วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โค้ชสำคัญอย่างไรในวงการฟุตบอล


                            โค้ชเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่่สร้างทีมฟุตบอลให้ประสบความสำเร็จ และช่วยพัฒนานักกีฬาและวงการฟุตบอลให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น แต่การทำงานของโค้ชบางครั้งยังไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ชมหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังจะเห็นได้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำไมจัดผู้เล่นแบบนี้ เปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง  ทำไมไม่เล่นแบบนี้ หรือทำไมจึงฝึกซ้อมแบบนี้เป็นต้น                  
                             ผู้วิจารณ์ไม่ได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ แต่นั่งดูอยู่ด้านนอกอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างจากโค้ชที่ฝึกหรือทำหน้าที่อยู่ในขณะนั้นซึ่งจะเข้าทำนองคำพังเพยไทยที่ว่า ทำขนมเบื้องด้วยปาก คือการพูดว่าทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ดูเป็นสิ่งที่ง่าย แต่ถ้าลงมือทำจริงๆมันยากกว่าที่คิด ดังนั้นควรทำใจเป็นกลางคิดได้แต่ไม่ควรวิจารณ์การทำงานของโค้ช เพราะบางที่ผลที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผู้ปกครองบางท่านส่งลูกหลานมาฝึกซ้อม เห็นว่าเด็กของตนได้รับการแนะนำและฝึกไปได้ในระดับหนึ่งแต่ยังไม่ก้าวหน้าดีพอ อย่างที่ผู้ปกครองคิด จึงพยายามให้คำแนะนำเอง โดยบอกให้เด็กทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อต้องการให้เด็กเล่นได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งอาจจะลืมไปว่าการทำอย่างนั้นไปสร้างความกดดันให้เด็กเพิ่มมากขึ้น เพราะวุฒิภาวะและขีดความสามารถของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากันเด็กจึงยังไม่สามารถทำทักษะนั้นได้ในช่วงเวลานั้น
                            โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่ ก่อนที่จะมาทำหน้าที่โค้ชได้นั้น บุคคลนั้นต้องมีความรู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการเป็นผู้ฝึกสอนในระดับต่างๆมาก่อน มิใช่ว่าใครอยากเป็นก็เข้าไปทำหน้าที่โค้ชเองเลย เพราะถ้าไม่มีความรู้จริงๆแล้วเมื่อเข้าไปทำหน้าที่จะพบว่ามีปัญหาในขณะที่ทำงานมากมาย แม้ว่าโค้ชที่ผ่านการอบรมมาแล้ว เมื่อเวลาทำงานจริงๆก็มีปัญหาอยู่เช่นกัน แต่ได้นำเอาความรู้ที่มีอยู่มาจัดการกับปัญหานั้นได้อย่างและเหมาะสมถูกต้องมากกว่า นอกจากนั้นแล้วการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาเด็กต้องทำตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอน เด็กจึงมีการพัฒนาพื้นฐานความสามรถด้านทักษะได้ครบถ้วน รู้และเข้าใจเทคนิค แท็คติค รวมถึงยุทธวิธีการเล่นได้สมบูรณ์แบบมากที่สุด
                            ดังนั้นโค้ชจึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนานักกีฬาและวงการฟุตบอล ปัจจุบัน
โค้ชฟุตบอลในประเทศไทยที่กำหนดไว้ตามระดับมาตรฐานของฟีฟามีหลายระดับ
                            1. ระดับ   T-License
                            2 .ระดับ   C-License
                            3. ระดับ   B-License
                            4 .ระดับ   A-License
                           หลักสูตรของโค้ชแต่ละระดับจะมีหัวข้อและเนื้อหาที่แตกต่างกัน โดยสาระต่างๆจะมีรายละเอียดที่เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ เพื่อมุ่งพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาให้ดีขึ้นในทุกๆด้านตามลำดับขั้น ไม่ควรเร่งรีบฝึกแบบข้ามขั้นตอน เพียงหวังจะให้เด็กนั้นชนะในเกมส์การแข่งขั้นเมื่ออยู่ในช่วงวัยเด็ก เพราะถ้ากลุ่มเด็กที่ได้รับการฝึกตามลำดับขั้นจะมีความสามารถด้านทักษะพื้นฐานดีแต่เกมส์การแข่งขันยังไมได้รับการพัฒนาเต็มรู้แบบ จึงทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่เมื่อใดที่เด็กกลุ่มนี้ได้รับการฝึกครบทุกขั้นแล้วพวกเขาเหล่านี้จะมีความสามารถในการเล่นได้สมบูรณ์แบบมากกว่า ผลสุดท้ายเด็กกลุ่มนี้จะมีการพัฒนาและมีขีดความสามารถการเล่นที่สูงและยั่งยืนกว่าเสมอ
                          ดังนั้นโค้ชจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนานักกีฬาและวงการฟุตบอลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โค้ชในระดับ T-Licensec และ C-License จะเป็นบุคคลที่ควรได้รับคำยกย่องว่าเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในการพัฒนานักกีฬาฟุตบอลมากกว่าโค้ชที่ทำหน้าที่ในระดับที่สูงขึ้นไปอีกเพราะถ้าเด็กไม่ได้รับการฝึกที่ถูกต้องมาแล้ว เมื่อเติบโตขึ้นมาจึงมารับการฝึกแล้วการพัฒนาสามารถทำได้แต่ผลพัฒนาจะมีผลสัมฤทธิ์จะไม่มีสมบูรณ์แบบอย่างที่ควรจะเป็น
                          ขอเป็นกำลังใจให้กับโค้ชทุกท่านที่ได้ทำหน้าที่ฝึก สอน เด็กๆเพื่อให้มีทักษะพื้นฐานการเล่นฟุตบอลที่ถูกต้อง เพราะถ้าไม่มีพวกท่านทำหน้าที่อันสำคัญยิ่งตรงนี้แล้ว อนาคตจะมีนักกีฬาที่มีความสามารถดีๆ เพื่อเป็นกำลังของชาติไปสร้างผลงานและสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติได้อย่างไร

