วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พัฒนาฟุตบอลเด็กไทยใช้หลักการ

1C, 1Dและ 7F

 
ภาพจาก www.suphan.go.th
 
                               การฝึก-สอนฟุตบอลให้กับเด็กและเยาวชนของไทย จำเป็นต้องพัฒนาให้ครบทุกๆด้าน ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการด้านฟุตบอล ต้องศึกษาวิวัฒนาการของวงการฟุตบอลทั่วโลก ว่าขณะนี้เขาก้าวหน้ากันไปถึงไหน และมีหลักการและในการวิธีพัฒนาอย่างไร  เราควรวิเคราะและนำเอาสิ่งที่ดีนั้นมาประยุกต์ใช้ฝึกเพื่อความเหมาะสมกับสภาพของคนไทย
                              แนวคิดเกี่ยวกับหลักการที่นำมาใช้พัฒนา  สามารถนำหลัก   1C, 1D, และ 7F มาใช้พัฒนาได้ดังนี้
                            1C = CONFIDENT
                            1D = DISCIPLINE
                            7F =  FUN
                                     FITNESS
                                     FAST
                                     FIND
                                     FOCUS
                                     FINISHING
                                     FRIENDSHIP
                          CONFIDENT = ความมั่นใจ ความเชื่อมั่นว่าเราสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นสู้กับนักเตะทั่วโลกได้ และมุ่งมั่นตั้งใจทุ่มเทเล่นแบบไม่ยอมแพ้ และสามารถเอาชนะทุกๆทีมได้เช่นกัน
                          DISCIPLINE = ความมีวินัย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในระดับแรก ที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในตัวของนักกีฬา เพราะวินัยจะส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบต่องาน การตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฏระเบียบได้อย่างเค่รงครัดในการฝึกและแข่งขัน ซื่อสัตย์ เป็นคนดีมีน้ำใจนักกีฬา
                         FUN = ความสนุกสนาน มีความสุขในภาระกิจที่ทำไม่ว่าจะ เหนื่อย หนักและลำบากแค่ไหน ดังนั้นผู้ฝึกสอนควรจัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศในการฝึกและเล่น  ให้นักกีฬาเกิดความสนุกสสนานไปพร้อมๆกัน และเพื่อความสุขที่เกิดจากผลสำเร็จจากการแข่งขัน
                         FITNESS = สมรรถภาพทางกาย มีความสำคัญมากเนื่องจากเกมส์ฟุตบอลปัจจุบัน นักกีฬาแต่ละคนปรับปรุงตนเองให้มีความพร้อมของร่างกายแข็งแรงมากพอที่จะต่อสู้กับคู่แข่งขันจากทุกๆทีม ดังนั้นจึงต้องมีสภาพร่างกายที่ดี ทั้งด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไวสามารถหลบหลีกเปลี่ยนทิศทางได้ดี ความอดทนสามรถทำกิจกรรมอย่างหนักได้นานเหนือกว่าคู่แข่งขัน
                         FAST = ความรวดเร็วว่องไว ในปัจจุบันฟุตบอลสมัยใหม่จำเป็นต้องเน้นการตัดสินใจที่รวดเร็วเพื่อเลือกวิธีการเล่นที่เหมาะสมกับสถานะการณ์ ทั้งในด้านเกมส์รุกไม่ว่าจะเป็นการเคลื่ิอนที่รวดเร็ว การรับ-ส่งบอลที่รวดเร็ว การเล่นเกมส์โต้รุกกลับ การเปลี่ยนแกนการเล่นสลับด้านซ้าย-ขวา การเจาะทะลุตามช่องเข้าทำประตู และด้านเกมส์รับ การวิ่งลงมาตั้งรับ เข้าประกบตัวและเข้าบีบไล่แย่งตัดบอลคืนกลับมา ซึ่งต้องทำอย่างรวดเร็ว
                        FIND = การค้นพบ ว่านักกีฬาแต่ละคนมีจุดเด่นและจุดอ่อนอะไรบ้าง เหมาะสมจะเล่นในตำแหน่งใด ควรจะได้รับการปรับปรุงพัฒนาอย่างไร และจะสามารถดึงศักยภาพสูงสุงของนักกีฬาออกมาใช้ให้ได้ประโยชน์ต่อทีมมากที่สุด
                        FOCUS = จุดเน้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดเป้าหมายในการฝึกและการเล่นให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค แทคติกการเล่นทั้งส่วนบุคคล กลุ่ม ทีม สไตล์การเล่น และระบบการเล่นของทีม ควรเน้นรูปแบบการเล่นเฉพาะเจาะจงเป็นเอกลัษณ์ ให้เหมาะสมกับผู้เล่นและทีมของเรา
                       FINISHING = การยิงประตูที่มีประสิทธิภาพและเฉียบคม จะเป็นบทสรุปสุดท้ายในเกมส์การแข่งขัน  ดังนั้นการฝึกเทคนิค และแทคติกการเข้าทำประตูแบบมาตรฐาน 7 แบบ คือ การผ่านบอลจากด้านข้างสนาม( Over lap run and Crossing )  การพาบอลถึงเส้นประตูแล้วหักส่งย้อนเข้ามา( Cut Back )  การส่งทะลุตามช่อง( Through )  การทำชิ่ง 1-2( Wall Pass )  การส่งคืนให้ตัวหลังยิง( Back Pass)  การเลี้ยงหลบเข้าไปยิงเอง( Solo )  การยิงไกลจากแถวสอง( Long Shoot / Secon Row ) รวมถึงการไม่ใช้โอกาสเปลือง โดยต้องเน้นการยิงที่แม่นยำเฉียบคมให้อยู่ภายในกรอบและเข้าประตูให้ได้
                       FRIENDSHIP = การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในทีม ร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูล สนับสนุนซึ่งกันและกัน เล่นกันเป็นทีม อีกทั้งสร้างมิตรภาพที่ดีกับคู่แข่งขันและบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างน้ำใจนักกีฬาที่ดีต่อกัน
                      หลักการดังกล่าวจะปรับปรุงและพัฒนานักฟุตบอลไทยในทุกระดับ ให้มีความพร้อมของสภาพร่างกายและจิตใจ มีทักษะ เทคนิค แทคติก สไตล์และยุทธวิธีในการเล่นที่ดี ในระดับเทียบเท่ามาตรสากล สามารถต่อสู้เชิงลูกหนังกับทุกๆชาติบนโลกนี้ได้อย่างแน่นอน....สู้กันต่อไปนะครับ >>>>>
         
                       
                                    

                               



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น