การฝึกฟุตบอลสำหรับเด็กศูนย์ฝึก
ภาพจาก www.knowhowsoccer.com
ภาพจาก www.knowhowsoccer.com
ปัจจุบันจะเห็นสนามฟุตบอลหญ้าเทียม ผุดขึ้นมาเหมือนดอกเห็ด เนื่องจากกำลังเป็นที่นิยม ถึงแม้ว่าสนามจะมีขนาดเล็กแต่มีพื้นสนามเรียบสามารถเล่นได้ในทุกฤดูกาล ซึ่งเหมาะที่ใช้ในการฝึกสอนทักษะฟุตบอลให้กับเด็กๆ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เยาวชนไทยรุ่นใหม่จะได้รับการสอนทักษที่ต้องและพัฒนาทักษะนั้นให้ดีได้ง่ายเพิ่มขึ้น
FIFA ได้แบ่งเด็กและเยาวชนตามลักษณะการพัฒนาการไว้เป็นช่วงๆ ดังนี้ คือ U-6, U-8, U-10, U-12, U-14, U-16, U-18 ซึ่งมีระยะเวลาช่วงละ 2 ปี เพราะจิตวิทยาการพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุจะมีความสามารถไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการพัฒนาทักษะฟุตบอลจึงควรจะพัฒนาตามขีดควมสามารถในแต่ละวัย ผู้ฝึกสอนจึงไม่ควรเร่งฝึกทักษะที่ซับซ้อนและยากเกินกว่าที่เด็กในวัยนั้นๆสามารถทำได้ เพราะเด็กจะสับสนและขาดความเชื่อมั่นในตนเองไปเพราะเด็กอาจจะทำทักษะนั้นได้ไม่ดีอย่างที่ผู้ฝึกสอนต้องการ และเมื่อเด็กทำไม่ได้หรือทำผิดบ่อยๆก็จะถูกผู้ฝึกสอนต่อว่าเด็กนั้นจะไม่กล้าทำและไม่มั่นใจ
ข้อคิดสำหรับผู้ฝึกสอน คือต้องพิจารณาจัดกิจกรรมการฝึกแต่ละทักษะให้เหมาะสมกับแต่ละวัย แนวคิดในการจัดกิจกรรมการฝึกอย่างคราวๆ โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 4 กลุ่ม ดังนี้
1. เด็กกลุ่ม U-6, U-8 ซึ่งเป็นเด็กเล็กซึ่งเป็นวัยที่อยากทำกิจกรรมต่างๆอย่างที่เขาต้องการเพื่อความสนุกสนาน การฝึกควรใช้ทักษะพื้นฐานที่สามารถทำได้ง่าย เช่น ฝึกการบังคับบอลให้อยู่ในความครอบครอง แล้วพาบอลไปในทิศทางที่กำหนด การเตะบอลไปข้างหน้า การเล่นเกมกับบอลแบบอิสระโดยมีกฏกติกาง่ายๆ ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องตามทักษะ และควรปูพื้นทักษะเบื้องต้นที่ถูกต้องให้เด็กได้บ้างบางอย่างเช่นการ รับ-ส่ง และเลี้ยงบังคับบอลให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่กำหนด แต่เน้นที่ให้กระทำหลายๆครั้ง เพราะเด็กจะได้พัฒนากล้ามเนื้อขา ทักษะทางกลไกการเคลื่อนไหวและความสัมพันธ์ของประสาทกับกล้ามเนื้อให้เพิ่มมากขึ้น และทักษะจะพัฒนาให้ดีขึ้นด้วย
2. เด็กกลุ่ม U-10, U-12 กลุ่มนี้จะพัฒนาต่อเนื่องมาจากกลุ่มแรก ดังนั้นกิจกรรมที่ควรฝึกคือ ฝึกทักษะการรับ-ส่ง เดาะบอล โหม่ง เลี้ยง ยิงประตู ทั้งบนพื้นสนามและในอากาศที่ถูกต้อง และเน้นความแม่นยำ รวมถึงการเรียนรู้เกมการเล่นทั้ง รุก-รับ การเคลื่อนที่สนับสนุนเพื่อนร่วมทีม ด้วยการฝึกกลุ่มย่อยในสนามเล็ก (small sided games) แบบ 3:1, 4:2, 3:2, 5:3, 2:1, 1:1, 4:3, 3:3, 4:4, เป็นต้น และที่สำคัญด้านสมรรถภาพทางกายเน้นฝึก ปฏิกริยาตอบสนอง ความเร็วต้น ความคล่องแค่ลวว่องไว และความอ่อนตัว