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

 
 
 
การอบรมผู้ฝึกสอนฟุตบอล T-Licence
 

                      ระหว่างวันที่ 26-30 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสร่วมงานกับ อ.ปรีชาพัฒน์  ปยุตเรืองกิตต์   ไปเป็นวิทยากรให้การอบรมโค้ชฟุตบอลต้นแบบหลักสูตร T-Licence ของกรมพลศึกษา ที่สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตมหาสารคาม หลักสูตรนี้โค้ชหรั่ง ดร.ชาญวิทย์  ผลชีวิน ได้จัดทำไว้โดยยึดหลักสูตรมาตรฐานของ AFC   การอบรมภาคทฤษฎีมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้ฝึกสอน กระบวนการขั้นตอนวิธีฝึก-สอน การพัฒนาการของเด็กและเยาวชนในวัยต่างๆว่าแต่ละช่วง  เด็กมีความพร้อมสามรถรับรู้  ฝึกทักษะและเทคนิคการเล่นฟุตบอลได้มากน้อยเพียงใดและควรมีวิธีการฝึกอย่างไรจึงจะเหมาะสม เรียนรู้เรื่องโภชนาการและน้ำดื่ม  การปฐมพยาบาล และกติกาเเบื้องต้น  ส่วนภาคปฏิบัติ ลงฝึกในสนามจริง เริ่มตั้งแต่การอบอุ่นร่างกายแบบไม่มีบอลโดยการเคลื่อนที่และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ รวมถึงการอบอุ่นร่างกายที่ใช้ลูกบอลประกอบ ซึ่งทำเป็นรายบุคคล เป็นคู่และเป็นกลุ่ม เทคนิคการสอน การฝึกทักษะการรับ-ส่ง โหม่ง เลี้ยง ยิงประตู และการเป็นผู้รักษาประตูเบื้องต้น
 


 
 
 













 ฝึกเทคนิคการรุกและการป้องกันแบบ 1ต่อ1  2 ต่อ1  3ต่อ1  4ต่อ2   3ต่อ2   3ต่อ3   4ต่อ4   5ต่อ5  7ต่อ7
เป็นต้น รวมถึงเทคนิคการเข้าทำประตู ทั้ง 7 แบบ ได้แก่ การโยนบอลจากด้านข้าง (Over lap run and Crossing)  พาบอลถึงเส้นประตูแล้วหักย้อนกลับมา (Cut back)   ส่งทะลุตามช่อง(Through ) ทำชิ่ง1-2 (Wall pass)   ส่งคืนให้ตัวหลังยิง(Back pass)   เลี้ยงหลบเข้าไปยิงเอง(Solo)  และยิงไกลจากแถวสอง(Long shoot / Second row ) เป็นต้น ผู้เข้ารับการอบรมยังได้ฝึกการเขียนแผนการฝึกซ้อม และได้เรียนรู้การบริหารพื้นที่สนาม การจัดวางกรวย และมาร์คเกอร์เพื่อจัดทำสนามการฝึกซ้อมอีกด้วย


 




