วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562



แนวทางการฝึกนักกีฬาสู่ความยอดเยี่ยม
 
ภาพจาก www.Bloggang.com

                                   คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่านักกีฬาที่เก่งๆนั้นมาจากพรสวรรค์ (Gifted) ความคิดเห็นนี้ถูกต้อง แต่ถูกเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นซึ่งอาจจะเพียง 20-30 เปอร์เซ็นท์เท่านั้น....เพราะถ้าพิจารณาตามความเป็นจริงจะเห็นว่า มนุษย์ที่เกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์และเติบโตขึ้นมา แล้วเดินตามฝันทำในสิ่งที่เขาถนัด ทั้งๆที่มีโอกาสเรียนหรือฝึกน้อยมากแต่ก็ประสพความสำเร็จได้นั้น มีให้เห็นได้เพียงจำนวนหนึ่งและมีน้อยมาก   ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้แก่.. พวกอัจฉริยะ (Genius)     แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นท์ คือมีพรแสวง ซึ่งต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจเรียนรู้และฝึกฝนอย่างหนักแล้วจึงประสพความสำเร็จได้เช่นกัน ซึ่งมีให้เห็นจำนวนมากทีเดียว บุคคลเหล่านี้ได้แก่..พวกความสามารถพิเศษ(Talent) หรือมีความสามารถยอดเยี่ยม (Expert Performance)...ถ้าพวกอัจฉริยะได้มีโอกาสเติมพรแสวงเข้าไปด้วยแล้วจะช่วยให้บุคคลเหล่านี้เป็น...สุดยอดของโลก (Super Genius) ในด้านนั้นอย่างแน่นอน


ภาพจาก www.goal.com

                                      นายแพทย์เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์ ได้เขียนเอกสารประกอบคำบรรยายในหัวข้อ"การพัฒนาทักษะผ่านกระบวนการฝึกฝนอย่างตั้งใจ (Deliberate Practice)" โดยได้ศึกษาค้นคว้าสาระจากเอกสารตำราจากต่างประเทศแล้วสุรปสาระสำคัญไว้ ซึ่งในบางส่วนเป็นประโยชน์นำมาใช้ในการพัฒนานักกีฬาได้...ผู้เขียนเห็นว่าวิธีการบางอย่างที่เคยทำอยู่แล้วเกิดผลดีซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักการระดับสากลที่ใช้กันอยู่ นั่นก็แสดงว่าหลักการดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการฝึกซ้อมกีฬาด้วย จึงอยากจะนำเสนอสาระบางส่วนที่มีประโยชน์ให้ทราบดังนี้...
                              Vince Lombardi ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า  "Practice does't make perfect ...Perfet practice makes perfect." การฝึกนั้นไม่สามารถทำให้การพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่การฝึกที่สมบูรณ์แบบจะทำให้ผลการพัฒนามีความสมบูรณ์แบบได้..
  
                             แนวทางการฝึกเพื่อพัฒนานักกีฬาสู่ความยอดเยี่ยม (Talent)
                              1.แบ่งทักษะที่ซับซ้อนออกเป็นทักษะย่อยๆ
                              2.ฝึกด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างถูกต้องไม่เร่งรีบ
                              3.ฝึกซ้ำๆในระดับทักษะที่เหมาะสม
                              4.ประเมินผลการฝึก
                          1.แบ่งทักษะที่ซับซ้อนออกเป็นทักษะย่อยๆ เพื่อมีขั้นตอนในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทำให้ผู้รับการฝึกรู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลังและทำอย่างไร ซึ่งจะทำให้สามารถเรียนรู้เข้าใจและจดจำได้ง่ายมากขึ้น
                           2.ฝึกด้วยความมุ่งมั้นตั้งใจอย่างถูกต้องไม่เร่งรีบ ส่งเสริมให้ผู้รับการฝึกมีสมาธิตั้งใจฝึกอย่างจริงจังทีละขั้นจะทำให้มีทักษะที่ดีหรือแน่นติดตัวไป ไม่ควรใจร้อนร่งรีบฝึกข้ามขั้นตอน
                           3.ฝึกซ้ำๆในระดับทักษะที่เหมาะสม ควรจักกิจกรรมการฝึกที่ไม่ง่ายหรือยากเกินไปเพราะจะไม่เกิดการพัฒนา ต้องจัดกิจกรรมที่ท้าทายเพื่อส่งเสริมให้มีความพยายาม การพัฒนาจึงจะเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมตามระดับความสามารถในแต่ละช่วง
                           4.ประเมินผลการฝึก ต้องประเมินผลการฝึกโดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานะการณ์ต่างๆได้  ทั้งโค้ชและนักกีฬาต้องทบทวนกระบวนการปฏิบัตินั้นว่ายังมีจุดใดบ้างที่ยังทำได้ไม่ถูกต้องหรือไม่ดี แล้วจึงมาวางแผนการปรับแก้ให้ถูกต้องแล้วฝึกซ้ำจนทำได้อย่างถูกต้องต่อไป..เป็นต้น
                               จงอย่าลืมว่าผู้ที่มีพรสวรรค์แล้วลืมตัวหรือมั่นใจว่าเก่งเหนือคนอื่นแล้วขาดการฝึกซ้อมอย่างจริงจัง เท่ากับย่ำอยู่กับที่ ซึ่งผิดกับผู้มีพรแสวงที่มุ่งมั่นตั้งใจฝึกซ้อมอย่างจริงจังจะพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ มีความรู้และเข้าใจรวมทั้งมีประสบการณ์มากขึ้นจะทำให้พัฒนาความสามารถตามได้ทันและก้าวหน้าแซงผ่านไปได้อย่างแน่นอน....


วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562



ช่องทางการเรียนรู้ของมนุษย์กับการพัฒนา


                            ธรรมชาติของมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ตามโอกาสและความสนใจของแต่ละบุคคล แต่การรับรู้แล้วเข้าใจเพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่สัญชาตญาณของแต่ละบุคคล
                            การรับรู้ของมนุษยมีหลายช่องทาง ซึ่งมนุษย์แต่ละคนมีขีดความสามารถการเรียนเพื่อการรับรู้ได้ไม่เหมือนกัน ช่องทางในการเรียนรู้ที่พบเห็นได้แบบง่ายๆน่าจะมีดังนี้
                           ช่องทางการเรียนรู้ 4 ช่องทาง
                                1.การเห็น
                              2.การฟัง
                              3.การเขียน/จดบันทึก
                              4.การปฏิบัติ/การฝึก
                           1.การเรียนรู้จากการมองเห็น บางคนมองเห็นภาพต่างๆแล้วสามารถคิดวิเคราะห์แล้วสรุปผลจากสิ่งที่เห็นนั้นว่ามีคุณค่า แล้วนำไปใช้ได้
                             2.การเรียนรู้จากการฟัง บางคนเมื่อได้ยินหรือรับฟังสิ่งต่างๆแล้วสามารถคิดวิเคราะห์แล้วสรุปผลข้อมูลจากสิ่งที่ได้ยินนั้นว่ามีคุณค่า แล้วนำไปใช้ได้
                             3.การเรียนรู้จากการการเขียนหรือการจดบันทึก บางคนต้องขีดเขียนบันทึกไว้แล้วนำกลับมาทบทวนแล้วสามารถเข้าใจถึงคุณค่า และนำไปใช้ได้
                           4.การเรียนรู้จากการปฏิบัติ บางคนลงมือฝึกหรือปฏิบัติ แล้วจึงเกิดความเข้าใจคุณค่า และนำไปใช้ได้
                             จะเห็นได้ว่ามนุษย์เราสามารถเรียนรู้ผ่านช่องทางต่างๆได้หลายช่องทาง ขึ้นอยู่กับสัญชาตญาณของแต่ละบุคคล ที่จะมีความถนัดกับช่องทางใดมากที่สุด
                             ถ้าเราจะต้องฝึกหรือสอนให้กับผู้เรียนหรือนักกีฬาก็ต้องสังเกตุว่าแต่ละคนนั้นมีคาวมถนัดในช่องทางใดก็ส่งผ่านในช่องทางนั้นจะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าต้องฝึกหรือสอนให้กับสมาชิกเป็นกลุ่มหรือทีม..อาจจะต้องใช้วิธีการผ่านทั้ง 4 ช่องทางนั้นเพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามทั้ง 4 ช่องทางนั้นจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันช่วยให้การเรียนรู้สำเร็จ รู้และเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งกระบวนการฝึกสอนฟุตบอลเราจึงควรทำเป็นขั้นตอน
 
        ภาพจาก www.knowhowsoccer.com
                              ขั้นตอนการฝึกควรมีดังนี้
                             1.ขั้นอธิบาย..โดยบอกถึงจุดประสงค์ในการฝึกนั้น วิธีและขั้นตอนการฝึกในแบบฝึกนั้น
                               2.ขั้นสาธิต..โดยการแนะนำวิธีปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน ทีละขั้นที่ถูกต้ออย่างช้าๆ แบบปิดจังหวะแล้วจึงทำแบบต่อเนื่องเปิดจังหะต่อไป
                             3.ขั้นปฏิบัติ..โดยให้นักกีฬาลงมือทำการฝึกตามขั้นตอนที่ถูกต้องทีละขั้น
                             4.ขั้นการฝึกด้วยเกม..โดยจัดเกมการฝึกทั้งแบบสนามเล็กหรือแบบเต็มสนาม แต่แบบการเล่นควรเน้นให้สอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ของการฝึกในวันนั้น ที่สำคัญควรจัดกิจกรรมเน้นความสนุก หรือกิจกรรมที่ท้าทาย
                             5.ขั้นการปรับปรุงแก้ไข..เมื่อมีข้อผิดพลาดควรสั่งให้หยุด แล้วป้อนคำถามให้คิดทบทวนว่ามีความผิดพลาดที่จุดใดและควรจะแก้ไขอย่างไร แล้วจึงอธิบายสิ่งที่ถูกต้องให้และให้ฝึกทำซ้ำๆจนสามารถทำได้
                             6.ขั้นสรุป..การสังเกตูและประเมินผลกิจกรรมการฝึกโดยเทียบกับเกณฑ์ที่โค้ชกำหนดไว้ซึ่งต้องเป็นไปตามจุดประสงค์ที่มีอยู่ แล้วนำสรุปผลการปฏิบัติมาชี้แจง รวมทั้งเน้นย้ำที่จุด Coaching Point เพื่อทบทวนความเข้าใจและเป็นแรงผลัดดันให้นักกีฬาตั้งใจพัฒนามากขึ้นอีกด้วย
                             สิ่งเล็กๆที่โค้ชไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นกระบวนการที่จำเป็นในการพัฒนาขีดความสามารถให้เกิดขึันในตัวของนักกีฬา ซึ่งรวมถึงการมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกันสถานะการณ์ต่างๆในการเล่นได้มากที่สุด....