วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โค้ชสำคัญอย่างไรในวงการฟุตบอล


                            โค้ชเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่่สร้างทีมฟุตบอลให้ประสบความสำเร็จ และช่วยพัฒนานักกีฬาและวงการฟุตบอลให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น แต่การทำงานของโค้ชบางครั้งยังไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ชมหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังจะเห็นได้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำไมจัดผู้เล่นแบบนี้ เปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง  ทำไมไม่เล่นแบบนี้ หรือทำไมจึงฝึกซ้อมแบบนี้เป็นต้น                  
                             ผู้วิจารณ์ไม่ได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ แต่นั่งดูอยู่ด้านนอกอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างจากโค้ชที่ฝึกหรือทำหน้าที่อยู่ในขณะนั้นซึ่งจะเข้าทำนองคำพังเพยไทยที่ว่า ทำขนมเบื้องด้วยปาก คือการพูดว่าทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ดูเป็นสิ่งที่ง่าย แต่ถ้าลงมือทำจริงๆมันยากกว่าที่คิด ดังนั้นควรทำใจเป็นกลางคิดได้แต่ไม่ควรวิจารณ์การทำงานของโค้ช เพราะบางที่ผลที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผู้ปกครองบางท่านส่งลูกหลานมาฝึกซ้อม เห็นว่าเด็กของตนได้รับการแนะนำและฝึกไปได้ในระดับหนึ่งแต่ยังไม่ก้าวหน้าดีพอ อย่างที่ผู้ปกครองคิด จึงพยายามให้คำแนะนำเอง โดยบอกให้เด็กทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อต้องการให้เด็กเล่นได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งอาจจะลืมไปว่าการทำอย่างนั้นไปสร้างความกดดันให้เด็กเพิ่มมากขึ้น เพราะวุฒิภาวะและขีดความสามารถของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากันเด็กจึงยังไม่สามารถทำทักษะนั้นได้ในช่วงเวลานั้น
                            โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่ ก่อนที่จะมาทำหน้าที่โค้ชได้นั้น บุคคลนั้นต้องมีความรู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการเป็นผู้ฝึกสอนในระดับต่างๆมาก่อน มิใช่ว่าใครอยากเป็นก็เข้าไปทำหน้าที่โค้ชเองเลย เพราะถ้าไม่มีความรู้จริงๆแล้วเมื่อเข้าไปทำหน้าที่จะพบว่ามีปัญหาในขณะที่ทำงานมากมาย แม้ว่าโค้ชที่ผ่านการอบรมมาแล้ว เมื่อเวลาทำงานจริงๆก็มีปัญหาอยู่เช่นกัน แต่ได้นำเอาความรู้ที่มีอยู่มาจัดการกับปัญหานั้นได้อย่างและเหมาะสมถูกต้องมากกว่า นอกจากนั้นแล้วการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาเด็กต้องทำตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอน เด็กจึงมีการพัฒนาพื้นฐานความสามรถด้านทักษะได้ครบถ้วน รู้และเข้าใจเทคนิค แท็คติค รวมถึงยุทธวิธีการเล่นได้สมบูรณ์แบบมากที่สุด
                            ดังนั้นโค้ชจึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนานักกีฬาและวงการฟุตบอล ปัจจุบัน
โค้ชฟุตบอลในประเทศไทยที่กำหนดไว้ตามระดับมาตรฐานของฟีฟามีหลายระดับ
                            1. ระดับ   T-License
                            2 .ระดับ   C-License
                            3. ระดับ   B-License
                            4 .ระดับ   A-License
                           หลักสูตรของโค้ชแต่ละระดับจะมีหัวข้อและเนื้อหาที่แตกต่างกัน โดยสาระต่างๆจะมีรายละเอียดที่เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ เพื่อมุ่งพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาให้ดีขึ้นในทุกๆด้านตามลำดับขั้น ไม่ควรเร่งรีบฝึกแบบข้ามขั้นตอน เพียงหวังจะให้เด็กนั้นชนะในเกมส์การแข่งขั้นเมื่ออยู่ในช่วงวัยเด็ก เพราะถ้ากลุ่มเด็กที่ได้รับการฝึกตามลำดับขั้นจะมีความสามารถด้านทักษะพื้นฐานดีแต่เกมส์การแข่งขันยังไมได้รับการพัฒนาเต็มรู้แบบ จึงทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่เมื่อใดที่เด็กกลุ่มนี้ได้รับการฝึกครบทุกขั้นแล้วพวกเขาเหล่านี้จะมีความสามารถในการเล่นได้สมบูรณ์แบบมากกว่า ผลสุดท้ายเด็กกลุ่มนี้จะมีการพัฒนาและมีขีดความสามารถการเล่นที่สูงและยั่งยืนกว่าเสมอ
                          ดังนั้นโค้ชจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนานักกีฬาและวงการฟุตบอลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โค้ชในระดับ T-Licensec และ C-License จะเป็นบุคคลที่ควรได้รับคำยกย่องว่าเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในการพัฒนานักกีฬาฟุตบอลมากกว่าโค้ชที่ทำหน้าที่ในระดับที่สูงขึ้นไปอีกเพราะถ้าเด็กไม่ได้รับการฝึกที่ถูกต้องมาแล้ว เมื่อเติบโตขึ้นมาจึงมารับการฝึกแล้วการพัฒนาสามารถทำได้แต่ผลพัฒนาจะมีผลสัมฤทธิ์จะไม่มีสมบูรณ์แบบอย่างที่ควรจะเป็น
                          ขอเป็นกำลังใจให้กับโค้ชทุกท่านที่ได้ทำหน้าที่ฝึก สอน เด็กๆเพื่อให้มีทักษะพื้นฐานการเล่นฟุตบอลที่ถูกต้อง เพราะถ้าไม่มีพวกท่านทำหน้าที่อันสำคัญยิ่งตรงนี้แล้ว อนาคตจะมีนักกีฬาที่มีความสามารถดีๆ เพื่อเป็นกำลังของชาติไปสร้างผลงานและสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติได้อย่างไร