การอบรมครั้งนี้มีนักฟุตบอลต่างชาติ  Mr.Seth จากประเทศกานา ซึ่งเข้ามาเล่นฟุตบอลอาชีพกับสโมสร D 2ในประเทศไทย เข้ามารับการอบรมด้วยเช่นกัน ผู้รับการอบรมมีความสุขได้รับความรู้ตามหลักสูตรการเป็นผู้ฝึกสอนฟุตบอลระดับ T-Licence กันอย่างเต็มที่  เสร็จสิ้นการอบรมผู้ที่ผ่านการอบรมได้ทั้งความรู้และวุฒิบัตรรับรองวุฒิ ไปทำงาน   ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านนำความรู้ที่
    ได้รับไปถ่ายทอดกับเยาวชนให้ได้มีศักยภาพในการเล่นฟุตบอลที่ดีและสูงขึ้นเพื่อเป็นกำลังของชาติ
    ในอนาคต  และขอให้นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานของท่านให้ก้าวหน้าต่อไป...สู้สู้นะ>>>>>







วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ขอชื่นชมความก้าวหน้าของฟุตบอลทีมชาติไทย



                                        (ขอบคุณภาพจาก www.becteroradio.com)

                      ผลงานของทีมฟุตบอลทีมชาติไทยภายใต้การทำทีมของ โค้ชซีโก้ เกียรติศักดิ์  เสนาเมือง
 ในยุคนี้ได้สร้างสีสันต์ด้วยปรับระบบและเทคนิกการเล่นได้เหมาะกับสรีระของคนไทย เน้นให้เล่นบอลกับพื้น ไม่ครองบอลไว้กับตัวนาน เน้นเล่นด้วยระบบไม่มีซุเปอร์สตาร์ ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการควบคุมอารมณ์ซึ้งจะเห็นได้ว่าแม้ว่าเกมส์จะหนักแต่นักฟุตบอลไม่แสดงอาการอารมณ์เสียมุ่งมั่นตั้งใจเล่นเพื่อให้ผลการแข่งขันออกมาดีที่สุด ผลงานจึงเป็นที่ถูกใจของชาวไทยทั้งประเทศ
                     เทคนิคการเล่นที่ใช้ได้ผลและเหมาะกับทีมไทยมากที่สุดคือการเล่นบอลกับพื้นเพิ่มความเร็วในการรับส่งบอลกันเร็วไม่ครองบอลนานและเจาะทะลุทะลวงไปตามช่อง ซึ่งมีการฝึกซ้อมกันจนเล่นได้เข้าขาและเล่นกันด้วยความมั่นใจ ผลงานได้รับการชมจากสื่อทั้งในและต่างประเทศที่ว่าใช้เทคนิคการส่งและรับบอลแบบเดียวกับทีมบราเซโลน่าเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามจุดแข็งนี้ต้องรักษาไว้และต้องพัฒนาเทคนิคการเล่นอื่นเพิ่มขึ้นด้วยเพื่อเพื่มประสิทธิภาพการเล่นให้หลากหลาย
                        เทคนิคการเล่นที่กำลังชื่นชมนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการฟุตบอลไทย แต่ใช้เล่นกันในช่วงปี พศ. 2511- 2520 เป็นต้นมา และระหว่าง พศ. 2514-2520 ถือว่าเป็นเทคนิคการเล่นที่ได้รับควมนิยมมากที่สุดเพราะสโมสรฟุตบอลราชวิถีในยุคนั้นซึ่งมี สมยานามว่า ทีมชาววังได้ใช้เทคนิคนี้จนชนะเลิศเป็นแชมป์ ถ้วยพระราชทาน ก. เปรียบได้กับลีกสูงสุดถึง 4 สมัย
 








