การพัฒนาฟุตบอลต้องทำให้คุ้มทุน
การบริหารงานของสมาคมฟุตบอลฯของไทยแต่ละสมัย จะมีแนวคิดการพัฒนาวงการฟุตบอลคล้ายๆกัน เช่นมีโครงการอบรมโค้ชให้มีความรู้ Licences ตามมาตรฐาน FIFA กำหนด แล้วมีโครงการพัฒนานักฟุตบอลทีมชาติแต่ละชุด
ถ้าพิจารณาแบบเจาะลึก..จะพบว่าการพัฒนาที่ผ่านๆมานั้นมีผลสัมฤทธิ์ไม่คุ้มค่าการลงทุน และมาตรฐานการเล่นของทีมฟุตบอลไทยยังเล่นอยู่ในระดับอาเซี่ยนเหมือนเดิม ทั้งๆที่เรามีโค้ชที่ผ่านการอบรม Licences ระดับต่างๆเพิ่มมากขึ้น
ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากสาเหตุต่อไปนี้
1. บางคนที่ได้รับโอกาสเข้ารับการอบรมไม่ใช่ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ฝึกแและพัฒนานักกีฬาจริง เพราะคนพวกนี้ต้องการเพียงใบประกาศที่ผ่านการอบรมไปไว้ประดับบารมีเท่านั้น จึงมักจะหาช่องทางพิเศษเพื่อเข้าอบรมในทุกระดับเท่านั้น
2. สมาคมฟุตบอลฯ ขาดแผนยุทธศาสตร์ในการควบคุม กำกับติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของโค้ชหลังการอบรมว่าที่ได้ทำจริง และมีผลการพัฒนางานอย่างไร
3. สมาคมฟุตบอลฯ ขาดแผนยุทธศาสตร์การจัดกลุ่มและจัดอันดับความสามารถของโค้ชไว้ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพิจารณาคัดเลือกโค้ชมาใช้งาน และส่งเสริมให้พัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นได้อย่างเหมาะสมต่อไป
4. สมาคมฟุตบอลฯ ขาดแผนยุทธศาสตร์การตั้งศูนย์ฝึกเพื่อพัฒนานักฟุตบอล 4-5 ศูนย์ไว้ทุกภาคทั่วประเทศ และศูนย์ฝึกทีมชาติที่ส่วนกลางอีก 1 ศูนย์ เพราะเป็นการขยายโอกาสให้เยาวชนที่อาจจะเป็นช้างเผือกในอนาคตให้ได้รับโอกาสพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มจำนวนนักฟุตบอลดาวรุ่ง ที่มีความสามารถดีในตำแหน่งต่างๆให้มีมากขึ้นด้วย และเป็นโอกาสดีให้นักฟุตบอลเหล่านั้นต้องแข่งขันกัน พัฒนาศักยภาพของตนให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า การลงทุนในการพัฒนาความรู้ให้บุคลากรเพื่อเป็นโค้ชไม่ใช่น้อย แต่ภาคภูมิใจเพียงปริมาณที่เพิ่มขึ้นของจำนวนโค้ชเท่านั้น ในความเป็นจริงยังไม่เพียงพอ..น่าจะต้องดูที่คุณภาพ ว่าโค้ชที่ผ่านการอบรมไปแล้วได้นำความรู้ไปใช้ พัฒนานักกีฬาในทุกระดับได้จริง และยกระดับมาตรฐานขีดความสามารถของนักฟุตบอลให้สูงขึ้นเทียบชั้นกับมาตรฐานสากล รวมถึงเพิ่มจำนวนนักฟุตบอลเหล่านี้ให้มีมากขึ้นด้วย เพื่อเป็นขุมกำลังที่สำคัญไว้ให้สมาคมฟุตบอลฯได้เลือกและนำไปใช้เป็นตัวแทนของทีมชาติในแต่ละชุดต่อไป...
ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากสาเหตุต่อไปนี้
1. บางคนที่ได้รับโอกาสเข้ารับการอบรมไม่ใช่ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ฝึกแและพัฒนานักกีฬาจริง เพราะคนพวกนี้ต้องการเพียงใบประกาศที่ผ่านการอบรมไปไว้ประดับบารมีเท่านั้น จึงมักจะหาช่องทางพิเศษเพื่อเข้าอบรมในทุกระดับเท่านั้น
2. สมาคมฟุตบอลฯ ขาดแผนยุทธศาสตร์ในการควบคุม กำกับติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของโค้ชหลังการอบรมว่าที่ได้ทำจริง และมีผลการพัฒนางานอย่างไร
3. สมาคมฟุตบอลฯ ขาดแผนยุทธศาสตร์การจัดกลุ่มและจัดอันดับความสามารถของโค้ชไว้ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพิจารณาคัดเลือกโค้ชมาใช้งาน และส่งเสริมให้พัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นได้อย่างเหมาะสมต่อไป
4. สมาคมฟุตบอลฯ ขาดแผนยุทธศาสตร์การตั้งศูนย์ฝึกเพื่อพัฒนานักฟุตบอล 4-5 ศูนย์ไว้ทุกภาคทั่วประเทศ และศูนย์ฝึกทีมชาติที่ส่วนกลางอีก 1 ศูนย์ เพราะเป็นการขยายโอกาสให้เยาวชนที่อาจจะเป็นช้างเผือกในอนาคตให้ได้รับโอกาสพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มจำนวนนักฟุตบอลดาวรุ่ง ที่มีความสามารถดีในตำแหน่งต่างๆให้มีมากขึ้นด้วย และเป็นโอกาสดีให้นักฟุตบอลเหล่านั้นต้องแข่งขันกัน พัฒนาศักยภาพของตนให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า การลงทุนในการพัฒนาความรู้ให้บุคลากรเพื่อเป็นโค้ชไม่ใช่น้อย แต่ภาคภูมิใจเพียงปริมาณที่เพิ่มขึ้นของจำนวนโค้ชเท่านั้น ในความเป็นจริงยังไม่เพียงพอ..น่าจะต้องดูที่คุณภาพ ว่าโค้ชที่ผ่านการอบรมไปแล้วได้นำความรู้ไปใช้ พัฒนานักกีฬาในทุกระดับได้จริง และยกระดับมาตรฐานขีดความสามารถของนักฟุตบอลให้สูงขึ้นเทียบชั้นกับมาตรฐานสากล รวมถึงเพิ่มจำนวนนักฟุตบอลเหล่านี้ให้มีมากขึ้นด้วย เพื่อเป็นขุมกำลังที่สำคัญไว้ให้สมาคมฟุตบอลฯได้เลือกและนำไปใช้เป็นตัวแทนของทีมชาติในแต่ละชุดต่อไป...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น