วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



ปรับแทคติกเพียงนิด..เกือบพิชิตออสเตรยเรีย..!!

ภาพจาก www.footballdj.com

                           ผลการแข่งขันระหว่างทีมชาติไทยกับทีมออสเตรยเรีย ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกโซนเอเซีย ทีมไทยทำผลงานได้ดีทีเดียวสร้างความประทับใจให้กับแฟนบอลชาวไทย แม้ว่าผลการแข่งขันออกมาเสมอกันไป 2:2 ประตูก็ตาม
                                การแข่งขันในเกมนี้มีบางอย่างเป็นข้อคิดที่ดีให้กับผู้ที่สนใจในเกมฟุตบอล ซึ่งมีดังนี้
                                 1.ความประมาทของทีมออสเตรยเรีย โค้ชของทีมออสเตรยเรียน่าจะประเมินสภาพของทีมไทยผิดไป เพราะเห็นว่าผลการแข่งขันที่ผ่านมาทีมไทยยังไม่ชนะหรือเสมอทีมใดเลย มีร่างกายที่เสียเปรียบ และมีแทคติกการเล่นยังไม่โดดเด่น
                                       2.สภาพความพร้อมของนักฟุตบอลทีมไทยได้เปรียบ เนื่องจากเกมนี้ทีมไทยเป็นทีมเหย้า ทำให้มีความคุ้นเคยกับสภาพสนาม ภูมิอากาศและแรงกดดังจากกองเชียร์ และที่สำคัญอีก 2 ประการคือ

 ภาพจาก www.Kapook.com

                                   2.1.นักฟุตบอลของทีมออสเตรยเรียบางคนต้องไปทำการแข่งขันฟุตบอลลีกในยุโรปก่อนหน้าที่จะมาแข่งในเกมนี้ ทำให้ร่างกายอ่อนล้า
                                     2.2.ทีมไทยไม่มีรายการแข่งขัน   ได้เก็บตัวฝึกซ้อมเข้มประมาณ  19 วันที่เขาใหญ่ ทำให้สภาพร่างกายสด และพร้อมยิ่งขึ้น อีกทั้งได้ฝึกซ้อมในพื้นที่สูงกว่าในกรุงเทพฯด้วยแม้ว่าไม่ใช่พื้นที่สูงมากก็ตาม อย่างน้อยก็ได้สร้างเสริมด้านสมาธิและสภาพร่างกายให้ดีกว่าเดิม



 ภาพจาก www.Buaksib.com 

                                       3.กำลังใจจากแฟนบอลชาวไทย   แรงเชียร์ของแฟนบอลเจ้าบ้านจะกดดันทีมคู่แข่ง และเป็นแรงกระตุ้นให้นักฟุตบอลทีมไทยฮึกเหิม มุ่งมั่นตั้งใจเล่นเพื่อชัยชนะมากขึ้น

 ภาพจาก กีฬา-Mthai

                                        4.การปรับแก้ไขแทคติกการเล่น สต้าฟโค้ชปรับปรุงแผนการฝึกซ้อมปรับระบบทีม และแทคติกการเล่น จากข้อบกพร่องที่ผ่านๆมา เช่น
                                          4.1.ปรับเพิ่มผู้เล่นแนวรับให้มากขึ้น
                                         4.2.การเข้าประกบคู่ต่อสู้แบบประชิดทำได้เร็ว    และไล่แย่งบอลเร็วพร้อมสอดซ้อนช่วยอย่างสัมพันธ์กัน
                                          4.3.เปลี่ยนเกมรับเป็นเกมรุก โต้สวนกลับอย่างรวดเร็ว
                                          4.4.เน้นเล่นบอลกับพื้นเป็นหลัก ไม่ครองบอลนาน ส่งบอลเร็วขึ้น
                                          4.5.เปิดเกมรุกโดยการโจมตีทางด้านข้างหลังแบ็ค เพื่อขยาย
แนวรับบริเวณหน้าประตูให้กว้างมากขึ้น แล้วสลับการจู่โจมทะลุทะลวงตามช่องในแนวรับหน้าประตู
                         ซึ่งจะเห็นได้จากเกมการแข่งขัน ทีมไทยสามารถกดดันสร้างปัญหาให้กับ ผู้เล่นของทีมออสเตรยเรียได้มากทีเดียว สภาพผู้เล่นของออสเตรยเรียอิดโรยมากกว่าทีมไทย ทำไห้การเล่นมีความผิดพลาดบ่อยครั้ง เกมจึงออกมาสูสีสนุกสนานและทีมไทยสามารถทำเกมได้สวยๆหลายๆครั้ง ถูกใจแฟนบอลชาวไทย แม้ว่ายังไม่ชนะในแกมนี้แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการปรับแก้ได้ถูกทาง ซึ่งเป็นแทคติกที่เหมาะสมกับทีมไทยแล้ว และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักฟุตบอลทุกคน เพื่อให้มีความมั่นใจที่จะนำไปใช้สร้างผลงานที่ดีในรายการแข่งขันต่างๆและเกมอื่นๆต่อไป...ขอเป็นกำลังใจให้เสมอ..สู้สู้

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



ข้อคิด..พิชิตฝัน..!!!(ตอน 8)