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

 
 
 
การอบรมผู้ฝึกสอนฟุตบอล T-Licence
 

                      ระหว่างวันที่ 26-30 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสร่วมงานกับ อ.ปรีชาพัฒน์  ปยุตเรืองกิตต์   ไปเป็นวิทยากรให้การอบรมโค้ชฟุตบอลต้นแบบหลักสูตร T-Licence ของกรมพลศึกษา ที่สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตมหาสารคาม หลักสูตรนี้โค้ชหรั่ง ดร.ชาญวิทย์  ผลชีวิน ได้จัดทำไว้โดยยึดหลักสูตรมาตรฐานของ AFC   การอบรมภาคทฤษฎีมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้ฝึกสอน กระบวนการขั้นตอนวิธีฝึก-สอน การพัฒนาการของเด็กและเยาวชนในวัยต่างๆว่าแต่ละช่วง  เด็กมีความพร้อมสามรถรับรู้  ฝึกทักษะและเทคนิคการเล่นฟุตบอลได้มากน้อยเพียงใดและควรมีวิธีการฝึกอย่างไรจึงจะเหมาะสม เรียนรู้เรื่องโภชนาการและน้ำดื่ม  การปฐมพยาบาล และกติกาเเบื้องต้น  ส่วนภาคปฏิบัติ ลงฝึกในสนามจริง เริ่มตั้งแต่การอบอุ่นร่างกายแบบไม่มีบอลโดยการเคลื่อนที่และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ รวมถึงการอบอุ่นร่างกายที่ใช้ลูกบอลประกอบ ซึ่งทำเป็นรายบุคคล เป็นคู่และเป็นกลุ่ม เทคนิคการสอน การฝึกทักษะการรับ-ส่ง โหม่ง เลี้ยง ยิงประตู และการเป็นผู้รักษาประตูเบื้องต้น
 


 
 
 













 ฝึกเทคนิคการรุกและการป้องกันแบบ 1ต่อ1  2 ต่อ1  3ต่อ1  4ต่อ2   3ต่อ2   3ต่อ3   4ต่อ4   5ต่อ5  7ต่อ7
เป็นต้น รวมถึงเทคนิคการเข้าทำประตู ทั้ง 7 แบบ ได้แก่ การโยนบอลจากด้านข้าง (Over lap run and Crossing)  พาบอลถึงเส้นประตูแล้วหักย้อนกลับมา (Cut back)   ส่งทะลุตามช่อง(Through ) ทำชิ่ง1-2 (Wall pass)   ส่งคืนให้ตัวหลังยิง(Back pass)   เลี้ยงหลบเข้าไปยิงเอง(Solo)  และยิงไกลจากแถวสอง(Long shoot / Second row ) เป็นต้น ผู้เข้ารับการอบรมยังได้ฝึกการเขียนแผนการฝึกซ้อม และได้เรียนรู้การบริหารพื้นที่สนาม การจัดวางกรวย และมาร์คเกอร์เพื่อจัดทำสนามการฝึกซ้อมอีกด้วย


 




การอบรมครั้งนี้มีนักฟุตบอลต่างชาติ  Mr.Seth จากประเทศกานา ซึ่งเข้ามาเล่นฟุตบอลอาชีพกับสโมสร D 2ในประเทศไทย เข้ามารับการอบรมด้วยเช่นกัน ผู้รับการอบรมมีความสุขได้รับความรู้ตามหลักสูตรการเป็นผู้ฝึกสอนฟุตบอลระดับ T-Licence กันอย่างเต็มที่  เสร็จสิ้นการอบรมผู้ที่ผ่านการอบรมได้ทั้งความรู้และวุฒิบัตรรับรองวุฒิ ไปทำงาน   ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านนำความรู้ที่
    ได้รับไปถ่ายทอดกับเยาวชนให้ได้มีศักยภาพในการเล่นฟุตบอลที่ดีและสูงขึ้นเพื่อเป็นกำลังของชาติ
    ในอนาคต  และขอให้นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานของท่านให้ก้าวหน้าต่อไป...สู้สู้นะ>>>>>