                                          (ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี)
สโมสรราชวิถี ในสมัยนั้นต้องขอบคุณโค้ชที่ยิ่งใหญ่ 2 ท่านได้แก่ พระอาจารย์สำเริง ไชยงค์ และอาจารย์เสนอ  ไชยงค์ ที่เป็นผู้วางรากฐานการเล่นให้นักฟุตบอลตั้งแต่ระดับเยาวชนขึ้นมา โดยเฉพาะพระอาจารย์สำเริง ไชยงค์ ได้นำเอาเทคนิคการเล่นจากทางยุโรปมาเป็นต้นแบบ โดยเน้นวิธีการเล่นกับพื้นรับและส่งบอลเท้าสู่เท้าเป็นหลัก ฝึกการเล่นในพื้นที่แคบแล้วเปลี่ยนเกมส์การเล่นอย่างรวดเร็วออกไปสู่พื้นที่กว้างและว่างทันทีเหมือนการเล่นลิงชิงบอลตลอดทั้งเกมส์ ดังนั้นทีมใดที่จะเอาชนะทีมนี้ได้จะต้องมีสมรรถภาพทางกายดีเพราะต้องใช้กำลังวิ่งไล่แย่งอย่างมากจึงจะสามารถหยุดทีมชาววังนี้ได้ นักฟุตบอลยุคนั้นถือว่าระดับพระกาฬ ดีกรีทีมชาติเกือบทั้งทีม กองหน้าระดับเพรชฆาตรเช่น วีรยุทธ  สวัสดี   ปรีชา  กิจบุญ กองกลางพวกเท้าชั่งทอง มี อาจารย์สนอง  ไชยงค์  อาจารย์ทรงไทย  สหวัชรินทร์  สิทธิพร  ผ่องศรี   แก้ว  โตดิเทพ    อารมณ์  จันทร์กระจ่าง กองหลังปราการเหล็ก อำนาจ เฉลิมชวลิต  ดร.จุฑา  ติงศภัทย์ ผู้รักษาประตูได้แก่ ไพบูลย์  ขันธรักษา และ เทพพิทักษ์ จันทร์สุเทพ เป็นต้น แต่ละคนเป็นต้นแบบให้เยาวชนในยุคนั้นได้เลียนแบบเทคนิคการเล่นไปใช้กันทั่วไป 
                               อย่างไรก็ตามจะเป็นเทคนิคการเล่นในยุคก่อนหรือในปัจจุบันก็ตาม ถือว่าเป็นเทคนิคการเล่นที่ดีและเหมาะสมกับสภาพนักฟุตบอลของไทย เมื่อเห็นว่านำมาใช้แล้วดีมีประโยชน์บังเกิดผลดีต่อทีมไทยแล้ว ก็อยากฝากไว้เป็นแนวทางสำหรับโค้ชและนักเตะในการปรับและพัฒนาทีมที่รับผิดชอบต่อไป

                


วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ทำอย่างไรจึงจะเลี้ยงบอลหลบคู่ต่อสู้ได้

                            นักฟุตบอลเยาวชนหลายๆคนมักจะพบปัญหาเมื่อครอบครองบอลแล้ว ไม่สามารถพาบอลหลบหลีกคู่ต่อสู้ได้  เนื่องจากปัจจุบันเยาวชนมีความคิดว่าวิธีการเลี้ยงบอลหลบผ่านคู่ต่อสู้ด้วยทักษะแบบเหนือชั้นเสมอๆ เช่น
                         1.เมื่อพาบอลไปหาคู่ต่อสู้แล้วมักจ้องที่จะส่งบอลให้ลอดระหว่างขาของคู่ต่อสู้เป็นอันดับแรก ก่อนที่จะใช้ทักษะการเลี้ยงหลบผ่านคู่ต่อสู้ไป ทั้งๆที่ทักษะการเลี้ยงหลบเป็นวิธีที่ดีที่สุด
                         2.เมื่อพาบอลไปใกล้คู่ต่อสู้แล้วมักจะใช้การหลอกคู่ต่อสู้โดยการก้าวขาข้ามลูกบอลสลับไปมาเลียนแบบเทคนิคการเล่นของ โรนัลโด้ บ่อยๆครั้ง
                             บางท่านอาจจะคิดต่างโดยเห็นว่าวิธีการทั้งสองอย่างนี้เขาเล่นกันอยู่ทั่วไป คำตอบคือไม่มีอะไรผิด แต่วิธีการดังกล่าวเป็นทักษะขั้นสูงหรืออาจจะนำไปใช้ในสถานการณ์ที่จำเป็นจึงเกิดผลดี แต่ในส่วนที่ไม่ควรทำคือเมื่อเยาวชนเลือกทำวิธีการดังกล่าวแล้วจะเกิดความเคยชินทั้งด้านความคิดและปฏิบัติจริงเสมอๆ ทำให้ลืมหรือขาดความชำนาญในการนำทักษะการเลี้ยงหลบไปใช้ ดังนั้นจึงไม่สามารถพาบอลหลบคู่ต่อสู้ได้โดยง่าย และจะทำให้ขาดความมั่นใจและขาดความชำนาญอีกด้วย
                             ข้อสังเกตุ  1.ระยะทางที่ควรหาโอกาสเลี้ยงหลบคู่ต่อสู้คือ ต้องอยู่ห่างอย่างน้อย 1-1.5 เมตร เพราะจะเป็นระยะที่โยกหลอกและหลบได้สะดวกทำให้คู่ต่อสู้แย่งได้ยาก
                                                2.ระยะดังกล่าว สามารถช่วยแก้ปัญหาเมื่อไม่สามารถเลี้ยงหลบคู่ต่อสู้ในจังหวะแรกได้เพราะยังมีพื้นที่เพียงพอในการเลี้ยงหลบในจังหวะที่สองหรือจังหวะที่สามต่อไปได้อีก