ภาพจาก www.siamtownus.com

                                   องค์ประกอบบางอย่างอาจจะดูไกลตัวจากการฝึกซ้อมทีม แต่เป็นแรงสนับสนุนให้กระบวนการขับเคลื่อนในการพัฒนาทึมฟุตบอลให้ก้าวเดินไปสู่ความสำเร็จได้ ซึ่งถ้ามองไปที่การแข่งขันฟุตบอลสโมสรอาชีพจะเห็นได้อย่างค่อนข้างชัดเจนว่า ทีมจากสโมสรชั้นนำที่ทำผลงานดีในรายการแข่งขันต่างๆนั้น ส่วนใหญ่จะมีทุนในการทำทีมแต่ละปีสูงมาก  เช่นทีมบาร์เซโลน่า ทีมเรอัลมาดริด ทีมบาร์เยิร์นมิวนิค หรือทีมแมนยูไนเต็ด เป็นต้น ดังนั้นจะขอกล่าวถึงในที่นี้
                                  ด้านงบประมาณ โดยปกติการทำทีมฟุตบอลต้องใช้งบประมาณพอควรอยู่แล้ว ทีมทั่วไปที่ไม่ใช่ทีมอาชีพ ส่วนใหญ่จะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ อย่างเช่นค่าอุปกรณ์การฝึก ค่าชุดฝึกซ้อมและชุดแข่งขัน ค่าน้ำและเครื่องดื่ม ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยงนักกีฬาและสต้าฟโค้ช ค่าอาหารช่วงการเก็บตัว ค่าสถานที่พัก ฯ เป็นต้น เมื่อรวมค่าใช้จ่ายทุกรายการแล้วจะเป็นงบประมาณก้อนใหญ่เหมือนกัน แต่ปัญหาที่พบน่าจะมี 2 ประการใหญ่ๆคือ
                                    1.การหางบประมาณ โดยทั่วไปจะมีงบประมาณส่วนหนึ่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวของเพื่อใช้จ่ายในบางส่วน เช่นจากการกีฬาแห่งประเทศไทย กรมพลศึกษา สมาคมกีฬาจังหวัด องค์กรส่วนท้องถิ่น หน่วยงานต้นสังกัด ฯ ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอจึงต้องขอสนับสนุนจากหน่วยงานเอกชนไม่ว่าจะเป็นห้างร้าน บริษัท หรือผู้ใหญ่ใจดีมาช่วยอีกส่วนหนึ่ง ส่วนจะได้มากน้อยจะขึ้นอยู่กับความสามารถและบารมีของทีมบริหารและสต้าฟโค้ช   รวมถึงความสามารถและผลงานของทีมด้วย
ส่วนวิธีดำเนินการขอสนับสนุนคงจะต้องเป็นไปตามกระบวนการและวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละท้องถิ่น
                                    2.การใช้งบประมาณ ในการใช้จ่ายงบประมาณจะพบปัญหา 2 ส่วนดังนี้
                                       2.1.ใช้แบบไม่โปร่งใสไม่เหมาะสม ผู้มีอำนาจใช้งบผิดประเภทหรือไม่ควรใช้ในเรื่องที่ไม่จำเป็นจะทำให้งบไม่เพียงพอ การใช้จ่ายแบบเอาเปรียบหรือเบียดบังงบของนักกีฬาจะทำให้นักกีฬาในทีมเสียความรู้สึก เสียขวัญกำลังใจ ทำให้ไม่เต็มใจที่จะเล่น
                                     2.2.ใช้แบบมีเงื่อนไขพิเศษ   บางครั้งการใช้งบประมาณแบบมีเงื่อนไขเช่นการให้โบนัสพิเศษกับนักกีฬาเมื่อทีมมีผลงานดี คือเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้นักกีฬาทำผลงานให้ดีเพื่อจะได้ผลตอบแทนตามที่ตกลง แต่อาจจะเป็นดาบสองคม ที่เป็นเชิงลบถ้านักกีฬาขาดคุณธรรม ไม่เป็นมืออาชีพ คือจะใช้เงื่อนไขนี้เป็นข้อต่อรองในโอกาสต่อไป เมื่อทีมบริหารไม่สามารถจัดให้ได้ นักกีฬาก็จะไม่มุ่งมั่นเล่นให้อย่างเต็มที่ ซึ่งผลส่วนใหญ่จะออกมาไม่ดี จึงทำให้ทีมบริหารต้องเหนื่อยในการจักหางบประมาณรองรับถ้าต้องการให้มีผลงานที่ดี 

ภาพจาก SMMsport.com

                                    ด้านเครือข่ายการสนับสนุน ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีเครือข่ายความร่วมมือและสนับสนุนที่ดี ดังนั้นต้องประสานสัมพันธ์กับองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชนและส่วนบุคคล เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆทั้งด้านงบประมาณ สนามอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกขวัญกำลังใจต่างๆ เช่นประสานกับสมาคมกีฬาจังหวัดให้อำนวยความสะดวกด้านงบประมาณและการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เครือข่ายที่มีส่วนให้การสนับสนุนมีดังนี้
                                      1.องค์กรภาครัฐ ในส่วนที่เกี่ยวข้องเช่นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย กรมพลศึกษา สมาคมกีฬาจังหวัด ชมรมกีฬาฟุตบอลจังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาเป็นต้น
                                     2.องค์กรภาคเอกชน    หลายองค์กรมีความพร้อมให้การสนับสนุน แต่อาจจะขาดการประสานเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่นห้างร้านบริษัท สถานีโทรทัศน์ สายการบิน โรงงาน และผู้ใหญ่ใจดี เป็นต้น
                                  3.แฟนคลับ   เป็นกลุ่มบุคคลที่ร่วมด้วยช่วยกันเชียร์    ให้กำลังใจ ซึ่งมีตั้งแต่ครอบครัว ญาติพี่น้อง พรรคพวกเพื่อนฝูง บุคคลในชุมชนและประชาชนทั่วไปเป็นต้น
                                    การสนับสนุนนี้จะเป็นพลังแฝงในการเสริมแรงและผลักดันให้การทำงานด้านการพัฒนาทีมฟุตบอลเป็นไปได้อย่างดี มีประสิทธฺภาพยิ่งขึ้น










วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



ข้อคิด..พิชิตฝัน..!!!(ตอน 7)