3. เด็กกลุ่ม U-14, U-16 เป็นกลุ่มที่ต้องพัฒนาความเข้าใจเกมการเล่นให้สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานเกมการเล่น 11 คนต่อไป ดังนั้นควรฝึกกิจกรรม ทักษะการ รับ-ส่ง โหม่ง เลี้ยง ยิงประตูที่มีกิจกรรมการฝึกที่ท้าทายและมีรูปแบบที่ซับซ้อนเพิ่งขึ้น ด้านความเข้าใจเกม รุก-รับ นั้นสามารถฝึกแนวเดียวกับกลุ่มที่ผ่านมา ควรฝึกกลุ่มย่อยโดยเพิ่มการเคลื่อนที่สนับสนุนและช่วยเหลือสอดซ้อนแบบหมุนเวียนทดแทนตำแหน่งซึ่งกันและกัน และเพิ่มกิจกรรมการฝึก แบบ 5:5, 7:7, 9:9,และฝึกเล่นทีม 11:11 โดยเน้นยุทธวิธีการเล่นต่างๆเพิ่มขึ้นเช่น เกมรุก ฝึกการโจมตีจากด้านข้างสนาม การเจาะแนวรับตรงกลาง การโต้รุกสวนกลับอย่างรวดเร็ว การเตะจากมุม การเตะลูกกินเปล่า 2 จังหวะ และจังหวะเดียว ส่วนเกมรับ ฝึกการป้องกันแบบคุมพื้นที่ การป้องกันแบบประกบตัวต่อตัว การป้องกันแบบผสมทั้งคุมคนและคุมพื้นที่ การป้องกันลูกเตะจากมุม การตั้งกำแพงป้องกันการเตะลูกกินเปล่าต่างๆ ส่วนการสร้างสมรรถภาพทางกาย ช่วงนี้สามารถเสริมด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทน และเน้นความเร็วและอดทนอีกด้วย
4.กลุ่มเด็ก U-18 จะมีการฝึกเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่ผ่านมาแต่เน้นความเข้มข้นมากกว่าและมีรูปแบบการฝึกที่ซับซ้อนมากขึ้น ปรับเทคนิคการเล่นเฉพาะบุคคลและแทคติกการเล่นเฉพาะตำแหน่งให้เหมาะสมชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาเทคนิค แทคติก ยุทธวิธีและระบบการเล่นทั้งกลุ่มย่อยและทีมให้มีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้นรวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกติกาการแข่งขันเพื่อประโยชน์ในการเล่นได้อย่างถูกต้องและมีนำ้ใจนักกีฬาอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้ฝึกสอนไม่ควรทำ คือการนำแบบการฝึกที่ใช้ฝึกกับกลุ่มเด็กโตหรือแบบฝึกที่มีความซับซ้อนมาใช้ฝึกกับกลุ่มเด็กเล็กซึ่งอาจจะทำได้ไม่ดีหรือเป็นกิจกรรมที่ยาก ทำให้ไม่สามารถทำได้ดี การพัฒนาจะเกิดได้แต่ต้องใช้เวลามากกว่าปกติและเด็กอาจจะนำทักษะและเทคนิคการเล่นไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ภาพโดยรวมจึงดูเหมือนว่าเด็กนั้นเล่นได้ไม่ดีทั้งๆที่ได้รับการฝึกมามากแล้วก็ตาม
ข้อคิดสำหรับผู้ฝึกสอน คือต้องพิจารณาจัดกิจกรรมการฝึกแต่ละทักษะให้เหมาะสมกับแต่ละวัย แนวคิดในการจัดกิจกรรมการฝึกอย่างคราวๆ โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 4 กลุ่ม ดังนี้
1. เด็กกลุ่ม U-6, U-8 ซึ่งเป็นเด็กเล็กซึ่งเป็นวัยที่อยากทำกิจกรรมต่างๆอย่างที่เขาต้องการเพื่อความสนุกสนาน การฝึกควรใช้ทักษะพื้นฐานที่สามารถทำได้ง่าย เช่น ฝึกการบังคับบอลให้อยู่ในความครอบครอง แล้วพาบอลไปในทิศทางที่กำหนด การเตะบอลไปข้างหน้า การเล่นเกมกับบอลแบบอิสระโดยมีกฏกติกาง่ายๆ ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องตามทักษะ และควรปูพื้นทักษะเบื้องต้นที่ถูกต้องให้เด็กได้บ้างบางอย่างเช่นการ รับ-ส่ง และเลี้ยงบังคับบอลให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่กำหนด แต่เน้นที่ให้กระทำหลายๆครั้ง เพราะเด็กจะได้พัฒนากล้ามเนื้อขา ทักษะทางกลไกการเคลื่อนไหวและความสัมพันธ์ของประสาทกับกล้ามเนื้อให้เพิ่มมากขึ้น และทักษะจะพัฒนาให้ดีขึ้นด้วย
ภาพจาก sport.bluesombrero.com
ภาพจาก soccermommanual.com
3. เด็กกลุ่ม U-14, U-16 เป็นกลุ่มที่ต้องพัฒนาความเข้าใจเกมการเล่นให้สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานเกมการเล่น 11 คนต่อไป ดังนั้นควรฝึกกิจกรรม ทักษะการ รับ-ส่ง โหม่ง เลี้ยง ยิงประตูที่มีกิจกรรมการฝึกที่ท้าทายและมีรูปแบบที่ซับซ้อนเพิ่งขึ้น ด้านความเข้าใจเกม รุก-รับ นั้นสามารถฝึกแนวเดียวกับกลุ่มที่ผ่านมา ควรฝึกกลุ่มย่อยโดยเพิ่มการเคลื่อนที่สนับสนุนและช่วยเหลือสอดซ้อนแบบหมุนเวียนทดแทนตำแหน่งซึ่งกันและกัน และเพิ่มกิจกรรมการฝึก แบบ 5:5, 7:7, 9:9,และฝึกเล่นทีม 11:11 โดยเน้นยุทธวิธีการเล่นต่างๆเพิ่มขึ้นเช่น เกมรุก ฝึกการโจมตีจากด้านข้างสนาม การเจาะแนวรับตรงกลาง การโต้รุกสวนกลับอย่างรวดเร็ว การเตะจากมุม การเตะลูกกินเปล่า 2 จังหวะ และจังหวะเดียว ส่วนเกมรับ ฝึกการป้องกันแบบคุมพื้นที่ การป้องกันแบบประกบตัวต่อตัว การป้องกันแบบผสมทั้งคุมคนและคุมพื้นที่ การป้องกันลูกเตะจากมุม การตั้งกำแพงป้องกันการเตะลูกกินเปล่าต่างๆ ส่วนการสร้างสมรรถภาพทางกาย ช่วงนี้สามารถเสริมด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทน และเน้นความเร็วและอดทนอีกด้วย
ภาพจาก education-city.ru
4.กลุ่มเด็ก U-18 จะมีการฝึกเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่ผ่านมาแต่เน้นความเข้มข้นมากกว่าและมีรูปแบบการฝึกที่ซับซ้อนมากขึ้น ปรับเทคนิคการเล่นเฉพาะบุคคลและแทคติกการเล่นเฉพาะตำแหน่งให้เหมาะสมชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาเทคนิค แทคติก ยุทธวิธีและระบบการเล่นทั้งกลุ่มย่อยและทีมให้มีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้นรวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกติกาการแข่งขันเพื่อประโยชน์ในการเล่นได้อย่างถูกต้องและมีนำ้ใจนักกีฬาอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้ฝึกสอนไม่ควรทำ คือการนำแบบการฝึกที่ใช้ฝึกกับกลุ่มเด็กโตหรือแบบฝึกที่มีความซับซ้อนมาใช้ฝึกกับกลุ่มเด็กเล็กซึ่งอาจจะทำได้ไม่ดีหรือเป็นกิจกรรมที่ยาก ทำให้ไม่สามารถทำได้ดี การพัฒนาจะเกิดได้แต่ต้องใช้เวลามากกว่าปกติและเด็กอาจจะนำทักษะและเทคนิคการเล่นไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ภาพโดยรวมจึงดูเหมือนว่าเด็กนั้นเล่นได้ไม่ดีทั้งๆที่ได้รับการฝึกมามากแล้วก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น