วางผู้เล่นให้เป็น..ระบบทีม
ภาพจากก www.esdfanalysis.com
การจัดระบบทีมเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในเกมการเล่น โดยปกติในการรบ กองทัพต้องจัดรูปแบบกระบวนทัพอย่างเป็นระบบ..เช่น ทัพหน้า ปีกซ้าย ปีกขวา กองหนุน และทัพหลังเพื่อสร้างความสมดุลย์ในกองกำลังเพื่อการรบ การแข่งขันฟุตบอลก็เช่นเดียวทีมก็ต้องจัดขุมกำลังให้สมดุลย์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแต่ละทีมจะต้องมีขุมกำลังทั้ง กองหลัง กองกลาง กองหน้าเป็นต้น ซึ่งเราจะพบว่าทีมแต่ละทีมจะเลือกการจัดระบบผู้เล่นของทีมหลายอย่าง โดยจัดวางผู้เล่นเป็นขุมกำลังจาก กองหลัง กองกลาง และกองหน้า อย่างเช่น..ระบบ 4:2:4, 4:3:3, 4:4:2, 3:4:3, 3:5:2, 5:3:2, ฯ ซึ่งการจัดวางผู้เล่นในระบบต่างๆนั้นไม่ควรกำหนดเอง หรือเพราะเหตุผลว่าเราชอบระบบนั้นๆ..ในความเป็นจริงโค้ชแต่ละคนต้องพิจารณาว่าทีมของตนเองนั้นควรจะจัดขบวนทัพในระบบการเล่นแบบใดจาก.....
ข้อคิด..ดังต่อไป
ข้อคิด..ดังต่อไป
1.ขีดสมรรถนะของนักกีฬาตนเอง
- ผู้เล่นแต่ละตำแหน่งมีความสามารถอย่างไร ควรจัดขุมกำลังแบบใดจึงทำให้ทีมมี
ความสมดุลย์มากที่สุด
2.แทคติกและกลยุทธ์ที่จะใช้
- โค้ชอาจจะเน้นแทคติกในการเล่นแบบใด เช่นเน้นเกมรุก เกมรับ หรือเน้นกอง
กลางแน่น ก็จัดวางผู้เล่นในระบบที่ต้องการ
3.สภาพทีมของคู่ต่อสู้
- จากศักยภาพและขีดความสามารถของผู้เล่นของทีมคู่ต่อสู้นั้น เราควรจะจัดขบวน
ทัพอย่างไรที่จะต่อสู้ได้ดี มีความสมดุลย์ หรือเสียเปรียบน้อยที่สุด
4.ผู้เล่นนั้นเข้าใจและสามารถเล่นระบบนั้นได้ดี
- สิ่งที่สำคัญที่สุด พึงระลึกเสมอว่าจะใช้ระบบใดก็ตาม ต้องสร้างให้ผู้เล่นทุกคนมี
ความเข้าใจ สามารถเล่นในระบบนั้นได้อย่างสัมพันธ์กันอย่างดี จึงควรจะนำมาใช้
เล่น แต่ถ้ายังไม่เข้าใจแล้วนำมาใช้เล่นก็จะทำได้ไม่ดี ถ้าเป็นเช่นนี้ ไม่สมควรนำมา
ใช้เล่น เพราะไม่คุ้มกับผลการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น..ข้อแนะนำ..ควรใช้ระบบที่ใช้อยู่
ใช้เล่น เพราะไม่คุ้มกับผลการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น..ข้อแนะนำ..ควรใช้ระบบที่ใช้อยู่
เดิมน่าจะดีกว่า เพราะผู้เล่นจะไม่กังวลใจ และจะเล่นกันได้สัมพันธ์กันมากกว่า..
ตัวอย่างการวางตัวผู้เล่นในระบบต่างๆ..ซึ่งเป็นแบบปกติทั่วไป ที่เคยใช้กันมาแล้วสร้างผลงานที่ดีในรายการแข่งขันระดับโลกมาแล้ว....
ระบบการเล่นแบบ 3:3:4 แบบนี้จะเน้นที่เกมรุก ซึ่งในทุกๆแบบตำแหน่งการยืนของผู้เล่นแต่ละคนจะเชื่อมโยง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมเชื่อมต่อกันทุกพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือกันและปิดช่องว่างให้มากที่สุด
ตัวอย่างการวางตัวผู้เล่นในระบบต่างๆ..ซึ่งเป็นแบบปกติทั่วไป ที่เคยใช้กันมาแล้วสร้างผลงานที่ดีในรายการแข่งขันระดับโลกมาแล้ว....