ภาพจาก ข่าวเด่น

                               ตอนนี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบด้านอื่นที่เป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาฟุตบอลเช่นกัน ซึ่งเราไม่ควรมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป เราลองมาดูซิว่าสิ่งเหล่านี้จะมีส่วนช่วยการพัฒนาได้อย่างไรบ้าง
                      3.ด้านสนามและอุปกรณ์ ทั้ง 2 สิ่งนี้มีความจำเป็นเช่นกัน เพราะจะเป็นส่วนสับสนุนให้ทั้งโค้ชและนักฟุตบอลได้ใช้ในการฝึกซ้อม
                            3.1.สนาม ถ้าพอมีความสามารถหาสนามได้ควรจัดเตรียมไว้   เพื่อการฝึกซ้อมดังนี้

ภาพจาก Upyim

                                3.1.1.สนามขนาดมาตรฐาน เพื่อใช้ในการฝึกการเล่นทีม
                                3.1.2.สนามขนาดกลาง เพื่อใช้ฝึกซ้อมเกมย่อยและกิจกรรมเสริมร่างกาย


 ภาพจาก Phuketindex.com
                                3.1.3.สนามที่อยู่ในร่ม เพื่อใช้ฝึกซ้อมเมื่อฝนตก หรือสนามเปียกมาก
                            3.1.4.สถานที่ใช้ฝึกอุปกรณ์บริหารกายและน้ำหนัก      เช่นห้องฝึกด้วยน้ำหนัก พื้นที่ลาดเอียง อัฒจันทร์ เป็นต้น
                              3.2.อุปกรณ์ฝึก สิ่งต่างๆที่จำเป็นในการสร้างทักษะ และสมรรถภาพร่างกาย

ภาพจาก alibaba.com

                                3.2.1.ลูกฟุตบอล ควรใช้แบบและรุ่นเดียวกับที่จะใช้แข่งขัน เพื่อความคุ้นเคย
                                3.2.2.เสื้อเอี้ยม 2 ชุด 2 สี เพื่อใช้แบ่งแยกผู้เล่นในการฝึกซ้อม

 ภาพจาก Alibaba.com

                            3.2.3.อุปกรณ์ฝึกซ้อมและสร้างเสริมสมรรถภาพร่างกาย    เช่นกำแพง  ตุ๊กตาป้องกัน บล็อคกระโดด  เชือกกระโดด ลูกน้ำหนัก เครื่องมือบริหารกาย อุปกรณ์ฝึกฟุตเวอร์ค/ความเร็วของเท้า กรวยและมาร์คเกอร์ เป็นต้น 
                      4.ด้านการประลองและแข่งขัน องค์ประกอบนี้เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะเป็นการประเมินผลการฝึกซ้อมทั้งระบบไม่ว่าจะเป็นด้านกระบวนการฝึกหรือการพัฒนาขีดความสามารถของนักฟุตบอลแต่ละคน และระบบทีมอีกด้วย

 ภาพจาก i1os.com

                            4.1.การประลอง เป็นการฝึกซ้อมตามแผนที่โค้ชกำหนดไว้ เช่นต้องการให้เล่นแบบไหนหรือต้องการที่จะซ้อมกับคู่ต่อสู้ที่มีแบบการเล่นตามที่โค้ชกำหนดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อีกทั้งเป็นการทดสอบผู้เล่นแต่ละคน แต่ละตำแหน่งและทีมทั้งระบบว่ามีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอย่างไร เพื่อจะได้นำมาปรับแก้ไขต่อไป
                             4.2.การแข่งขัน ในที่นี้หมายถึงการเข้าร่วมแข่งขันในรายการเฉพาะกิจ (ไม่ใช่การแข่งขันในรายการที่เป็นเป้าหมายหลักที่ถูกกำหนดไว้) เพื่อเป็นการประเมินทีมทั้งระบบที่เข้มกว่าการประลองทีม เพราะเป็นเกมการแข่งขันจริงซึ่งต้องประเมินเพิ่มอีกหลายๆด้าน เช่น ด้านสมรรถภาพร่างกาย ทีมเวอร์ค ทีมแทคติก และทีสำคัญในด้านการมีสมาธิในการเล่น ความมุ่งมั่นตั้งใจ การมีจิตใจที่กล้าหาญเข้มแข็งไม่ยอมแพ้แบบง่ายๆ การควบคุมอารมณ์ และมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ซึ่งโค้ชจะได้รับทราบข้อมูลทั้งหมดเพื่อนำไปใช้พิจารณาตัดสินใจเลือกนักกีฬาเพื่อลงแข่งขันในแต่ละเกม ได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
                                


วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



ข้อคิด..พิชิตฝัน..!!!(ตอน 6 )