                                  จากภาพ เมื่อได้ครอบครองบอลแล้วเลี้ยงเข้าหาหรือคู่ต่อสู้เข้ามาแย่ง เมื่อเห็นว่าเข้ามาในระยะห่างพอสมควรจึงใช้ทักษะการเลี้ยงหลบ โดยโยกตัวพร้อมก้าวเท้าขวาไปทางด้านขวา เมื่อเห็นว่าคู่ต่อสู้ไม่ขยับตามมา ให้ใช้เเท้าซ้ายเกี่ยวบอลไปด้วยข้างเท้าด้านในไปทางด้านขวาเมื่อเห็นว่าหลบพ้นแล้วให้กระชากพาบอลทะลุผ่านตรงไปด้านหน้า ทันที



                                  จากภาพอาจจะโยกตัวพร้อมก้าวเท้าซ้ายไปทางด้านซ้ายในจังหวะแรก แล้วสังเกตอาการของคู่ต่อสุ้ ถ้าเห็นว่าขยับตัวเคลื่อนตามมาเพื่อป้องกัน



 

                               ให้โยกตัวกลับพร้อมก้าวเท้าขวาไปทางด้านขวาโดยเร็ว ถ้าเห็นว่าคู่ต่อสู้ตามมาไม่ทัน ให้ใช้ข้างเท้าด้านในด้านซ้ายพาบอลหลบ แล้วกระชากพาบอลทะลุตรงไปทางด้านหน้าทันที ในจังหวะที่ 2 ที่ 3 และที่ 4


                              
                                 จากภาพ ถ้าคู่ต่อสู้มีทักษะดีมักจะอ่านเกมส์ได้ เขาจะเคลื่อนตัวติดตามมา ดังนั้นจึงต้องพยายามโยกตัวหลบหลีกย้อนกลับไปอีกด้านหนึ่งโดยทันที จากจังหวะที่ 1 โยกตัวไปด้านซ้ายคู่ต่อสู้เมื่อคู่ต่อสู้ขยับตาม เราต้องโยกตัวเปลี่ยนไปทางด้านขวาในจังหวะที่ 2 เมื่อคู่ต่อสู้ขยับตามมาอีกให้รีบโยกตัวกลับไปทางด้านซ้ายโดยเร็วพร้อมใช้ข้างเท้าด้านในด้านขวาพาบอลหลบ แล้วกระชากบอลเลี้ยงทะลุผ่านคู่ต่อสู้ตรงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสถานะการณ์และโอกาสที่เกิดขึ้นในขณะนั้น โดยเน้นวิธีการเล่นที่ให้เกิดความได้เปรียบมากที่สุดมาใช้  ไม่ใช่เล่นตามที่เราอยากจะทำซึ่งอาจจะไม่เป็นผลดีเสมอไป

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

 
 
 
เทคนิคการเล่นแบบ 3 : 1  ตอนที่ 2
 

 
                               ในสถานะการณ์ที่จำเป็น เมื่อคู่ต่อสู้อ่านเกมส์ออกว่า เมื่อฝ่ายรุกหมายเลข 2  ได้รับบอลมาแล้ว หมายเลข 3 ต้องเคลื่อนที่หนีตัวประกบมารับบอล ฝ่ายรับก็จะพยายามวิ่งติดตามใกล้ชิด ถ้าฝ่ายรุกวิ่งหลอกเพื่อมารับบอลแล้ว แต่ฝ่ายรับติดตามมาประกบเร็ว ฝ่ายรุกควรแก้สถานะการณ์ดังนี้
 



 
                        เมื่อฝ่ายรุกหมายเลข 3 ได้รับบอลจากหมายเลข 2 แล้วจะเห็นว่าฝ่ายรับตามมาประกบได้เร็วไม่สามารถพลิกพาบอลหลบไปได้ ดังนั้นควรตัดสินใจส่งบอลคืนให้หมายเลข 2 ทันที(จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด) แล้ววิ่งฉีกตัวเพื่อดึงฝ่ายรับออกไปทางด้านข้าง ส่วนหมายเลข 2 ต้องมองให้กว้างแล้วส่งบอลให้หมายเลข 1 ที่วิ่งเติมขึ้นมาทางด้านข้างทันที หมายเลข 1 รับบอลแล้วให้พาบอลทะลุผ่านแนวรับไป
 

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

 
 
