ทำไมทีมฟุตบอลเด็กไทยเก่ง..แต่โตขึ้นมาผลงานไม่ดี.!!
น่าแปลกใจที่พวกเรารู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานฟุตบอลชุดเด็กๆของไทย ที่ได้แชมป์และชนะทีมต่างๆได้ เมื่อเวลาผ่านไปเด็กเหล่านี้เติบโตและพัฒนาด้านฟุตบอลอย่างต่อเนื่อง แต่กลับสร้างผลงานไม่ได้ตามเป้าหมาย มีศักยภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น คือควรจะเป็นทีมที่อยู่ในระดับแนวหน้าของเอเซีย....เมื่อผลงานออกมาไม่ดีก็จะมีข้อแก้ตัวต่างๆมาอ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปร่างที่เล็กกว่าทีมอื่นๆ มีเวลาในการเตรียมทีมน้อย หรือสโมสรไม่ยอมปล่อยตัวนักกีฬามาร่วมทีม..เป็นต้น
สาเหตุดังกล่าวนั้นน่าจะเป็นเรื่องปลายเหตุ ความน่าจะเป็นของสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องมีดังต่อไปนี้
1. ทัศนคติและความคิดของผู้เกี่ยวข้องยังไม่เหมาะสมกับการพัฒนาการตามวัยของเด็ก
2. แผนการพัฒนาไม่ถูกต้อง
3. วิธีการฝึกซ้อมไม่เหมาะสม
4. การสร้างขวัญและการให้กำลังใจมากเกินจริง
1. ทัศนคติและแนวคิดไม่เหมาะกับการพัฒนาตามวัยของเด็ก...โดยธรรมชาติการพัฒนาการของเด็กด้านต่างๆจะเป็นไปตามระดับของช่วงอายุ อย่างเช่นเด็กทารกจะไม่สามารถลุกขึ้นแล้ววิ่งได้ โดยธรรมชาติเด็กจะพัฒนาไปทีละขั้นจะเริ่มจากการคว่ำ คืบ คลาน ลุกขึ้นยืน เดิน แล้วจึงเริ่มวิ่งได้ ในทำนองเดียวกันเด็กแต่ละวัยจะมีขีดความสามารถที่แตกต่างกัน การรับรู้และการพัฒนาขีดความสามารถจะทำได้ตามวุฒิภาวะนั้นๆ หากใจร้อนฝืนกฏธรรมชาติแล้วพยายามพัฒนาแบบก้าวกระโดด เด็กก็จะมีสมรรถนะดีในระดับหนึ่งแต่จะมีจุดบกพร่องอีกหลายๆอย่าง ซึ่งในระยะยาวการพัฒนาการของเด็กเหล่านั้นในอนาคต จะมีขีดจำกัดและขาดความสมบูรณ์แบบ
2. แผนการพัฒนาไม่ถูกต้อง...เมื่อมีแนวคิดตามแบบข้อที่ 1 การวางแผนการฝึกกีฬาฟุตบอลให้เด็กก็จะเป็นแบบก้าวกระโดดเช่นกัน แผนพัฒนาจะไปเน้นที่การเล่นทีมและผลการแข่งขันมากกว่า
3. วิธีการฝึกซ้อมไม่เหมาะสม... เมื่อแผนการพัฒนาวางไว้แบบก้าวกระโดดวิธีการฝึกก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือจะพัฒนาทักษะการรับ-ส่ง โหม่ง เลี้ยง ยิงประตูในระดับที่พอทำได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ถึงขั้นดีมาก ขาดความแม่นยำ แน่นอนและยังไม่มีความชำนาญมากพอ จึงไม่สามารถเอาตัวรอดในสภาวะกดดันสูงได้ แต่ไปเน้นที่การเล่นทีม ซึ่งการสร้างเสริมประสบการณ์จนเกิดความชำนาญจะต้องพัฒนาได้จากเกมสนามเล็กก่อน