ภาพจาก OKNation

                           จากที่ได้กล่าวถึงข้อคิดในการพัฒนาฟุตบอลทั้ง ด้านนักฟุตบอล และด้านผู้ฝึกสอนไปแล้ว ตอนนี้จะขอกล่าวถึงในส่วนที่อยู่เบื้องหลังแต่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันดังนี้
                               ด้านการบริหารทีมและทีมงานสนับสนุน ในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับผู้บริหารโดยตรง ซึ่งเป็นภาระที่หนักมากเพราะต้องให้การดูแลการบริหารจักการทีมในทุกๆเรื่อง ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทีมฟุตบอลเท่านั้น
                             1.ด้าบุคลากร ปกติในสโมสรฟุตบอลจะจัดทีมงานเพื่อทำทีมฟุตบอลโดยแบ่งตามบทบาทหน้าที่ดังนี้
                               1.1.ด้านบริหารจัดการทีม   มีหน้าที่วางแผน  ดำเนินการจัดการให้การสนับสนุนการทำงานของบุคลากรด้านเทคนิคกีฬา บริหารงานและสนับสนุนการทำงานด้านอื่นๆประกอบด้วย
                                        1.1.1.ผู้จัดการทีม
                                        1.1.2.ผู้ช่วยผู้จัดการทีมฝ่ายบริหารจัดการทั่วไป
                                        1.1.3.ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายเทคนิคกีฬา
                                        1.1.4.เจ้าหน้าที่ฝ่ายฐานข้อมูลและเลขานุการทีม
                                        1.1.5.เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและงบประมาณ
                                        1.1.6.เจ้าหน้าที่ฝ่ายยานพาหนะ
                                        1.1.7.เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์
                        1.2.ด้านเทคนิคกีฬา มีหน้าที่วางแผนเตรียมทีมฟุตบอล พัฒนาทีมให้มีความสมบูรณ์พร้อมเข้าร่วมแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
                                        1.2.1.หัวหน้าผู้ฝึกสอน
                                        1.2.2.โค้ชผู้รัษาประตู
                                        1.2.3.โค้ชผู้เล่นกองหลัง กองกลาง กองหน้า
                                        1.2.4.โค้ชด้านสมรรถภาพทางกาย
                                        1.2.5.เจ้าหน้าที่ฝ่ายหาดาวรุ่ง
                                        1.2.6.เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนาม/อุปกรณ์
                                        1.2.7.ทีมงานฝ่ายแพทย์/พยาบาล
                          การบริหารจัดการทีมฟุตบอลให้ดีนั้นจำเป็นต้องใช้บุคลากรหลายคน แต่ในบ้านเราถ้าไม่ใช่เป็นทีมสโมสร ส่วนใหญ่จัดให้มีบุคลากรทำหน้าที่เพียง 3-5 คนต่อทีมเท่านั้นโดยอ้างขีดจำกัดด้านงบประมาณ อย่างไรก็ตามหากมีขีดจำกัดดังกล่าว ก็ควรจัดจำนวนบุคลากรให้เหมาะสมแต่บุคลากรจะต้องเข้าใจงานและทำหน้าที่แบบบูรณาการให้ครบทุกด้าน
                           2.ด้านนักกีฬา  การจัดการเพื่อให้ได้ตัวนักฟุตบอลที่ดีเข้ามาในทีมได้นั้นมีดังนี้
                             2.1.จากทีมงานหาดาวรุ่ง ทีมงานนี้จะเป็นแมวมองที่ออกไปเสาะหา นักกีฬาที่
มีแวว มีทักษะ มีแนวโน้มที่จะสามารถเล่นได้ดี และมีคุณลักษณะเหมาะสมตามที่โค้ชต้องการ จากการแข่งขันในรายการต่างๆ
                             2.2.จากการคัดเลือก เป็นโครงการของทีมที่จะรับสมัครนักกีฬา เพื่อเข้ามาร่วมคัดเลือกตัวเป็นนักฟุตบอลของทีม โดยสต้าฟโค้ชมาร่วมกันพิจารณาคัดเลือกคนที่มีความสามารถดีที่สุดของแต่ละตำแหน่ง หรือคนที่เล่นดีในหลายตำแหน่งเอาไว้ในทีม
                            2.3.จากสร้างขึ้นเอง เป็นการคัดกรองจากศูนย์ฝึกของทีม  ที่ฝึกกลุ่มเยาวชนไว้แล้วเลือกเยาวชนคนเด่นมาพัฒนาเพิ่ม เพื่อส่งเสริมเข้ามาสู่ชุดใหญ่ต่อไป
                           การสร้างทีมควรทำเป็น 2 ทีม โดยแบ่งเป็นทีมชุดจริง และทีมชุดสำรอง เพราะมีข้อดีดังนี้
                             1.มีจำนวนผู้เล่นเพียงพอในการฝึกซ้อมทีม  และสามารถกำหนดรูปแบบในการเล่นอย่างที่ต้องการไว้ ให้ได้ฝึกซ้อมทดสอบก่อนไปเจอในการแข่งขันจริง
                               2.นักฟุตบอลชุดสำรองจะพยายามแสดงความสามารถออกมาให้เด่น  เป็นการกระตุ้นให้นักกีฬาในชุดจริงมีกระตือรือร้น ไม่ปล่อยตัวจนฟอร์มตก
                                3.โค้ชจะได้ทดสอบและประเมินความสามารถของนักกีฬาทั้ง 2 ชุดว่าคนไหนมีความสามารถดีจริง จะได้สินใจไม่ผิดในการคัดเลือกไปใช้งานได้อย่างเหมาะสมต่อไป
                          ปัญหาที่มักจะพบในทีมเกี่ยวกับตัวนักกีฬาคือทีมมีนักกีฬาบางคนที่มีความสามารถไม่ดีพอ แต่ได้รับความไว้วางใจ ซึ่งจะเกิดมาจากสาเหตุหลักดังนี้
                                1.โค้ชกับนักกีฬาบางคนมีความสนิดสนม หรืออาจจะมีเหตุบางอย่างทำให้โค้ชพอหรือเกรงใจเป็นพิเศษ จึงเลือกไว้ในทีมและจัดให้ลงเล่นเสมอๆ
                                   2.ผู้บริหารจัดการทีมพอใจนักกีฬาบางคนเป็นพิเศษ  ต้องการที่จะให้ลงเล่น จึงสั่งให้โค้ชดำเนินการตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นการก้าวก่ายการทำงานของโค้ช ถ้าผลการแข่งขันออกมาไม่ดี จะไม่ทราบได้ว่าเป็นความผิดพลาดในการทำหน้าที่ของโค้ชหรือไม่
                            ถ้าทีมใดมีการบริหารจัดการเกี่ยวกับตัวนักฟุตบอลในทีมลักษณะเช่นนี้ ที่มักจะได้ยินเขาพูดว่าคนนั้นเป็นเด็กของโค้ชหรือเด็กเส้นของทีมทำนองนั้น ผลงานของทีมจะประสบผลสำเร็จได้น้อยมาก.....
 








วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559




ข้อคิด..พิชิตฝัน..(ตอน5)

ภาพจาก กึฬา-Mthai

                             ด้านผู้ฝึกสอน(โค้ช)  หลายคนคิดและเชื่อมั่นในตัวเองว่าสามารถเป็นโค้ชฟุตบอลได้ เพราะมีประสบการณ์ด้านฟุตบอลมามาก เช่นเคยเป็นนักฟุตบอลของสโมสรหรือระดับทีมชาติ เคยศึกษาหาความรู้ ฟังการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บรรยายเกมการแข่งขันฟุตบอลมามาก

ภาพจาก Daily Mail

 หรือแม้แต่เคยผ่านการอบรมการเป็นโค้ช Licence ระดับต่างๆมาแล้วก็ตาม เมื่อทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนแล้วใช่ว่าจะประสบผลสำเร็จในการทำงานทุกคน มิเช่นนั้นแล้วโค้ชที่เรียนจบระดับ Pro Liceence มาแล้วทุกคนเมื่อรับงานทำทีม ผลงานน่าจะต้องออกมาดีได้แชมป์หรือไม่ก็ต้องอยู่ในระดับหัวตารางในลีกไม่เกินอันดับที 4 เป็นต้น ซึ่งมีเพียงโค้ชหน้าเดิมๆที่ทำผลงานดีจริงๆเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

ภาพจาก Scoopnest.com
   แต่มีโค้ชบางคนที่ผ่านการอบรมโค้ชมาและมีความสามารถเป็นนักฟตบอลระดับชาติเข้ามาทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนแล้วสร้างความสำเร็จออกมาได้ดีก็มี

ภาพจาก Kapook.com

    ในประเทศไทยมีโค้ชบางท่านที่มีคุณสมบัติแบบ Hybrid เป็นการผสมผสานระหว่างโค้ชกับครูพลศึกษาในคนเดียวกัน ซึ่งโค้ชแบบนี้ได้สร้างผลงานไว้ทั้งในระดับสโมสรและระดับชาติมากแล้วเช่นกันอย่างเช่น อาจารย์ประวิทย์ ไชยสาม อาจารย์อาจหาญ ทรงงามทรัพย์และอาจารย์ชาญวิทย์  ผลชีวินเป็นต้น ซึ่งโค้ชเหล่านี้จะมีความละเอียดอ่อนมีเทคนิคการสอนที่ดี สามารถฝึก สอน และแก้ไขข้อบกพร่องให้นักกีฬาได้อย่างเหมาะสม ใส่ใจดูแลการพัฒนาการและความประพฤติของนักกึฬาอีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่านักกีฬาที่ได้ผ่านการฟูกฝักจากโค้ชที่มีลักษณะแบบนี้มา จะให้ความเคารพนับถือและเกรงใจโค้ชเหล่านี้มากทีเดียว ดังนั้นโค้ชกลุ่มนี้ควรจะได้ดูแลนักฟุตบอลระดับเยาวชนตั้งแต่ชุด 14 ปีขึ้นไปถึงชุด 23 ปีน่าจะเป็นผลดีมากที่สุด

ภาพจาก OKNtion

     อย่างไรก็ตามโค้ชที่มีความสามารถดีจะต้องมีบางอย่างพิเศษกว่าคนอื่นๆ ต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพทั้งทางด้านความรู้ มีเทคนิคการฝึก มีความสามารถในการแก้เกมแล้วก็ตาม แต่ยังมีข้อคิดบางอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับโค้ชดังนี้
                        1.ต้องไฝ่รู้ โค้ชต้องสนใจไข่วคว้าหาความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับเทคนิคและวิวัฒนาการการฝึกและการเล่นฟุตบอลแบบใหม่ๆเสมอๆ
                       2.คิดสร้างสรรค์  โค้ชต้องมีความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับแบบฝึก    รูปแบบวิธีการฝึก รูปแบบแทคติกการเล่นต่างๆที่เหมาะสมกับทีม สร้างเสริมความสัมพันธ์ในการเลนของผู้เล่นในทีม และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
                      3.คิดต่างอย่างมีระบบ  โค้ชต้องกล้าที่จะปรับกระบวนการทั้งด้านความคิด แบบฝึก  เทคนิดและแทคติก ยุทธวิธีการเล่นให้แตกต่างออกไปบ้าง ตามความเหมาะสมภายใต้ความเป็นไปได้จริง โดยการประยุกต์ความรู้และวิวัฒนาการณ์ใหม่ๆที่ศึกษานั้นมาใช้ แม้ว่าเป็นสิ่งที่ดีมีผลสำเร็จมาแล้วก็ตาม คนอื่นก็รู้เช่นกัน ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้กำลังจะถูกโค้ชคนอื่นๆหาวิธีการเอาชนะอยู่แล้ว แต่ถ้าเรายึดตามแนวนั้นมาใช้ อาจจะไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดเพราะเรากำลังตามหลังเทคนิคนั้นไม่น้อยกว่า 4 ปีเพราะเราเลียนแบบที่เข้าเคยสำเร็จแล้วมาใช้ วิธีการเล่นของทีมเราอาจจะไม่ได้เปรียบคู่ต่อสู้เช่นกัน
                      4.ต้องคาดการณ์ อ่านเกมได้ดี  โค้ชต้องมีสัญชาตญาณพิเศษ    สามารถเดาใจคู่ต่อสู้ได้ คาดการณ์ว่าคู่ต่อสู้มองทีมเราเป็นอย่างไรมีจุดอ่อนตรงไหน แล้วจะโจมตีทีมเราอย่างไร ดังนั้นเราควรจะเตรียมการป้องกันไว้อย่างไร และเราจะโต้คืนอย่างไร แล้วจึงดำเนินการวางแผนการเล่นแบบแผนที่ 1 แผนที่ 2 หรือแผนที่ 3 เพื่อให้ลูกทีมเล่นต่อไป




ไฝ่รู้/คิดสร้างสรรค์/เห็นต่าง

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



ข้อคิด..พิชิตฝัน...!!!(ตอน4)

