ฝึก "combination play" ได้อย่างไร.!! (ตอนที่ 1)
ภาพจาก www.crowhillgallerycp.com
ภาพจาก www.crowhillgallerycp.com
แนวคิดในการกำหนดรูปแบบการฝึกให้นักฟุตบอลในทีม เพื่อให้สามารถเล่นด้วยกันได้อย่างเหมาะสมกับสถานะการณ์ต่างๆ และเล่นสัมพันธ์กันได้ดีนั้น จะขึ้นอยู่ที่ศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของโค้ช ว่าจะออกแบบแทคติกการเล่นให้ทีมอย่างไร แล้วมาจัดรูปแบบในการฝึกให้นักฟุตบอลเพื่อทำการฝึกซ้อม ให้เกิดความเข้าใจและเล่นด้วยกันอย่างประสานสัมพันธ์กันได้อย่างดี..
โค้ชที่ต้องการฝึก "combination play" เพื่อสร้างผู้เล่นให้มีความสัมพันธ์ในการเล่นเกมที่ต้องการมากยิ่งขึ้นนั้น จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้....
1. กำหนดวัตถุประสงค์การฝึก ว่าจะทำ ทำไม
2. ทำอย่างไร
3. ทำที่ไหน
4. ทำเมื่อไหร่
5. ใครเป็นคนทำ
6. ประเมินผลสัมฤทธ์การกระทำ
7. ปรับปรุงรูปแบบ/กระทำการฝึกซ้ำใหม่
ตัวอย่างการฝึกเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในการเล่นเกมรุกทางด้านข้าง....
จากภาพที่ 1 และ 2 ฝึกสร้างความสัมพันธ์สร้างเกมทางด้านข้าง
1. ต้องการเปิดเกมรุกกดดันทางด้านข้าง โจมตีผ่านแนวป้องกันเพื่อดึงผู้เล่นแนวรับที่อยู่ตรงกลางให้เคลื่อนออกมาป้องกัน แนวรับที่อยู่บริเวณหน้าประตูจะถูกขยายออกมาทำให้มีพื้นที่ว่างในการเข้าทำประตูเพิ่มมากขึ้น
2. ทำเกมเจาะทะลุแนวรับ โดยการส่งบอลทะลุผ่านระหว่างแนวรับไป
3. ทำที่ด้านข้างทะลุผ่านแนวรับไปสู่พื้นที่ด้านหลังแบ็ค
4. ทำเมื่อปีกได้ครองบอล และเห็นว่าพื้นที่ด้านหลังแบ็คมีพื้นที่ว่าง
5. ปีกหมายเลข 7 เป็นผู้ส่งบอลทะลุช่องว่างแนวรับ ให้ผู้เล่นกองหน้าหมายเลข 9 วิ่งตัดทะแยงแนวมุมธงทะลุแนวผ่านรับไปรับบอล เพื่อหาโอกาสเปิดบอลเข้ามาบริเวณหน้าประตู ให้เพื่อนร่วมทีมที่หมุนเวียนตำแหน่งเข้าทำประตู
6. ประเมินผลการปฎิบัติว่าเหมาะสมถูกต้องตามวัตถุประสงค์การฝึกหรือไม่
7. ทบทวนหรือปรับให้เหมาะสมสัมพันธ์/ฝึกซ้ำเพื่อความเข้าใจและชำนาญ
ซึ้งจะเห็นได้ว่าผู้เล่นแต่ละคนจะต้องมีความเข้าใจว่า สถานะการณ์แบบนี้ทีมของเราจะเล่นแบบนี้เท่านั้น แต่ละคนจะมีหน้าที่เฉพาะตัว ไม่ว่าจะส่งบอล หรือเคลื่อนที่ไปรับบอลและหมุนเวียนตำแหน่งช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน ถ้าฝึกซ้อมกันบ่อยๆจะทำให้ผู้เล่นทุกคนเล่นกันด้วยความสัมพันธ์และมีความแม่นยำแน่นนอนมากยิ่งขึ้นเป็นต้น...
โค้ชที่ต้องการฝึก "combination play" เพื่อสร้างผู้เล่นให้มีความสัมพันธ์ในการเล่นเกมที่ต้องการมากยิ่งขึ้นนั้น จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้....
1. กำหนดวัตถุประสงค์การฝึก ว่าจะทำ ทำไม
2. ทำอย่างไร
3. ทำที่ไหน
4. ทำเมื่อไหร่
5. ใครเป็นคนทำ
6. ประเมินผลสัมฤทธ์การกระทำ
7. ปรับปรุงรูปแบบ/กระทำการฝึกซ้ำใหม่
ตัวอย่างการฝึกเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในการเล่นเกมรุกทางด้านข้าง....
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
จากภาพที่ 1 และ 2 ฝึกสร้างความสัมพันธ์สร้างเกมทางด้านข้าง
1. ต้องการเปิดเกมรุกกดดันทางด้านข้าง โจมตีผ่านแนวป้องกันเพื่อดึงผู้เล่นแนวรับที่อยู่ตรงกลางให้เคลื่อนออกมาป้องกัน แนวรับที่อยู่บริเวณหน้าประตูจะถูกขยายออกมาทำให้มีพื้นที่ว่างในการเข้าทำประตูเพิ่มมากขึ้น
2. ทำเกมเจาะทะลุแนวรับ โดยการส่งบอลทะลุผ่านระหว่างแนวรับไป
3. ทำที่ด้านข้างทะลุผ่านแนวรับไปสู่พื้นที่ด้านหลังแบ็ค
4. ทำเมื่อปีกได้ครองบอล และเห็นว่าพื้นที่ด้านหลังแบ็คมีพื้นที่ว่าง
5. ปีกหมายเลข 7 เป็นผู้ส่งบอลทะลุช่องว่างแนวรับ ให้ผู้เล่นกองหน้าหมายเลข 9 วิ่งตัดทะแยงแนวมุมธงทะลุแนวผ่านรับไปรับบอล เพื่อหาโอกาสเปิดบอลเข้ามาบริเวณหน้าประตู ให้เพื่อนร่วมทีมที่หมุนเวียนตำแหน่งเข้าทำประตู
6. ประเมินผลการปฎิบัติว่าเหมาะสมถูกต้องตามวัตถุประสงค์การฝึกหรือไม่
7. ทบทวนหรือปรับให้เหมาะสมสัมพันธ์/ฝึกซ้ำเพื่อความเข้าใจและชำนาญ
ซึ้งจะเห็นได้ว่าผู้เล่นแต่ละคนจะต้องมีความเข้าใจว่า สถานะการณ์แบบนี้ทีมของเราจะเล่นแบบนี้เท่านั้น แต่ละคนจะมีหน้าที่เฉพาะตัว ไม่ว่าจะส่งบอล หรือเคลื่อนที่ไปรับบอลและหมุนเวียนตำแหน่งช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน ถ้าฝึกซ้อมกันบ่อยๆจะทำให้ผู้เล่นทุกคนเล่นกันด้วยความสัมพันธ์และมีความแม่นยำแน่นนอนมากยิ่งขึ้นเป็นต้น...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น