นอกจากจะพัฒนาทักษะให้ชำนาญเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเรียนรู้เทคนิกการเล่นเกมรุก-เกมรับไปที่ละขั้นตอนอีกด้วย โดยการฝึกแบบ 1:1, 3:3, 5:5, 7:7, 9:9, เป็นต้น เพราะการฝึกในสนามเล็ก เด็กแต่ละคนจะมีโอกาสได้สัมผัสกับการได้เล่นกับบอล และสถานการณ์การเล่นต่างๆบ่อยๆครั้ง เมื่อรู้ เข้าใจ สามารถเล่นได้ดีแล้วจึงค่อยก้าวไปสู่การเล่นทีม 11 คนต่อไป สิ่งที่พบในการฝึกที่เน้นผลการแข่งขันมาตั้งแต่แรกจะทำให้เด็กมีผลการแข่งขันที่ดีก่อนประเทศอื่นๆ เพราะเด็กประเทศอื่นยังไม่ได้เน้นการฝึกที่การเล่นทีมจึงทำให้มีประสบการณ์ในการเล่นทีมน้อยกว่า แต่พวกเขามีศักยภาพด้านทักษะต่างๆที่ชำนาญแม่นยำมากกว่า เมื่อถึงช่วงที่เขาได้ฝึกเทคนิคการเล่นทีมเขาจึงทำได้ดีมีความแน่นอนมากว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการเล่นจะมีน้อยกว่า การเล่นทีมจึงไม่เกิดปัญหาเช่นเดียวกับทีมไทยที่มักจะพบในเรื่องความผิดพลาดในการเล่นบ่อยๆ แล้วจึงนำมาเป็นข้ออ้างว่าเด็กเราทักษะไม่ดีเป็นต้น..
4. การสร้างขวัญและให้กำลังใจมากเกินไป...เมื่อพบเห็นว่าเด็กบางคนเล่นดี มีผู้เกี่ยวข้องหลายๆคนรวมทั้งสื่อต่างๆมักจะให้กำลังใจชื่นชมและเชียร์ ยกย่องว่ามีความเก่งกาจเลอเลิศเหนือกว่าเด็กคนอื่นๆในรุ่นราวคราวเดียวกัน เช่นชื่นชนว่าเล่นได้สุดยอดเก่งเหนือเด็กอื่น หรือแบบว่าเป็นโคตรบอลบ้างหรือให้ฉายาว่าเป็นระดับเทพบ้าง..จนทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าตัวเองเก่งเหนือกว่าคนอื่นๆ จึงมีความมั่นใจในตัวเองสูงเกินไป อาจจะทำให้เด็กคนนั้นหลงและทะนงตนจนลืมไปว่า ความสามารถของตนเองนั้นที่เหนือกว่าเด็กอายุรุ่นเดียวกันนั้น ซึ่งเป็นเพียงภาพลวงตาไม่ใช่ความเป็นจริง เพราะความสามารถนั้นก็ยังไม่พร้อมสมบูรณ์แบบหรือมีความชำนาญในระดับหนึ่งเท่านั้น และยังมีความเก่งน้อยกว่ากลุ่มเด็กที่มีอายุที่สูงกว่าด้วย เหมือนเก่งใหญ่จะเหนือกว่าเก่งเล็กเป็นต้น นอกจากนั้นยังจะไม่ส่งแรงบรรดาลใจให้เด็กกลุ่มนี้พัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้นเพราะมีความเชื่อว่าตนเองนั้นมีความเก่งหรือเหนือกว่าคนอี่นอยู่แล้ว และที่สำคัญเด็กเหล่านี้ได้รับการฝึกมาก่อนเด็กอีกหลายๆคนในกลุ่มอายุเดียวกัน จึงทำให้พวกเขามีความสามารถเหนือกว่าแบบชั่วคราว เพราะว่าเมื่อเด็กคนอื่นๆได้รับโอกาสฝึกซ้อมอย่างที่ถูกต้อง เขาอาจจะพัฒนาขีดวามสามารถได้เท่าเทียมหรือเล่นได้เหนือกว่าอีกด้วย