ระบบการเล่นแบบ 3:3:4 แบบนี้จะเน้นที่เกมรุก ซึ่งในทุกๆแบบตำแหน่งการยืนของผู้เล่นแต่ละคนจะเชื่อมโยง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมเชื่อมต่อกันทุกพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือกันและปิดช่องว่างให้มากที่สุด
ระบบการเล่นแบบ 3:3:3:1 การเล่นระบบนี้ก็ยังเน้นที่เกมรุก และที่สำคัญผู้เล่นต้องมีเทคนิคการเล่นดี มีความเข้าใจเกมใกล้เคียงกัน เพราะทุกคนต้องสามารถหมุนเวียนสลับตำแหน่งซึ่งกันและกันได้ ทุกส่วนจะช่วยกันเล่นทั้งเกมรุก และเกมรับ
ระบบการเล่นแบบ 3:4:3 การเล่นระบบนี้จะเน้นขุมกำลังในแดนกลางเพิ่มมากขึ้น เพื่อครองความได้เปรียบในแดนกลางให้ได้ก่อน แล้วสร้างเกมรุกในโอกาสต่อไป
ระบบการเล่นแบบ 4:3:3 การเล่นจะเน้นความสมดุลย์เพิ่มขึ้นระหว่างแดนกลางและแดนหน้า ส่วนกองหลังก็เน้นปลอดภัยและไม่ประมาท
ระบบการเล่นแบบ 4:4:2 ระบบการเล่นนี้จะเน้นความปลอดภัยในเกมรับเพิ่มขึ้น จึงจัดขุมกำลังในแดนกลางเพิ่มเป็น 4 คนเพื่อพยายามควบคุมเกมในแดนกลางให้ได้ ก่อนที่คู่ต่อสู้จะหลุดไปสู่กองหลัง และยังสร้างโอกาสในเปิดเกมรุกได้ในโอกาสต่อไป
ระบบการเล่นแบบ 3:5:2 ระบบการเล่นนี้จะเน้นการชิงความได้เปรียบในแดนกลางให้ได้มากที่สุด เพื่อทำลายเกมรุกของคู่ต่อสู้ให้ได้ก่อน แล้วจึงสร้างโอกาสในเกมรุกกลับต่อไป
ระบบการเล่นแบบ 5:3:2 ระบบการเล่นนี้เน้นความปลอดภัยมากขึ้น โดยจัดผู้เล่นกองหลังไว้ 5 คนแล้วใช้กองกลาง 3 คน เมื่อสามารถคุมแดนหลังไว้ได้แล้วจึง สร้างโอกาสเปิดเกมรุก
กลับต่อไป
กลับต่อไป
ระบบการเล่นแบบ 4:5:1 หรือ 5:4:1 ระบบการเล่นนี้จะเน้นความปลอดภัยในการเล่นเกมรับสูงสุด แนวรับทั้งกองกลางและกองหลังจะมีผู้เล่นมากที่สุด และทิ้งกองหน้าไว้เพียงคนเดียว
ดังนั้นเมื่อตัดบอลได้ต้องใช้วิธีการเล่นเกมรุกกลับแบบการโต้รุกกลับอย่างเร็วเป็นหลัก..เป็นต้น
ดังนั้นการจะเลือกใช้ระบบทีมแบบใดมาใช้นั้น ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆให้ดีเพื่อประสิทธิภาพและความสมดุลย์ของทีม ซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จของทีมได้ต่อไป ส่วนที่เห็นว่ามีระบบการเล่นอื่นๆที่แตกต่างจากที่นำเสนอเป็นตัวอย่างไปนั้น จะขึ้นอยู่กับแนวคิดของโค้ชแต่ละคนที่คิดและจัดผู้เล่นในแดนต่างๆอย่างไรและใช้กับแทคติกการเล่นในทีมอย่างไร ก็กำหนดระบบขึ้นมาเองได้ สุดท้ายคงต้องดูที่ผลสำเร็จในการเล่นหรือแข่งขันมากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น