ชาวญี่ปุ่นก็มีความฝันอยากเห็นทีมฟุตบอลของตนเองยกระดับเข้าสู่มาตรฐานระดับโลก และต้องการที่จะก้าวไปเป็นแชมป์โลก เหมื่อนความไฝ่ฝันของทุกๆประเทศในโลกนี้..
เมื่อพวกเขามีความไฝ่ฝันอย่างนั้นแล้ว พวกเขามีแนวทางที่จะ เดินตามฝันและจะทำให้ความฝันนั้นเป็นความจริงให้ปรากฏเป็นรูปธรรมได้อย่างไร ความจริงทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยก็มีฝันและมีแผนในการพัฒนาทีมฟุตบอลของตนให้ไปสู่เป้าหมายเช่นเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่มักจะวางแผนพัฒนานักฟุตบอลชุดปัจจุบันให้ดีขึ้นและหวังว่านักกีฬาชุดดังกล่าวจะสามารถสร้างผลงานที่ดีสามารถสู้กับทีมที่อยู่ในมาตรฐานระดับโลกได้ ซึ่งแนวคิดนี้จะทำเพื่อหวังให้สำเร็จให้ได้ในระยะเวลาสั้นๆแบบสร้าความสำเร็จด้วยแผนบันได 3 ขั้น แต่ในความเป็นจริงโอกาสความเป็นไปได้มีน้อยมาก เพราะนักฟุตบอลแต่ละคนจะมีระเวลาที่มีขีดความสามารถสูงสุดในการทำผลงานได้ดีมากๆได้ไม่นานประมาณแค่ช่วง 10 ปีเท่านั้น ดังนั้นถ้ามีแผนพัฒนาเริ่มที่นักฟุตบอลชุดปัจจุบันเพื่อให้มีมาตรฐาน คงต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4-5 ปีแล้ว ซึ่งเท่ากับว่าการแข่งขันฟุตบอลโลกผ่านไป 1 ครั้งแล้วจึงสร้างเสริมประสบการณ์ให้มากขึ้นอีกในการแข่งขันฟุตบอลโลกอีก 1 ครั้งโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4-5 ปีอีกเช่นกัน พอนักฟุตบอลมีประสบการณ์พร้อมทุกอย่าง สภาพร่างกายเริ่มลดน้อยถอยลง โอกาสความสำเร็จก็หลุดลอยไปพร้อมกับนักฟุตบอลชุดนั้น แล้วก็กลับมาเริ่มต้นสร้างชุดดรีมทีมกันขึ้นมาใหม่อีกครั้งแบบเดิมๆเป็นอย่างนี้เรื่อยมา เพราะเราไม่ได้สร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพมาตรฐานเอาไว้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง
ประเทศญี่ปุ่นที่ก้าวเดินบนเส้นทางฟุตบอลมาพร้อมๆกับประเทศไทย
ซึ่งในช่วงแรกๆมาตรฐานของทีมญี่ปุ่นยังต่ำกว่าของประทศไทยอยู่พอสมควรก็ทำแผนพัฒนาเช่นกัน
แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ เขาวางแผนการพัฒนาระยะยาวช่วงละ 15 ปีซึ่งขณะนี้เขาได้ดำเนินการไม่น้อยกว่า 2 ช่วงแล้วและกำลังเข้าสู่แผนพัฒนาระยะที่ 3 แล้ว
โดยเขามองไปที่เป้าหมายข้างหน้าว่าจะคว้าแชมป์ฟุตบอลมาให้ได้ ดังนั้นจึงมาเน้นทรัพยากรที่ต้องพัฒนาก่อน
โดยย้อนกลับไปมุ่งเน้นพัฒนาเด็กเล็กๆอายุประมาณ 4-5 ปี
ทั้งๆที่ยังไม่รู้เลยว่าเด็กเหล่านั้นโตขึ้นมาจะชอบในกีฬาฟุตบอลหรือไม่
รัฐบาล สมาคมฟุตบอลของญี่ปุ่นและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยช่วยกันให้ความร่ามมือกันอย่างจริงจัง หน่วยงานไหนมีหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ทำอะไรพวกเขาจะไปวางแผนพัฒนางานในส่วนของพวกเขาให้ดีที่สุดแต่ผลสัมฤทธิ์นั้นต้องมีความสอดคล้องสนับสนุนกันอย่างเป็นระบบเพื่อเป้าหมายเดียวกัน เช่นการเตรียมเด็กเล็กๆให้เป็นนักฟุตบอลที่มีความสามารถในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้านั้น พวกเขาขอให้นักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงและมีผลงานที่เด็กๆชื่นชอบเขียนการ์ตูนเกี่ยวกับฟุตบอลที่มีเนื้อหาที่มีเด็กคนหนึ่งมีความฝันที่จะเป็นนักเตะที่มีฝีเท้าระดับโลก แต่ต้องมีความมานะพยายามฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆจนได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าทีม ในนาม"กัปตัน ซึบาสะ" ที่เป็นผู้นำทีมชาติญี่ปุ่นเข้าแข่งในฟุตบอลโลก และในที่สุดทีมญี่ปุ่นก็สามารถชนะเลิศเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกได้.
ภาพจาก www.pantip.com
เรื่องราวของการ์ตูนจะสร้างกระแสและเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กๆมีความกระหายที่จะเป็นนักฟุตบอลที่จะเป็นฮีโรของชาติ
แต่เด็กเหล่านี้ไม่ใช่เพียงแต่ฝัน
พวกเขาพยายามเข้าสู่ระบบการพัฒนาของรัฐบาลและสมาคมฟุตบอลของญี่ปุ่น
ในศูนย์ฝึกฟุตบอลระดับเยาวชนที่มีผู้ฝึกสอนที่ผ่านการอบรมไลน์เซนส์มาตรฐานฟีฟาระดับต่างๆให้การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
แล้วเข้าสู่ระบการแข่งขันเพื่อสร้งเสริมประสบการณ์
จนเติบโตเข้าสู่ การแข่งขันในระบบอาชีพ
ดังนั้นเด็กกลุ่มดังกล่าวก็จะเป็นฐานกำลังที่แข่งเกร่งพอมี่จะยืนหยัดในเวทีการแข่งขันระดับโลกได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคงพร้อมที่จะแย่งชิงตำแหน่งแชมป์โลกให้ได้ในระยะเวลาไม่ไกลในอนาคต
ภาพจาก www.zimbio.com
ต้องยอมรับว่าแนวทางตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากีฬาฟุตบอลของญี่ปุ่นนั้น เขาดำเนินมาอย่างเหมาะสมถูกต้อง ซึ่งผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมชัดเจนอย่างเช่นทีมชายได้ตำแหน่งอันดับที่ 3 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคมาแล้ว และครองแชมป์เอเซียอีกด้วย ส่วนทีมในระดับสโมสรก็สามารถต่อสู้กับยอดทีมจากทวีปต่างๆได้รางวัลรองชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอล สโมสรชิงแชมป์โลกปี2016 ที่ผ่านมา ส่วนทีมหญิงสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ได้แชมป์ของเอเซีย ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ 1 สมัยและได้ตำแหน่งชนะเลิศในรายการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลกมาแล้ว 1 สมัย สร้างประวัติศาสตร์อันทรงเกียรติให้ประเทศได้แล้ว ดังนั้นแนวทางดังกล่างนี้น่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ดีน่านำมาประยุกต์ใช้พัฒนาวงการฟุตบอลในบ้านเรานะครับ.....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น