ภาพจาก Sansiri
  
                        แนวคิดจากตอนที่ผ่านมาได้กล่าวถึงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวของนักฟุตบอล ว่ามีส่วนใดบ้างที่ต้องพัฒนา และจำเป็นต้องสัมพันธ์กับด้านอื่นด้วย ดังนั้นจะขอกล่าวในด้านอื่นต่อไป
                            ด้านสต้าฟผู้ฝึกสอน โดยปกติผู้ฝึกสอนต้องมีความรู้ มีเทคนิคการฝึกและมีประสบการณ์ในการแก้เกมฯ มิใช่ต้องการเป็นผู้ฝึกสอนเพราะความอยากจะเป็น เลยหาวิธีการต่างๆเพื่อเข้ามาร่วม ทั้งๆที่มีความสามารถไม่เพียงพอ ผู้ฝึกสอนที่ดีต้องบริหารการจัดการฝึกซ้อมและจัดการทีมให้มีศักยภาพสูงที่สุด และสามารถเล่นในเกมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
                          ดังนั้นการบริหารจัดการควรมีดังนี้
                          1.วิเคราะห์สภาพนักกีฬา ทีมและสถานะการณ์ในปัจุบันว่าเป็นอย่างไรและคาดการณ์ว่าอนาคตจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรบ้าง
                                2.วางแผนเตรียมการคัดเลือกนักฟุตบอล ที่มีความสามารถดี มีความเหมาะสมกับแนวคิดและสไตล์การเล่นของทีมตามที่กำหนดไว้
                                3.วางแผนเตรียมรูปแบบการเล่น และระบบการเล่น เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาศักยภาพของทีมให้สูงขึ้น
                                4.บริหารกระบวนการฝึกซ้อมอย่างเป็นระบบ โดยสร้างแบบฝึกให้สอดคล้องกับแบบการเล่นที่ต้องการ  เน้นฝึกเข้มข้นเหมือนสถานะการณ์จริงให้มากที่สุด
                           5.ประเมินผลการฝึก  และประลองทีมเพื่อหาข้อบกพร่อง  แล้วปรับปรุงแก้ไขพัฒนาทีมในจุดอ่อนและจุดแข็งต่างๆภายในทีม

ภาพจาก www.Tip for all-Howwes.com

                               แนวาทาวการแก้ไข
                              1.ปรับทัศนคติ ต้องใจกว้างไม่เห็นแก่ตัวคิดเข้าข้างตนเองว่าเรามีความสามารถดีกว่าผู้อื่น
                              2.ประเมินขีดความสามารถของตนเองจากผลงานที่ทำ และไม่นำองค์ประกอบภายนอกต่างๆมาใช้แก้ตัวหรือเป็นข้ออ้างเมื่อผลงานออกมาไม่ดี
                               3.เปิดใจรับฟังคำติชม  ข้อคิดเห็นต่างๆที่ได้ยินมา แล้วนำมาพิจารณาทบทวนและเลือกสิ่งที่ดีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
                                4.ศึกษาหาความรู้ ด้านเทคนิคและวิธีการฝึกที่เหมาะสมมาใช้
                                5.ศึกษาวิวัฒนาการของเกมการเล่น  และวิเคราะห์แนวโน้มของเกมการเล่นในอนาคตว่าจะไปในทิศทางใ่ด
                           6.ประเมินการบริหารจัดการการฝึกซ้อม  และผลงานการเล่นของทีม สามารถพัฒนาตามแผนที่กำหนดหรือไม่

ภาพจาก กรุงเทพธุรกิจ

                                แนวทางการฝึก 
                              1.ศึกษาเทคนิค วิธีการฝึกซ้อมและเกมการเล่น จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
                              2.พิจารณาเลือกเทคนิคและวิธีการฝึกที่เหมาะสมมาใช้
                       3.ประยุกต์หรือบูรณาการณ์   เทคนิคและวิธีการฝึกมาใช้ให้เหมาะสมตามแบบที่กำหนด
                           4.สร้างแบบฝึกเฉพาะตามสถานะการณ์ที่ต้องการ   ที่กำหนดเป้าหมาย   เพื่อการแก้ไขหรือการพัฒนาตามแผนการฝึกที่กำหนดให้ชัดเจน
                              5.ดำเนินการฝึกซ้อมซ้ำๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์
                              6.ดำเนินการฝึกเข้มให้คล้ายสถานะการณ์จริงซ้ำๆ เพื่อสร้างความมั่นใจ
                              7.ประเมินผลการฝึกซ้อม แล้วนำมาทบทวนเพื่อปรับการฝึกให้เหมาะสมต่อไป
                               
 

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



ข้อคิด..พิชิตฝัน...!!! (ตอน3 )