 
เทคนิคการเล่นแบบ 3:1 ตอนที่ 1

 
                                    บางสถานการณ์เราอาจจะมีโอกาสที่มีผู้เล่นมากกว่า ดังนั้นจำเป็นต้องเล่นให้เกิดความได้เปรียบมากที่สุด อย่างเช่นสถานะการณ์ 3:1 ผู้เล่นฝ่ายรุกควรเน้นความสัมพันธ์ของกลุ่มเพื่อบังคับคู่ต่อสู้ให้เล่นตามแผน ที่ฝ่ายรุกกำหนดโดยอาศัยหลักการดังนี้
                                       1.พาบอลไปกดดันคู่ต่อสู้
                                       2.เคลื่อนตัวเปิดพื้นที่ด้านกว้าง
                                       3.เคลื่อนตัวสนับสนุน เติมขึ้นไปอีกด้านหนึ่ง
 

 
                                     ฝ่ายรุกหมายเลข(2)ครองบอลได้ ให้พาบอลพุ่งเข้าหาคู่ต่อสู้ ฝ่ายรุกหมายเลข(3)วิ่งฉีกหนีคู่ต่อสู้มาด้านข้างเปิดพื้นที่ให้กว้าง ฝ่ายรุกหมายเลข(1)สนับสนุนการเล่นโดยวิ่งเติมขึ้นไปอีกด้านหนึ่ง เพื่อสร้างโอกาสการเล่นได้หลากหลายขึ้น
 
 
                                     ฝ่ายรรุกหมายเลข(2)ที่ครองบอลพาบอลเข้ากดดันคู่ต่อสู้ แล้วเลือกดูว่าจะเล่นอย่างไร ให้พิจารณาจากสถานะการณ์ที่เปิดและได้เปรียบมากที่สุด ถ้าคู่ต่อสู้เคลื่อนตัวไปป้องกันทางด้านซ้าย ก็ส่งบอลให้ทางด้านขวาที่หมายเลข(3)ที่ว่างมากกว่า
 
 
                                       เช่นเดียวกันถ้าฝ่ายรับคิดว่าฝ่ายรุกน่าจะโจมตีทางด้านขวาจะเคลื่อนตัวมาป้องกัน แสดงว่าด้านซ้ายเปิด ฝ่ายรุกควรส่งบอลให้ผู้เล่นหมายเลข(1)ทันที
 
 
                   การฝึกการเล่นแบบนี้จะเป็นพื้นฐานของการเล่นแบบโต้กลับเร็ว(counterattact)ได้



วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

 
 
 
เทคนิคการเล่นแบบ 2ต่อ 1 เพิ่มเติม 4
 
 
 
                                เมื่อสถานะการณ์ในเกมส์การเล่นเปลี่ยนไป ผู้เล่นฝ่ายรุกต้องหาเทคนิคการเล่นแบบอื่นที่เหมาะสม มาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการเล่นในขณะนั้น โดยอาศัยไหวพริบของผู้เล่นทั้ง 2 คนที่เล่นด้วยความเข้าใจกันและที่สำคัญคือต้องมีการฝึกซ้อมด้วยกันจะเกิดความลงตัวมากขึ้น จากภาพผู้เล่นฝ่ายรุกหมายเลข 2 เคลื่อนที่หนีคู่ต่อสู้ออกมาเพื่อรับบอลจากเพื่อนหมายเลข 1 ถ้าคู่ต่อสู้ตามมาประกบได้เร็ว ให้ครองบอลแล้วพาคู่ค่อสู้ให้ตามมา เพื่อเปิดพื้นที่ด้านหลังของคู่ต่อสู้ให้ว่างเพิ่มมากขึ้น
 

 
                                แล้วส่งบอลคืนให้เพื่อนหมายเลข 1 เพื่อให้เพื่อนส่งบอลข้ามศรีษะคืนกลับมาให้เล่นในพื้นที่ว่างด้านหลังของคู่ต่อสู้ทันที(Double Pass) แล้วพลิกตัววิ่งย้อนกลับไปเพื่อเล่นบอลที่เพื่อนส่งมาให้นั้นทันทีเช่นกัน โดยคู่ต่อสู้ไม่ได้ระวังหรือคาดการณ์ไม่ถึงว่าจะถูกโจมตีแบบใด
 
         
                                  เมื่อได้ครอบครองบอลแล้วให้พาบอลทะลุผ่านแนวรับต่อไปอย่างเร็วโดยไม่ต้องรอให้คู่ต่อสู้ตามมาทัน

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

 
 
 
เทคนิคการเล่นแบบ 2 ต่อ 1 เพิ่มเติม 3
 
 

