้ฝึกสอนไว้ทึังในระดับท้องถิ่น ระดับภาคและระดับชาติไว้เพื่อสะดวกในการคัดเลือกเข้าอบรมหรือทำหน้าที่คุมทีมในระดับต่างๆอย่างเหมาะสม
                 2.ด้านนักกีฬา  เด็กและเยาวชนจะมีโอกาสได้รับการสอนและฝึกซ้อมถูกวิธีตามแบบมาตรฐานสากลจากผู้ฝึกสอนจากองค์ประกอบที่ 1 ซึ่งจะทำให้มีนักกีฬาที่มีทักษะและเทคนิคการเล่นฟุตบอลที่ดีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งสร้างเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาให้สูงขึ้นเรื่อยๆต่อไป สามารถคัดเลือกนักกีฬาที่มีความสามารถในระดับหัวกะทิ ได้มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับหลัการส่งเสริมกีฬาระดับมวลชนให้เข้มแข็ง กีฬาในระดับความเป็นเลิศย่อมเข้มแข็งตามไปด้วย
                 จากองค์ประกอบเบื้องต้นที่สำคัญทั้งสองอย่างนี้จะส่งเสริมให้วงการฟุตบอลของชาติไทยมีโอกาสก้าวไกลสู่รายการแข่งขันระดับโลกได้ แต่จะเป็นไปได้เร็วหรือช้านั้นต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆอีกเช่น :-วิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ การสนับสุน การประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไขงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนด  พวกเราคงให้กำลังใจกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนและเฝ้ารอดูผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ต่อไปนะครับ..
                 
                



วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558



อยากเห็นทีมฟุตบอลชายไทยไปบอลโลก

 ภาพจาก www.pinterest.co.uk

                หลายประเทศทั่วโลก ต้องการให้ทีมฟุตบอลของตนได้เข้าร่วมแข่งขันรายกการฟุตบอลโลก  รอบสุดท้ายเพราะได้ทั้งเกียรติยศชื่อเสียงเงินทองและเป็นที่ยอมรับในด้านความสามารถอีกด้วย แต่ในความเป็นจริงการก้าวสู่ความสำเร็จไม่ได้ง่ายอย่างที่ฝัน ซึ่งแต่ละประเทศต้องทำงานอย่างหนักเพื่อจะทำให้ทีมของตนผ่านรอบคัดเลือกมาเข้าสู่รอบสุดท้ายต่อไป ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของแต่ละประเทศต้องวางแผนระยะยาวเพื่อสร้างทีมให้แข็งแกร่งและมีความสามารถดีพอที่จะเข้าสู่สมรภูมิลูกหนังและมีความ สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
              หลายประเทศจะใช้วิธีทางลัด ทั้งที่ทีมยังมีมาตรฐานยังไม่ดีพอแต่ได้เข้าร่วมเล่นในรอบสุดท้ายในฐานะเจ้าภาพก็มี แต่ก็ไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้นาน ดังนั้นจึงควรจะสร้างความเข้มแข็งทั้งระบบจะสร้างโอกาสได้ยังยีนกว่า บางประเทศในเอเซียที่เคยมีมาตรฐานการเล่นที่สู้ประเทศไทยไม่ได้เช่นประเทศเกาหลีใต้และประเทศญี่ปุ่น แต่เขามีนโยบายพัฒนาที่ชัดเจนและลงมือทำอย่างจริงจังและมุ่งมั่นทำอย่างอดทน ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานพอสมควรน่าจะไม่น้อยกว่าสิบปี เพราะเขาต้องการพัฒนาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนในอนาคต
              ช่วงที่ไปทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนฟุตบอลให้ชุดเยาวชนอายุ 18 ปีของบรูไนที่ประเทศบรูไน เคยสอบถามโค้ชชาวเกาหลีใต้ว่าทำไมนักฟุตบอลของเขาที่ส่งมาแข่งขันต่างประเทศทุกชุดมีนักกีฬาหน้าใหม่เป็นส่วนใหญ่มีหน้าเดิมบ้างเล็กน้อยและแต่ละชุดนั้นเล่นได้ดี แข็งเกร่งมากและมีผลการแข่งขันออกมาดีมักจะได้แชมป์บ่อยๆ เขาให้คำตอบมาว่า " ที่เกาหลีใต้สร้างนักกีฬาไว้จำนวนมาก และคัดกรองนักกีฬาทีมีความสามารถระดับดีมากไว้ในแต่ละรุ่นน่าจะไม่น้อยกว่ารุ่นละ 200 คนดังนั้นเมื่อมีรายการแข่งขันเข้ามาเขาสามารถคัดเลือกนักกีฬาจากกลุ่มหัวกะทิมาจัดทีมไปแข่งขันได้เลยซึ่งอาจเป็นชุดใหม่ทั้งหมดหรือผสมกันก็ได้ โดยมีมาตรฐานการเล่นที่ไม่แตกต่างกัน  " ส่วนประเทศญี่ปุ่นเขามีแนวคิดว่าต้องสร้างทักษะที่ดีและถูกต้องให้เด็กและเยาวชน ดังนั้นจึงเน้นพัฒนาผู้ฝึกสอนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลในทุกระดับ ตั้งแต่ T-Licence ขึ้นไปและให้มีจำนวนมากเพื่อให้ผู้ฝึกสอนแต่ละคนนำความรู้ไปสอนและพัฒนาเด็กและเยาวชนต่อไป
             นอกจากการสร้างโค้ชและนักกีฬาขึ้นมาจำนวนมากแล้ว จำเป็นต้องมีกระบวนการบริหารจัดการให้เป็นระบบครบวงจร ไม่เช่นนั้นเลยการพัฒนาทั้งโค้ชและนักกีฬาจะไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นจะเห็นว่าเขามีการจัดการแข่งขันในรายการต่างอย่างสม่ำเสมอจาการยการเล็กๆจนถึงรายการแข่งขันฟุตบอล Leagueอาชีพ เพื่อกระตุ้นให้นักกีฬาพยายามพัฒนาความสามารถให้สูงยิ่งๆขึ้นไป ซึ้งจะส่งผลให้ประเทศมีนักกีฬาที่ดีและมีทีมชาติที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ทำให้เพิ่มโอกาสที่จะไปแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้มากขึ้นตามไปด้วย