ภาพจาก 1080.Plus

                              ข้อคิดด้านอื่นที่น่าสนใจ    ในตอนนี้จะเกี่ยวกับการเล่นกันเป็นระบบเพราะเมื่อเวลาผ่านไป นักฟุตบอลแต่ละคนจะพัฒนาทักษะความสามารถและมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น ดังนั้นการเล่นในเกมที่จะพยายามผ่านหรือเอาชนะคู่ต่อสู้จะไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการเล่นที่สร้างความได้เปรียบในเกมดังต่อไปนี้
                           ด้านทีมเวอร์ค ถึงแม้ว่านักฟุตบอลบางคนจะมีทักษะความสามารถและเทคนิคการเล่นที่ดีแล้วก็ตาม แต่ในเกมแข่งขันจริงนั้นจำเป็นต้องเล่นอย่างรอบคอบ เพราะเล่นด้วยความมั่นใจในความสามรถของตนเองมากเกินไป หรือใช้วิธีการเล่นที่ไม่เหมาะกับสถานะการณ์แล้วอาจจะพลาดสูญเสียการครอบครองบอลไป คู่ต่อสู้จะโจมตีโต้กลับมาซึ่งอาจจะส่งผลให้พ่ายแพ้ได้ ดังนั้นแนวคิดที่ดีคือต้องพิจารณาจากสถานะการณ์นั้นว่าควรเล่นอย่างไรจึงได้เปรียบ และมีวิธีการอื่นๆที่ทำให้เล่นแล้วเกิดความได้เปรียบมากกว่าหรือไม่ เช่นผู้เล่นกองหน้าที่มีความสามารถดี สามารถพาบอลหลบผ่านผู้เล่นฝ่ายรับเพื่อจะพาบอลเข้าไปยิงประตู แต่อาจจะเข้าทำประตูได้ยากเพราะคู่ต่อสู้คงไม่ยอมเสียประตูง่ายๆจะไล่ติดตามและพยายามสกัด จึงทำให้มีโอกาสในการทำประตูได้ไม่ขัดเจน ถ้าผู้เล่นนั้นหาตัวช่วยโดยใช้วิธีการเล่นกับเพื่อนร่วมทีมจะสร้างโอกาสการเล่นที่ดีกว่าได้ ซึ่งอาจจะส่งบอลแบบทำชิ่ง 1-2 กับเพื่อนร่วมทีม ให้บอลทะลุผ่านคู่ต่อสู้แล้ววิ่งไปรับบอลต่อเพื่อพาบอลเข้าไปทำประตูแบบที่คู่ต่อสู้ตามมาป้องกันไม่ทัน ส่วนในเกมการแข่งขันอีกหลายๆสถานะการณ์อาจจะต้องใช้ผู้เล่นเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น 3-5 คน ที่ต้องมาเล่นร่วมกัน โดยจะมีการวิ่งเคลื่อนที่หาที่ว่าง วิ่งหลอกเพื่อเปิดพื้นที่ หรือวิ่งมารับบอล ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่สลับตำแหน่งกันทำให้คู่ต่อสู้เกิดความสับสน ขาดความสมดุลย์ ทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันจะลดลง
                            แนวทางการแก้ไข 
                              1.ปรับทัศนคติให้มีมุมมองตามแบบมาตรฐานสากล
                              2.เรียนรู้เทคนิควิธีการเล่นแบบต่างๆ
                              3.ฝึกซ้อมตามแบบฝึกในสถานะการณ์ต่างๆที่กำหนด
                            แนวทางการฝึก
                              1.ศึกษาและทำความเข้าใจรูปแบบและวัตถุประสงค์ของแบบฝึก
                              2.ฝึกปฏิบัติตามรูปแบบและวิธีการให้ถูกต้อง
                              3.ฝึกเข้มตามรูปแบบให้เหมือนสถานะการณ์จริง
                             4.ฝึกตามรูปแบบนั้นซ้ำๆ  เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมทีมและให้เกิดความชำนาญต่อไป


ข้อคิด..เพื่อพิชิตฝัน..!!!(ตอน 2 )

ภาพจาก TlcThai.com

                         ข้อคิดสำหรับนักฟุตบอลที่ต้องการ ปรับแก้ไขข้อบกพร่องหรือพัฒนาจุดแข็งเพื่อให้เป็นจุดเด่นที่ช่วยให้การเล่นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ต่อจากตอนที่แล้ว) ดังนั้นจะขอกล่าวด้านอื่นๆที่น่าสนใจดังนี้
                           ด้านเทคนิคการเล่น นักฟุตบอลบางคนต้องปรับเปลี่ยนตั้งแต่ทัศนคติ ที่มีความมั่นใจในตังเองมากเกินไป และคิดว่าการเล่นในแบบที่ตนเองจะอยากทำและทำอย่างที่คิดเพื่อโชว์ความสามารถมากกว่า โดยไม่ได้คำนึงถึงสถานะการณ์เกมเลย ซึ่งบางครั้งเทคนิคการเล่นนั้นบังเอิญสอดคล้องกับสถานะการณ์ของเกมขณะนั้นพอดี การเล่นนั้นจึงทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการเล่นที่ดี ในทางกลับกันถ้าการเล่นนั้นไม่เหมาะกับสถานะการณ์ จะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ซึ่งนักฟุตบอลหลายๆคนที่มีทักษะดีแต่ตัดสินใจเลือกเทคนิคการเล่นที่ไม่เหมาะกับสถานะการณ์จะเล่นได้ไม่โดดเด่น และมักจะเล่นผิดพลาดเสมอๆ
                             แนวทางการแก้ไข 
                           1.เปลี่ยนทัศนคติ โดยให้มีความคิดใหม่ว่า   ต้องเล่นด้วยเทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมกับสถานะการณ์ในขณะนั้น เพื่อสร้างความได้เปรียบให้มากที่สุด ไม่ใช่เล่นเพื่อโชว์ความสามารถของตนเองเป็นหลัก 
                             2.ต้องเรียนรู้วิธีการเล่น    โดยการทำความเข้าใจว่าสถานะการณ์ใด  ควรเล่นด้วยวิธีการแบบไหน ที่มีความเหมาะสมและได้เปรียบที่สุด 
                            แนวทางการฝึก ผู้ฝึกสอนต้องจัดรูปแบบการฝึกตามสถานะการณ์ต่างๆ เพื่อให้ความรู้และเข้าใจ นักฟุตบอลจะได้ฝึกวิธีการเล่นที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีประสบการณ์ แล้วจึงฝึกเข้มให้เหมือนกับสภาพความเป็นจริงเพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดความชำนาญ ซึ่งจะช่วยให้มีขีดความสามารถเพิ่มมากยิ่งขึ้น ความผิดพลาดในการเล่นจะลดลง แต่จะสร้างความได้เปรียบในเกมการเล่นได้มากขึ้น
 

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



ข้อคิด..เพื่อพิชิดฝัน..!!! (ตอน 1 )


