แนวคิดการฝึกการเล่นกองกลาง
กองกลาง..ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของทีม ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะกำหนดเกมการเล่นของทีมว่าจะไปทิศทางใด..เช่นจะเป็นเกมรุก หรือเกมรับ จะเน้นทางด้านซ้าย หรือทางด้านขวา รวมทั้งการเจาะทะลุผ่านแนวรับเข้าทำประตู
แต่ในบางทีมจะประสบปัญหาที่ไม่สามารถกำหนดแนวทางการเล่นได้อย่างที่ต้องการ โค้ชจึงต้องดำเนินการพัฒนาให้นักกีฬามีความสามารถอย่างที่ต้องการ
แนวคิดในการพัฒนาผู้เล่นกองกลาง...มีดังนี้
1. สร้างความเข้าใจเทคนิคการเล่นกองกลาง
2. ฝึกซ้อมเทคนิคการเล่นกองกลางแบบต่างๆ
3. ฝึกซ้อมด้วยเกมจำลอง และเกมจริง
การดำเนินการสามารถทำได้ดังนี้...
1. การสร้างความเข้าใจเทคนิคการเล่นกองกลาง..
1.1. ต้องพยายามควบคุมสถานะการณ์รักษาบอลไว้ในความครอบครอง
1.2. ต้องเปลี่ยนแกนการเล่นไปยังพื้นที่ว่างทั้งด้านซ้ายหรือด้านขวา
1.3. ต้องเปลี่ยนเกมการเล่นด้วยการวางบอลระยะไกลที่แม่นยำ
1.4. ต้องส่งบอลทะลุผ่านช่องว่างของแนวรับให้กองหน้า
1.5. ต้องสนับสนุนโดยเคลื่อนตัวเติมผ่านแนวรับขึ้นไปช่วยยิงประตู
1.6. ต้องฝึกยิงบอลระยะไกลหรือจากพื้นที่แถวที่ 2 เมื่อเจาะไม่ผ่านแนวรับ
ภาพที่ 1
จากภาพที่ 1 ผู้เล่นกองกลางต้องเข้าใจเทคนิคการเล่นว่าจะต้องทำอย่างไร โดยพื้นฐานจะต้องรู้ว่า ต้องส่งบอลไปที่พื้นที่ใดบ้าง พื้นที่หลักจะต้องส่งไปทั้ง 5 พื้นที่ คือส่งบอลเปลี่ยนแกนสลับ ซ้าย-ขวา ในพื้นที่ที่ 1 และ 2 หรือส่งบอลทะลุผ่านช่องว่างไปทางด้านหน้าสู่พื้นที่ที่ 3 และ 5 หรือส่งบอลระยะไกลข้ามแนวรับสู่พื้นที่ที่ 4 เป็นต้น
2. ฝึกซ้อมเทคนิคการเล่นกองกลางแบบต่างๆ..
2.1. ฝึกการครอบครองบอลในแดนกลาง
2.2. ฝึกการเปลี่ยนแกนการเล่นไปพื้นที่ว่างด้านซ้าย-ขวา
2.3. ฝึกการเปลี่ยนเกมด้วยการส่งบอลระยะไกลที่แม่นยำ
จากภาพที่ 7 เป็นเกมรุก 5:3 โดยจะฝึกการเล่นของกองกลางในพื้นที่สีเหลืองแบบ 2:1 ผู้เล่นฝ่ายรุกต้องนำเทคนิกการเล่นของกองกลางมาใช้ เพื่อหาโอกาสส่งบอลให้ผู้เล่นแดนหน้าทำเกมเข้าไปยิงประตู
2.1. ฝึกการครอบครองบอลในแดนกลาง
ภาพที่ 2
จากภาพที่ 2 ฝึกการครองบอลและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝึกแบบ 2:2 หรือ 3:3 ในพื้นที่่ 20X30 หลา และมีผู้เล่นช่วยสนับสนุนอยู่ด้านนอกอีก 4 คน คอยช่วยพักบอลให้ฝ่ายที่ได้ครอบครองบอลอยู่
2.3. ฝึกการเปลี่ยนเกมด้วยการส่งบอลระยะไกลที่แม่นยำ
ภาพที่ 3
2.4. ฝึกการส่งบอลทะลุผ่านแนวรับให้กองหน้า
จากภาพที่ 3 ฝึกแบบ 2:3 ในพื้นที่ 10X20 หลา ฝึกการครองบอลในพื้นที่สีเหลือง แล้วเปลี่ยนแกนการเล่นไปด้านซ้าย-ขวาไปพื้นที่ที่ 1และ 2 หรือส่งบอลระยะไกลแนวทะแยงไปยังพื้นที่ที่ 3 และ 4 (ถ้าส่งไปสู่เป้าหมายด้านซ้าย-ขวาจะได้ครั้งละ 1 คะแนน แต่ถ้าส่งระยะไกลสู่เป้าหมายได้จะได้คะแนนครั้งละ 2 คะแนน)
ภาพที่ 4
2.5. ฝึกการสนับสนุนโดยเคลื่อนตัวเติมผ่านแนวรับขึ้นไปยิงประตู
จากภาพที่ 4 การฝึกต่อเนื่องจากภาพที่ 3 (เมื่อฝึกชำนาญแล้ว) ขยายพื้นที่รวมกับพื้นที่สีเขียว และเพิ่มเงื่อนไข ถ้าฝ่ายสีแดงสามารถพาบอลผ่านเข้าไปอยู่ในพื้นที่สีเขียวได้จึงมีสิทธิ์ส่งบอลไปยังพื้นที่ที่ 3, 4,และ 5 จะได้คะแนนเพิ่มครั้งละ 2 คะแนนเป็นต้น
ภาพที่ 5
2.6. ฝึกการยิงบอลระยะไกล จากพื้นที่แถว 2
จากภาพที่ 5 ฝ่ายสีแดงเพิ่มตัวช่วยอีก 1 คนอยู่ในพื้นที่ที่ 5 โดยกำหนดเงื่อนไขต้องรอรับบอลที่ส่งมาจากพื้นที่สีเขียวแล้วทำชิ่งบอลให้ผู้เล่นที่ส่งมาให้นั้นทะลุผ่านขึ้นไปยิงประตู
ภาพที่ 6
3. ฝึกการเล่นกองกลางด้วยเกมจำลอง และเกมจริง
จากภาพที่ 6 การฝึกคล้ายกับการฝึกในภาพที่ 5 แต่กำหนดเงื่อนไขใหม่ โดยเมื่อผู้เล่นที่เป็นตัวช่วยที่อยู่ที่พื้นที่ 5 ได้รับบอลจากการส่งมาให้แล้วส่งบอลย้อนกลับลงมาให้ผู้เล่นกองกลางสีแดงอีกคนหนึ่งที่วิ่งเติมขึ้นมายิงประตูระยะไกลจากแถวที่ 2 เป็นต้น
ภาพที่ 7
ภาพที่ 8
จากภาพที่ 8 เมื่อผู้เล่นมีความเข้าใจเทคนิคการเล่นกองกลางดีขึ้น จึงเติมผู้เล่นกองกลางฝ่ายรับอีก 1 คน เพื่อฝึกให้ฝ่ายรุกรู้จักการแก้ไขปัญหา ถ้าเกมไม่ลื่นไหล โค้ชต้องสั่งให้หยุดแล้วแนะนำว่า จะต้องทำอย่างไรจึงเกิดความได้เปรียบในเกมการเล่นนั้น
ภาพที่ 9
ภาพที่ 10
จากภาพที่ 9 และ 10 เป็นการเพิ่มผู้เล่นให้เท่าๆกัน เป็น 5:5 และ 6:6 เพิ่อสร้างเกมจำลองให้คล้ายเกมการเล่นจริงมากขึ้น ผู้เล่นจะต้องฝึกเทคนิคการเล่นกองกลางให้ชำนาญมากขึ้น และสร้างความสัมพันธ์การเล่นระหว่างผู้เล่นกองกลาง และกองหน้า ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย สุดท้ายจึงจัดการฝึกเป็นเกมจริง 11:11 ต่อไป
ตัวอย่างดังกล่าวเป็นแนวคิดพื้นฐานการฝึกผู้เล่นกองกลาง ซึ่งโค้ชต้องจัดแบบฝึกเพื่อพัฒนาการเล่นให้เหมาะสมกับสภาพของนักกีฬาที่มีอยู่ และเพื่อพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่กำหนดได้อย่างที่ต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น