สิ่งเหล่านี้จะเป็นมูลเหตุที่อาจจะชะลอการพัฒนาการด้านฟุตบอลของเด็กไทย ทำให้เด็กไทยมีศักยภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็น เมื่อเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่หรือทีมชาติชุดใหญ่จึงทำให้ทำผลงานได้ไม่ดีอย่างที่เห็น....ดังนั้นเด็กนักฟุตบอลต้องปรับทัศนะคติใหม่ โดยให้คิดเสมอว่าเราต้องพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีนักฟุตบอลคนอื่นเก่งเหนือเราอยู่อีก เช่น..เก่งในรุ่นอายุ 12 ปี ต้องพัฒนาให้มีศักยภาพสู้กับรุ่นอายุ 14 ปีให้ได้ แล้วต้องพัฒนาต่อเพื่อสู้ให้ได้ในรุ่นอายุ 16, 18, 20, ทีมชาติไทยชุดต่างๆ และทีมต่างชาติอื่นๆต่อไป ถ้าเด็กไทยคิดแบบนี้จะเป็นแรงจูงใจให้เด็กๆทุกคนต้องพยายามพัฒนาศักยภาพแข่งกัน ซึ่งสถานะการณ์แบบนี้ประเทศไทยจะมีนักฟุตบอลที่มีศักยภาพตามมาตรฐานสากลเพิ่มมากยิ่งขึ้น..เป็นต้น
2. แผนการพัฒนาไม่ถูกต้อง...เมื่อมีแนวคิดตามแบบข้อที่ 1 การวางแผนการฝึกกีฬาฟุตบอลให้เด็กก็จะเป็นแบบก้าวกระโดดเช่นกัน แผนพัฒนาจะไปเน้นที่การเล่นทีมและผลการแข่งขันมากกว่า
3. วิธีการฝึกซ้อมไม่เหมาะสม... เมื่อแผนการพัฒนาวางไว้แบบก้าวกระโดดวิธีการฝึกก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือจะพัฒนาทักษะการรับ-ส่ง โหม่ง เลี้ยง ยิงประตูในระดับที่พอทำได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ถึงขั้นดีมาก ขาดความแม่นยำ แน่นอนและยังไม่มีความชำนาญมากพอ จึงไม่สามารถเอาตัวรอดในสภาวะกดดันสูงได้ แต่ไปเน้นที่การเล่นทีม ซึ่งการสร้างเสริมประสบการณ์จนเกิดความชำนาญจะต้องพัฒนาได้จากเกมสนามเล็กก่อน นอกจากจะพัฒนาทักษะให้ชำนาญเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเรียนรู้เทคนิกการเล่นเกมรุก-เกมรับไปที่ละขั้นตอนอีกด้วย โดยการฝึกแบบ 1:1, 3:3, 5:5, 7:7, 9:9, เป็นต้น เพราะการฝึกในสนามเล็ก เด็กแต่ละคนจะมีโอกาสได้สัมผัสกับการได้เล่นกับบอล และสถานการณ์การเล่นต่างๆบ่อยๆครั้ง เมื่อรู้ เข้าใจ สามารถเล่นได้ดีแล้วจึงค่อยก้าวไปสู่การเล่นทีม 11 คนต่อไป สิ่งที่พบในการฝึกที่เน้นผลการแข่งขันมาตั้งแต่แรกจะทำให้เด็กมีผลการแข่งขันที่ดีก่อนประเทศอื่นๆ เพราะเด็กประเทศอื่นยังไม่ได้เน้นการฝึกที่การเล่นทีมจึงทำให้มีประสบการณ์ในการเล่นทีมน้อยกว่า แต่พวกเขามีศักยภาพด้านทักษะต่างๆที่ชำนาญแม่นยำมากกว่า เมื่อถึงช่วงที่เขาได้ฝึกเทคนิคการเล่นทีมเขาจึงทำได้ดีมีความแน่นอนมากว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการเล่นจะมีน้อยกว่า การเล่นทีมจึงไม่เกิดปัญหาเช่นเดียวกับทีมไทยที่มักจะพบในเรื่องความผิดพลาดในการเล่นบ่อยๆ แล้วจึงนำมาเป็นข้ออ้างว่าเด็กเราทักษะไม่ดีเป็นต้น..