                                     ฝ่ายรุกหมายเลข 2 พยายามหนีผู้เล่นฝ่ายรับลงมาเพื่อรับบอลจากผู้เล่นฝ่ายรุกหมายเลข 1 ถ้าฝ่ายรับตามมาประกบเร็วจะไม่สามารถรับบอลแล้วพลิกหลบคู่ต่อสู้ได้และอาจจะถูกแย่งบอลไป ดังนั้นควรปฏิบัติดังนี้


 
 
                                    เมื่อได้รับบอลจากผู้เล่นหมายเลข1แล้วให้ชำเลืองดูคู่ต่อสู้ถ้าเห็นว่าเข้ามาประชิดตัวแสดงว่าพื้นที่ด้านข้างจะมีที่ว่าง ควรส่งบอลคืนให้ผู้เล่นหมายเลข 1 แล้ววิ่งฉีกตัวออกไปทางด้านข้างเพื่อเปิดพื้นที่และรอรับบอลจากการส่งแทงทะลุมาให้ (Through)
 
 
                                 เมื่อได้รับบอลแล้วให้กระชากพาบอลทะลุผ่านแนวรับไปอย่างเร็ว
 

 


วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

 
 
 
เทคนิคการเล่นแบบ 2 ต่อ 1 เพิ่มเติม..2  
 
 

 
                                       การเล่นผู้เล่นฝ่ายรุกหมายเลข 2 อาจจะหนีตัวประกบลงมาเพื่อรับบอลได้ แต่ตัวประกบติดตามมาได้ประกบเร็วจนไม่สามารถพาบอลหลบหลีกได้โดยง่าย
 

 
                                         ดังนั้นจึงต้องพยายามครองบอลไว้ แล้วให้ดูเพื่อนร่วมทีมว่า จะเคลื่อนที่มาสนับสนุนการเล่นอย่างไร ซึ่งผู้เล่นหมายเลข 1 ควรรีบวิ่งตามบอลที่ส่งไปให้อย่างเร็ว แล้วให้สัญญาณเพื่อนร่วมทีมว่าจะวิ่งไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวาที่เป็นช่องว่าง เพื่อต้องการให้ส่งบอลมาให้
 
 
                                         เมื่อได้รับบอลแล้วให้เลี้ยงพาบอลทะลุผ่านช่องว่างระหว่างผู้เล่นฝ่ายรับกับมาร์คเกอร์ไปอย่างเร็ว
 
 


วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

 
 
 
เทคนิกการเล่นแบบ 2 ต่อ 1เพิ่มเติม
 

 
                                         การเล่นในสถานะการณ์ 2ต่อ1นั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับโอกาสที่คู่ต่อสู้เปิดจุดอ่อนให้ เช่นแบบฝึกตัวอย่างดังนี้ จากภาพผู้เล่นฝ่ายรุกคนที่ 2 เคลื่อนที่หนีการประกบตัวของฝ่ายรับออกมาทางด้านข้างเพื่อรับบอลจากการส่งมาของผู้เล่นฝ่ายรุกคนที่ 1 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อคู่ต่อสู้ตามมา พื้นที่ของสนามอีกด้านหนึ่งจะเปิดเป็นที่ว่างมากขึ้น ทำให้ผู้เล่นฝ่ายรุกคนที่ 1 เคลื่อนที่ขึ้นมาช่วยสนับสนุนการเล่นเพื่อสร้างความได้เปรียบ
 

 
                                      บางครั้งเราอาจจะครอบครองบอลได้แต่ไม่ดีเท่าที่ควรจึงไม่สามารถพาบอลกระชากเลี้ยงบอลผ่านหรือทำชิ่งบอล 1-2 ผ่านได้อย่างที่คิด ดังนั้นจึงต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยผู้ล่นหมายเลข 2 ที่ครองบอลควรเลี้ยงบอลหลบผ่านคู่ต่อสู้ย้อนกลับไปอีกด้านหนึ่งของสนามเพื่อดึงคู่ต่อสู้ให้ตามมาเพื่อเปิดพื้นที่ว่างใหม่และหาช่องทางในการเล่นแบบอื่นที่ได้เปรียบกว่า 
 
                                     
                                         ผู้เล่นหมายเลข 1 ต้องอ่านเกมส์ว่าต้องทำอย่างไรเพราะถ้าไม่เคลื่อนที่จากพื้นที่เดิมไปมิฉะนั้นคู่ต่อสู้จะเกิดความได้เปรียบที่สามารถคุมสถานะการณ์ได้ทั้งคุมคนและคุมพื้นที่ได้
 