ภาพจาก www.90min.com
 

                             คนส่วนใหญ่มีความต้องการเห็น ภาพนักฟุตบอลในทีมที่ตนรักแสดงอาการดีใจในเกมการแข่งขันทุกๆเกม เพราะนั่นเป็นภาพที่แสดงถึงทีมทำผลงานดี สามารถทำประตูได้หรือทีมได้รับชัยชนะ แต่ผลงานที่เกิดขึ้นมาได้นั้นไม่ใช่ได้มาแบบง่ายๆหรือโชคช่วย..แต่จะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากความสามารถของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นตัวนักกีฬา ทีมเวอร์ค สต้าฟผู้ฝึกสอน ทีมงานบริหารจัดการทีมและทีมสนับสนุน ที่มีการเตรียมการเตรียมความพร้อมได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นช่องทางที่จะเดินตามความฝันเพื่อก้าวไปให้ถึงเป้าหมายของความฝันนั้นได้
                           ประการแรก เราต้องเปิดหูเปิดตาเปิดใจให้กว้างที่จะ คอยรับฟังเฝ้ามองอย่างพินิจพิเคราะห์ว่ายังมีส่วนใดบ้างที่ยังเป็นจุดอ่อนที่ต้องรีบแก้ไข หรือมีจุดใดที่ต้องพัฒนา
                          ประการที่สอง  ต้องวางแผน กำหนดวิธีการและลงมือดำเนินการ เพื่อให้บรรลุผลตามที่หวังไว้
                   ดังนั้เราต้องทบทวนสถานะภาพของนักฟุตบอล ทีมเวอร์ค สต้าฟผู้ฝึกสอน ทีมงานบริหารและสนับสนุนว่ามีขีดความสามารถเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับระดับมาตรฐานสากลในปัจจุบันอย่างเช่น
                           
ภาพจาก ไฮไลท์ฟุตบอล

                          ด้านทักษะของนักฟุตบอล  ส่วนใหญ่พวกเรามักจะชื่นชมว่านักฟุตบอลที่เข้ามาเป็นตัวแทนทีมชาติได้ต้องมีทักษะการเล่นบอล ทั้งการจับ รับ ส่ง โหม่ง เลี้ยงและยิงประตูดีอยู่แล้ว ซึ่งบางคนถึงขั้นยกย่องว่ามีทักษะการเล่นบอลสุดยอดเลยทีเดียว ความคิดเห็นดังกล่าวนี้ไม่ได้เป็นความคิดที่ผิด เพราะนักฟุตบอลระดับชาติมีทักษะดีกว่านักฟุตบอลที่เป็นคนไทยอื่นๆจริง แต่การยกย่องที่กล่าวว่านักฟุตบอลคนนี้มีทักษะและฝีเท้าระดับเทพหรือระดับซุเปอร์สตาร์นั้น อาจจะเป็นผลเสียสำหรับนักฟุตบอลบางคนที่เกิดมีความมั่นใจในตัวเองสูงเกินไป จนทำให้เชื่อว่าตนเองนั้นมีดีเหนือคนอื่น เลยไม่มุ่งมั่นพัฒนาทักษะความสามารถของตนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก จะมารู้สึกตัวอีกทีว่าสิ่งที่เรามีดีอยู่นั้นมันยังดีไม่พอเมื่อไปเล่นในเกมระดับนานาชาติ ซึ่งก็อาจจะสายไปแล้วเพราะผลของการแข่งขันไม่ได้เป็นอย่างที่คิดไว้ พวกเราจะเกิดความเสียดายเพราะเรามีโอกาสแต่ไม่สามารถหยิบเอามาครอบครองได้

ภาพจาก เดลินิวส์

                       แนวทางการแก้ไข ส่วนแรกคือตัวนักฟุตบอลเอง ต้องนึกเสมอว่าเราต้องพัฒนาขีดความสามารถของเราให้สูงขึ้นหรือดีเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพราะขณะนี้เราอาจจะเก่งหรือมีความสามรถดีกว่านักฟุตบอลที่อยู่ในกลุ่มนี้แต่อาจจะยังต่ำชั้นกว่าเมื่อไปเทียบกับกลุ่มอื่นๆอีก เหมือนกับเมื่อเราต้องต่อสู้กับนักฟุตบอลต่างชาติ ซึ่งเรามักจะมีความผิดพลาดในการเล่นมากกว่า  ส่วนที่สองคือบุคคลอื่นๆควรชื่นชมในระดับพอเหมาะพอควร และควรสนับสนุนส่งเสริมให้คำแนะนำที่ดีกับนักฟุตบางคนที่มีความคิดที่เชื่อมั่นในตัวเองสูงเกินไป หรือคงสภาพความสามารถย่ำอยู่กับที่ ให้ปรับทัศนคติให้ถูกต้อง เพื่อกลับมาพัฒนาตัวเองอย่างถูกทางและถูกเวลาต่อไป ซึ่งเมื่อเราได้เห็นเกมการเล่นแล้วจะได้ไม่ขับข้องใจว่านักฟุตบอลเหล่านี้ที่เราเชื่อว่ามีทักษะในการเล่นดีนั้น สามารถต่อสู้กับผู้เล่นได้ทุกระดับ มีการเล่นผิดพลาดในเกมน้อยมากๆ
                      แนวทางการฝึก ต้องหมั่นฝึกซ้อมทบทวนทักษะต่างๆอย่างสม่ำเสมอ และต้องฝึกอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดความชำนาญ ซึ่งควรเน้นการฝึกเข้มแบบมีเงื่อนไขดังนี้
                   1.ฝึกเน้นความเร็ว  ฝึกทักษะต่างๆให้เน้นการเคลื่อนที่ การกระทำทักษะต่างๆให้ทำอย่างรวดเร็ว จริงจังและแม่นยำ เพราะถ้าฝึกจนเกิดเป็นความเคยชินแล้วก็จะสามารถความลดผิดพลาดในเกมการเล่นได้มาก
                     2.ฝึกเหมือนสถานะการณ์จริง การฝึกต้องฝึกให้มีสภาพคล้ายสถานะการณ์จริง เช่นในแบบฝึกนั้น ฝึกในเกมที่มีคู่ต่อสู้และให้คู่ต่อสู้เข้าโจมตีหรือเข้าแย่งอย่างเร็วและจริงจัง จะได้ฝึกการใช้ทักษะต่างๆมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้อย่างเหมาะสมเป็นต้น.....ข้อคิดอื่นๆจะนำเสนอตอนต่อไป.