4. การสร้างขวัญและให้กำลังใจมากเกินไป...เมื่อพบเห็นว่าเด็กบางคนเล่นดี มีผู้เกี่ยวข้องหลายๆคนรวมทั้งสื่อต่างๆมักจะให้กำลังใจชื่นชมและเชียร์ ยกย่องว่ามีความเก่งกาจเลอเลิศเหนือกว่าเด็กคนอื่นๆในรุ่นราวคราวเดียวกัน เช่นชื่นชนว่าเล่นได้สุดยอดเก่งเหนือเด็กอื่น หรือแบบว่าเป็นโคตรบอลบ้างหรือให้ฉายาว่าเป็นระดับเทพบ้าง..จนทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าตัวเองเก่งเหนือกว่าคนอื่นๆ จึงมีความมั่นใจในตัวเองสูงเกินไป อาจจะทำให้เด็กคนนั้นหลงและทะนงตนจนลืมไปว่า ความสามารถของตนเองนั้นที่เหนือกว่าเด็กอายุรุ่นเดียวกันนั้น ซึ่งเป็นเพียงภาพลวงตาไม่ใช่ความเป็นจริง เพราะความสามารถนั้นก็ยังไม่พร้อมสมบูรณ์แบบหรือมีความชำนาญในระดับหนึ่งเท่านั้น และยังมีความเก่งน้อยกว่ากลุ่มเด็กที่มีอายุที่สูงกว่าด้วย เหมือนเก่งใหญ่จะเหนือกว่าเก่งเล็กเป็นต้น นอกจากนั้นยังจะไม่ส่งแรงบรรดาลใจให้เด็กกลุ่มนี้พัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้นเพราะมีความเชื่อว่าตนเองนั้นมีความเก่งหรือเหนือกว่าคนอี่นอยู่แล้ว และที่สำคัญเด็กเหล่านี้ได้รับการฝึกมาก่อนเด็กอีกหลายๆคนในกลุ่มอายุเดียวกัน จึงทำให้พวกเขามีความสามารถเหนือกว่าแบบชั่วคราว เพราะว่าเมื่อเด็กคนอื่นๆได้รับโอกาสฝึกซ้อมอย่างที่ถูกต้อง เขาอาจจะพัฒนาขีดวามสามารถได้เท่าเทียมหรือเล่นได้เหนือกว่าอีกด้วย
สิ่งเหล่านี้จะเป็นมูลเหตุที่อาจจะชะลอการพัฒนาการด้านฟุตบอลของเด็กไทย ทำให้เด็กไทยมีศักยภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็น เมื่อเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่หรือทีมชาติชุดใหญ่จึงทำให้ทำผลงานได้ไม่ดีอย่างที่เห็น....ดังนั้นเด็กนักฟุตบอลต้องปรับทัศนะคติใหม่ โดยให้คิดเสมอว่าเราต้องพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีนักฟุตบอลคนอื่นเก่งเหนือเราอยู่อีก เช่น..เก่งในรุ่นอายุ 12 ปี ต้องพัฒนาให้มีศักยภาพสู้กับรุ่นอายุ 14 ปีให้ได้ แล้วต้องพัฒนาต่อเพื่อสู้ให้ได้ในรุ่นอายุ 16, 18, 20, ทีมชาติไทยชุดต่างๆ และทีมต่างชาติอื่นๆต่อไป ถ้าเด็กไทยคิดแบบนี้จะเป็นแรงจูงใจให้เด็กๆทุกคนต้องพยายามพัฒนาศักยภาพแข่งกัน ซึ่งสถานะการณ์แบบนี้ประเทศไทยจะมีนักฟุตบอลที่มีศักยภาพตามมาตรฐานสากลเพิ่มมากยิ่งขึ้น..เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น