 
                                         ผู้เล่นหมายเลข 1 ควรวิ่งอ้อมหลังผู้เล่นที่ครองบอลไปอีกด้านหนึ่งทันที เพื่อเปิดช่องทางการเล่นและทำให้ฝ่ายรับสับสน เมื่อมีโอกาสที่ดีผู้เล่นที่ครองบอลสามารถส่งบอลทะลุผ่านไปให้เพื่อนหมายเลข 2 วิ่งโฉบพาบอลไป แต่ต้องทำก่อนที่เพื่อนจะเคลื่อนที่ไปอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า
 
 
 
 
 


วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การสร้างความได้เปรียบในการเล่น
ภาพจาก www.clipslike.com
                                         ในสถานะการณ์การเล่นและแข่งขันจริง เราสามารถเลือกเทคนิคและวิธีเล่นที่สร้างความได้เปรียบให้เหนือคู่ต่อสู้ได้ โดยนักฟุตบอลผู้นั้นต้องคิดและตัดสินใจอย่างรวดเร็วว่าจะเลือกวิธีการเล่นอย่างไรในขณะที่ครองบอลอยู่แล้วเผชิญกับคู่ต่อสู้ที่กำลังจะเข้ามาแย่งบอลไป ปกติเรามีทักษะและเทคนิคในการเล่นเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้แบบ 1ต่อ1 อยู่แล้ว สามารถนำมาใช้ได้เลย แต่ถ้าประเมินแล้วเห็นว่าคู่ต่อสู้มีความสามารถดีเราน่าจะเอาชนะได้ยาก หรือมองเห็นว่าเพื่อนร่วมทีมของเรามีโอกาสที่ดีกว่า เราอาจตัดสินใจเลือกการเล่นที่เหมาะกว่าเมื่อคู่ต่อสู้พุ่งเข้ามาเพื่อแย่งบอลจากเรา โดยเรารีบส่งบอลไปให้เพื่อนร่วมทีมที่ว่างอยู่เล่นทันที ในลักษณ์การเล่นแบบ 2ต่อ1 ทำให้สามารถพาบอลทะลุผ่านคู่ต่อสู้ไปได้โดยง่าย 



                            การฝึก ทำในพื้นที่ 10x20 หลา ใช้ผู้เล่นฝ่ายรุก 2 คน ฝ่ายรับ 1 คน
                            วิธีฝึก ฝ่ายรุกที่ถูกฝ่ายรับประกบ ต้องเคลื่อนที่หนีการประกบไปทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งเพื่อรับบอลจากเพื่อนแล้วพยายามครองบอลหันเข้าหาคู่ต่อสู้ เพื่อหาโอกาสว่าควรจะเล่นวิธีใดดีที่สุด ส่วนฝ่ายรุกที่ส่งบอลให้แล้วต้องเคลื่อนที่ไปสนับสนุนการเล่นของเพื่อนโดยวิ่งเปิดทางออกไปด้านตรงกันข้าม เพื่อสร้างโอกาสและเปิดพื้นที่ในการเล่นให้เพิ่มมากขึ้น
 

                              ผู้ที่ครองบอลต้องดูที่ผู้เล่นฝ่ายรับว่า จะเข้ามาป้องกันได้ทันหรือไม่ (1)ถ้าเห็นว่าไม่ทันให้กระชากบอลเลี้ยงทะลุผ่านคู่ต่อสู้ไปหรือ  (2)เมื่อเห็นว่าคู่ต่อสู้เข้ามาป้องกันใกล้มากทำให้ไม่มั่นใจว่าจะหลบหลีกผ่านไปได้ แสดงว่าเพื่อนร่วมทีมจะว่างและมีโอกาสมากกว่า ดังนั้นควรส่งบอลให้เพื่อนโดยทันทีเพื่อเล่นแบบ 2ต่อ1 สร้างความได้เปรียบในการเล่นมากขึ้น เมื่อผู้เล่นนั้นได้รับบอลแล้วให้รีบเลี้ยงบอลทะลุผ่านไปโดยเร็ว



                                 หรือสถานการณ์เปลี่ยน (ดังภาพ) คู่ต่อสู้อาจจะอ่านความคิดเราได้ จะเคลื่อนตัวตามบอลกลับไปเพื่อป้องกันฝ่ายรุกอีกคนหนึ่ง ดังนั้นผู้เล่นคนนั้นไม่ควรครองบอลไว้ ควรใช้ทักษะเทคนิคการเล่น แบบชิ่งบอล 1-2 (Wall pass) ส่งบอลทะลุผ่านฝ่ายรับคืนให้ผู้เล่นฝ่ายรุกคนแรกวิ่งโฉบมาและพาบอลผ่านไป  เทคนิคการเล่นนี้จะทำให้คู่ต่อสู้พะวงและทำให้การป้องกันการรุกทำได้ไม่ดี ผู้เล่นฝ่ายรุกจะเล่นได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย