วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562



ช่องทางการเรียนรู้ของมนุษย์กับการพัฒนา


                            ธรรมชาติของมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ตามโอกาสและความสนใจของแต่ละบุคคล แต่การรับรู้แล้วเข้าใจเพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่สัญชาตญาณของแต่ละบุคคล
                            การรับรู้ของมนุษยมีหลายช่องทาง ซึ่งมนุษย์แต่ละคนมีขีดความสามารถการเรียนเพื่อการรับรู้ได้ไม่เหมือนกัน ช่องทางในการเรียนรู้ที่พบเห็นได้แบบง่ายๆน่าจะมีดังนี้
                           ช่องทางการเรียนรู้ 4 ช่องทาง
                                1.การเห็น
                              2.การฟัง
                              3.การเขียน/จดบันทึก
                              4.การปฏิบัติ/การฝึก
                           1.การเรียนรู้จากการมองเห็น บางคนมองเห็นภาพต่างๆแล้วสามารถคิดวิเคราะห์แล้วสรุปผลจากสิ่งที่เห็นนั้นว่ามีคุณค่า แล้วนำไปใช้ได้
                             2.การเรียนรู้จากการฟัง บางคนเมื่อได้ยินหรือรับฟังสิ่งต่างๆแล้วสามารถคิดวิเคราะห์แล้วสรุปผลข้อมูลจากสิ่งที่ได้ยินนั้นว่ามีคุณค่า แล้วนำไปใช้ได้
                             3.การเรียนรู้จากการการเขียนหรือการจดบันทึก บางคนต้องขีดเขียนบันทึกไว้แล้วนำกลับมาทบทวนแล้วสามารถเข้าใจถึงคุณค่า และนำไปใช้ได้
                           4.การเรียนรู้จากการปฏิบัติ บางคนลงมือฝึกหรือปฏิบัติ แล้วจึงเกิดความเข้าใจคุณค่า และนำไปใช้ได้
                             จะเห็นได้ว่ามนุษย์เราสามารถเรียนรู้ผ่านช่องทางต่างๆได้หลายช่องทาง ขึ้นอยู่กับสัญชาตญาณของแต่ละบุคคล ที่จะมีความถนัดกับช่องทางใดมากที่สุด
                             ถ้าเราจะต้องฝึกหรือสอนให้กับผู้เรียนหรือนักกีฬาก็ต้องสังเกตุว่าแต่ละคนนั้นมีคาวมถนัดในช่องทางใดก็ส่งผ่านในช่องทางนั้นจะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าต้องฝึกหรือสอนให้กับสมาชิกเป็นกลุ่มหรือทีม..อาจจะต้องใช้วิธีการผ่านทั้ง 4 ช่องทางนั้นเพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามทั้ง 4 ช่องทางนั้นจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันช่วยให้การเรียนรู้สำเร็จ รู้และเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งกระบวนการฝึกสอนฟุตบอลเราจึงควรทำเป็นขั้นตอน
 
        ภาพจาก www.knowhowsoccer.com
                              ขั้นตอนการฝึกควรมีดังนี้
                             1.ขั้นอธิบาย..โดยบอกถึงจุดประสงค์ในการฝึกนั้น วิธีและขั้นตอนการฝึกในแบบฝึกนั้น
                               2.ขั้นสาธิต..โดยการแนะนำวิธีปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน ทีละขั้นที่ถูกต้ออย่างช้าๆ แบบปิดจังหวะแล้วจึงทำแบบต่อเนื่องเปิดจังหะต่อไป
                             3.ขั้นปฏิบัติ..โดยให้นักกีฬาลงมือทำการฝึกตามขั้นตอนที่ถูกต้องทีละขั้น
                             4.ขั้นการฝึกด้วยเกม..โดยจัดเกมการฝึกทั้งแบบสนามเล็กหรือแบบเต็มสนาม แต่แบบการเล่นควรเน้นให้สอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ของการฝึกในวันนั้น ที่สำคัญควรจัดกิจกรรมเน้นความสนุก หรือกิจกรรมที่ท้าทาย
                             5.ขั้นการปรับปรุงแก้ไข..เมื่อมีข้อผิดพลาดควรสั่งให้หยุด แล้วป้อนคำถามให้คิดทบทวนว่ามีความผิดพลาดที่จุดใดและควรจะแก้ไขอย่างไร แล้วจึงอธิบายสิ่งที่ถูกต้องให้และให้ฝึกทำซ้ำๆจนสามารถทำได้
                             6.ขั้นสรุป..การสังเกตูและประเมินผลกิจกรรมการฝึกโดยเทียบกับเกณฑ์ที่โค้ชกำหนดไว้ซึ่งต้องเป็นไปตามจุดประสงค์ที่มีอยู่ แล้วนำสรุปผลการปฏิบัติมาชี้แจง รวมทั้งเน้นย้ำที่จุด Coaching Point เพื่อทบทวนความเข้าใจและเป็นแรงผลัดดันให้นักกีฬาตั้งใจพัฒนามากขึ้นอีกด้วย
                             สิ่งเล็กๆที่โค้ชไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นกระบวนการที่จำเป็นในการพัฒนาขีดความสามารถให้เกิดขึันในตัวของนักกีฬา ซึ่งรวมถึงการมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกันสถานะการณ์ต่างๆในการเล่นได้มากที่สุด....

                            

                             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น