วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561



ฝึกแบบ Cognitive Training Patterns สำคัญอย่างไร.!!

ภาพจาก www.springnews.co.th

                                    เวลาเราได้ชมเด็กไทยแข่งขันฟุตบอลในรายการแข่งขันระดับนานาชาติ มีหลายๆสถานะการณ์ ที่ทำให้เรามีความรู้สึกว่าอึดอัด เพราะผู้เล่นนั้นไม่ได้เล่นในแบบที่เราคิด และการเล่นแบบนั้นทำให้สถานะการณ์เกมก็ไม่เกิดความได้เปรียบอีกด้วย
                                   ถ้าเปรียบเทียบหลายๆด้านแล้วจะพบว่า เด็กไทยมีทักษะความสามารถเฉพาะตัวไม่ได้น้อยหน้าชาติไหนๆ หรือบางที่จะมีความสามารถดีกว่าด้วยซ้ำไป แต่พอลงเล่นทีมหรือเข้าสู่การแข่งขันเด็กเหล่านี้กลับทำผลงานออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น
                                   สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องดังกล่าว..น่าจะมีดังต่อไปนี้
                                 1.ไม่รู้และไม่เข้าใจรูปแแบบการเล่นที่เหมาะสม
                                 2. เล่นตามความรู้สึกหรือตามความคิดของตนเอง
                                   จากสาเหตุดังกล่าว ถ้าดูผ่านๆแล้วจะคิดว่า ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญอะไร แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่าเป็นเรื่องจริง การที่เราจะต้องทำภาระกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี จะทำให้เรารู้กระบวนการ ขั้นตอนและสามารถปฏิบัติภาระกิจนั้นได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและเกิดความสำเร็จได้โดยง่ายหรือมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้น้อยมาก
                                  ในเกมฟุตบอลก็เช่นเดียวกัน นักกีฬาคนใดถ้ารู้และเข้าใจเทคนิคและแทคติกการเล่นดี ก็จะมีวิธีการเล่นที่เหมาะสมมาใช้ในสถานะการณ์ต่างๆได้ นักกีฬาคนนั้นจะมีความโดดเด่นในสนาม ซึ่งผู้เล่นลักษณะเช่นนี้ จะมีอยู่จำนวนไม่มากนัก ทั้งๆที่โค้ชหลายๆคนได้ดำเนินการฝึกซ้อมด้วยแบบฝึกที่ได้รับจากการอบรมในระดับต่างๆมา อันที่จริงไม่ใช่เรื่องที่ผิดเพราะมีบางคนสามารถเล่นได้ดีขึ้น แต่ยังมีนักกีฬาอีกส่วนใหญ่ที่ยังพัฒนาได้ไม่ดีเท่าที่ควร
                                  โค้ชที่ดีต้องรับภาระในการพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาส่วนใหญ่ให้มีศักยภาพในการเล่นดียิ่งขึ้น มิฉะนั้นนักกีฬาชุดดังกล่าวจะเล่นร่วมกันได้ไม่ลื่นไหลขาดความสัมพันธ์กันอย่างที่ควรจะเป็น
                                  ดังนั้นสิ่งที่โค้ชต้องจัดการในการฝึกซ้อม..ต้องทำในเชิงลึก..ดังนี้
                                1.ให้ความรู้ความเข้าใจเทคนิคและแทคติกการเล่น
                                  2.ฝึกแบบการเล่นซ้ำๆให้เกิดความชำนาญ
                                  3.ย้ำเตือนและปรับทัศนคติ ให้เล่นตามสถานะการณ์เกม


 ภาพจาก www.knowhowsoccer.com

                            1. ให้ความรู้ความเข้าใจเทคนิคและแทคติกการเล่น..หมายถึง โค้ชต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้นักกีฬาเกี่ยวกับ..
                                1.1. อะไรคือรูปแบบ เทคนิค แทคติกและวิธีการเล่นที่เหมาะสมในการเล่น
                                1.2. เมื่อไรจะนำวิธีการเล่นแบบนี้ไปใช้เล่น
                              1.3. ทำไมจึงต้องใช้วิธีการเล่นแบบนี้
                              1.4. ผู้เล่นคนใดบ้างต้องมีส่วนร่วมในการเล่นตามแบบวิธีการเล่นนี้  
                                การพัฒนาต้องเกิดขึ้นทั้งด้านความสามารถทางร่างกาย และทางด้านจิตในรูปแบบความคิดอย่างมีเหตุผล จึงจะทำให้นักกีฬามีความเข้าใจว่าสถานะการณ์ไหน ควรจะนำวิธีการเล่นแบบใดไปใช้เล่น เพราะถ้าเลือกวิธีการเล่นที่ถูกต้องจะทำให้เกิดความได้เปรียบในการเล่นในสถานะการณ์นั้นทันที 
                           2. ฝึกแบบการเล่นซ้ำๆห้เกิดความชำนาญ..หมายถึง โค้ชต้องเตรียมแบบฝึกให้นักกีฬาฝึกการเล่นตามแบบที่กำหนดได้อย่างถูกต้องสัมพันธ์กัน จนเกิดความชำนาญ และทุกคนต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกันว่า สถานะการณ์ใดควรจะเล่นแบบใดจึงได้เปรียบ 
                           3. ย้ำเตือนและปรับทัศนคติ ให้เล่นตามสถานการณ์เกม..หมายถึง โค้ชต้องแนะนำให้นักกีฬาทุกคนตระหนักรู้ว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาทีมไม่ควรเล่นแบบโชว์คนเดียว จึงไม่ควรเล่นตามความคิดเฉพาะตน แต่ควรจะเล่นตามวิธีการที่เหมาะสมในสถานะการณ์ที่พบนั้นตามที่ฝึกซ้อมมา เพื่อการเล่นที่เล่นได้ง่ายและได้เปรียบเหนือกว่าคู่ต่อสู้นั้นทันที.....
                                    ถ้าสามารถฝึกซ้อมนักกีฬาให้มีเทคนิค แทคติกในการเล่นที่ดีและมีความชำนาญแล้ว ยังต้องพัฒนาให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่าเล่นอย่างไรจึงได้เปรียบอีกด้วย ซึ่งจะปรับเป็นเชาว์ปัญญา ทำให้มีไหวพริบในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้มีวิธีการเล่นที่เหมาะสมได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อได้ลงเล่นในเกมการแข่งขัน จะทำให้นักกีฬาแต่ละคนมีความสามารถในการเล่นได้โดดเด่นยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การเล่นของทีมมีรูปแบบการเล่นที่ดีและมีผลการแข่งขันที่ดีอีกด้วย.....