วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ทำอย่างไร...ให้บอลไทยไปบอลโลก(ตอนที่4)


ทำอย่างไร...ไทยจะได้เล่นบอลโลกรอบสุดท้าย??

ศูนย์พัฒนาฟุตบอล..ช่วยแก้ปัญหาได้

                                                                  ภาพจาก www.youtube.com

                                                  จากสภาพปัญหาที่พบซ้ำๆ เรามีแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีแนวทางในการพัฒนาแล้ว.........ตอนนี้คงต้องลงถึงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์...ดังนั้นควรมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาฟุตบอลของสมาคมฯให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาฟุตบอลไว้ประจำ 4 ภาคและศูนย์พัฒนาฟุตบอลแห่งชาติ อีก 1 ศูนย์ รวมเป็น 5 ศูนย์

                                                   แนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาฟุตบอลฯ..ดังนี้

                                          1. แบ่งให้แต่ละศูนย์รับผิดชอบพัฒนาเยาวชนของแต่ละภาค ในเขตจังหวัดพื้นที่รับผิดชอบ

                                          2. จัดเตรียมทีมงานสต้าฟโค้ชที่สมาคมฯพิจารณาคัดเลือก ให้ดำเนินการคัดเลือกเยาวชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ มาพัฒนาทักษะ เทคนิค แทคติก การเล่นเฉพาะบุคคล กลุ่มและทีม ตามแนวทางมาตรฐานสากลและแนวทางทั้งระบบ สไตล์และรูปแบบการเล่นที่สมาคมกำหนดไว้ เพื่อให้รู้เข้าใจและเล่นไปในทางเดียวกัน

                                         3. วางแผนระยะยาวโดยเริ่มพัฒนาเยาวชน กลุ่มอายุ 14-15 ปี เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ถึง 10 ปี ซึ่งเยาวชนกลุ่มนี้จะทักษะ เทคนิค แทคติก และสามารถเล่นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นเมื่อนำกลุ่มเยาวชนเหล่านี้มาเล่นด้วยกันแม้ว่าจะใช้ระยะเวลาสั้นๆ พวกเขาก็จะสามารถปรับตัวเล่นด้วยกันได้ง่าย

                                        4. จัดการประลองทีม โดยแต่ละศูนย์ฯ ต้องพัฒนาทีมเพื่อการแข่งขัน โดยสมาคมฯต้องจัดการแข่งขันแบบลีกของศูนย์พัฒนาฯ เพื่อสร้างประสบการณ์เกมการแข่งขัน รวมถึงเป็นแรงผลักดันกระตุ้นให้แต่ละคนแข่งขันพัฒนาศักยภาพตัวเองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีคู่แข่งในระดับเดียวกันอีกหลายคน และสมาคมฯก็จะสามารถจัดลำดับขีดความสามารถของผู้เล่นแต่ละตำแหน่งไว้เพื่อใช้เลือกเป็นตัวแทนทีมชาติที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากลต่อไป

                                        5. สมาคมฯดำเนินการคัดเลือกผู้เล่นที่ดีที่สุดเพื่อจัดเตรียมทีมชาติ ซึ่งสามารถจัดเป็นทีมชาติได้หลายชุดเพื่อเลือกใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติในรายการต่างๆได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อไป

ภาพจาก www.facebook.com

                                               จากแนวทางดังกล่าวแม้ว่าต้องใช้ทั้งระยะเวลา งบประมาณและความมุ่งมั่นทุ่มเทของทีมงานบริหารจัดการของสมาคมฯอย่างมากก็ตาม ระยะเวลาภายใน 10 ปี สภาพปัญหาต่างๆจะค่อยๆลดลงไปได้แน่นอน อย่างเช่น...

                                                  1. ปัญหาผู้เล่นเก่งบางคนไม่สามารถไปร่วมแข่งขันได้จะหมดไป เพราะแต่ละตำแหน่งที่เป็นหัวกะทิที่มีความสามารถใกล้เคียงกันที่เราจัดลำดับไว้จะมีจำนวนหลายคน ซึ่งมีความพร้อมและกระหายอยากแสดงผลงาน ที่มาจาก 5 ศูนย์พัฒนาฯมีให้เลือกถึง 20 คนเป็นต้น

                                                  2. ชุดดรีมทีมที่เราเคยมี ถ้าเราพัฒนาแบบนี้แล้ว ชาติเราจะมีถึง 5 ทีมซึ่งแต่ละทีมจะมีศักยภาพใกล้เคียงกันอีกด้วย

                                                  3. ระบบ สไตล์และรูปแบบการเล่นเป็นแบบมาตรฐานสากล ผู้เล่นกลุ่มนี้รู้เข้าใจไปแนวทางเดียวกัน แม้ว่าจะจัดผู้เล่นมารวมกันอย่างไรเขาก็จะสามมารถเล่นประสานสัมพันธ์กันได้อย่างดี ทำให้โค้ชทำทีมได้ง่ายแม้ว่ามีเวลารวมตัวกันภายในระยะเวลาสั้นๆก็ตาม

                                                  4. ทำให้สะดวกในการสรรหาโค้ชมาคุมทีม เพราะเราจะได้เลือกโค้ชที่มีวิสัยทัศน์มีแนวคิดในการพัฒนาทีมไปในทิศทางเดียวกัน และมีประสบการณ์เข้ามาสร้างเสริมแทคติกพิเศษเพิ่มให้เหมาะกับการแข่งขันในแต่ละระดับได้

                                                   5. เราจะสามารถยกระดับศักยภาพของทีมทุกชุด ให้สู้กับทุกชาติในระดับเอเซียได้ เพื่อพัฒนาขึ้นไปสู่เวทีโอลิมปิกและฟุตบอลโลกได้ต่อไป 

                                               ซึ่งจะเห็นได้ว่าการดำเนินการพัฒนาให้เป็นระบบ จะช่วยลดปัญหาต่างๆทั้งหมดที่คาใจลงไปได้ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน ทำให้ฝันนั้นอยู่ไม่ไกล..เราพร้อมที่จะก้าวเดินอย่างมั่นคงเพื่อไปถึงจุดหมายนั้นได้จริงๆ....... 

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ทำอย่างไร..ให้บอลไทยไปบอลโลก?(ตอนที่3)

 

ทำอย่างไร..ไทยจะได้เล่นบอลโลกรอบสุดท้าย?(ตอนที่3)

แนวทางในการพัฒนา

                                                            ภาพจาก www.youtube.com

                                             จากสภาพปัญหาที่พบและแนวทางในการแก้ปัญหาซึ้งจำเป็นต้องทำทั้งระยะสั้นและระยะยาว สมาคมฟุตบอลฯก็มีแผนการแก้ไขและพัฒนาบางแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าเช่นมีการเปลี่ยนโค้ชมาคุมทีมชาติใหม่ทุกครั้งที่ผลงานออกมาไม่ดี ซึ่งเป็นความจำเป็นที่ต้องทำเพื่อจะพยายามรักษาศรัทธาและความนิยมเอาไว้ จริงๆแล้ววิธีการนี้ที่ทำยังไม่สามารถตอบโจทย์ที่คนไทยต้องการได้อย่างดีมีความสำเร็จได้ในระดับอาเซี่ยนเท่านั้น    ส่วนการพัฒนาก็มีแผนพัฒนาทีมเยาวชนขึ้นมาโดยมอบให้โค้ช เอคโคโน่และทีมงามมาวางพื้นฐานให้ ก็ถือว่ามีวิสัยทัศน์ดีทีเดียว...แต่คงลืมไปว่าชุดที่พัฒนาขึ้นมาจะมีอยู่เพียงกลุ่มเดียวและจำนวนนักฟุตบอลไม่มานัก..ซึ่งถ้าชุดนี้ก้าวขึ้นไปสู่ชุดใหญ่แล้วระยะหนึ่งจะมีรุ่นใหม่ไฟแรงเติบโตขึ้นมาทันหรือไม่ หรือเด็กชุดดังกล่าวเก่งขึ้นมาไปเป็นดาวเด่นของสโมสรแล้ว บางช่วงเวลาสโมสรขจะไม่ยอมปล่อยตัวมาให้เล่นใมนานทีมชาติ เหมือนปัญหาในปัจจุบันนี้ ทีมชาติก็จะไม่มีผู้เล่นตัวเก่งไปแข่งขันเหมือนเดิม...ดังนั้นต้องรอบคอบในการวางกรอบการพัฒนาแบบครบวงจรจึงจะเกิดผลดี...

                                              แนวทางในการพัฒนา..น่าจะเป็นดังนี้

                                         1. กำหนดระบบการเล่นให้ชัดเจน เพื่อโค้ชจะได้มีแนวทางในการสร้างทีม รวมถึงสามารถเลือกผู้เล่นที่มีความสามารถเหมาะสมกับแต่ละตำแหน่งมาใช้ และผู้เล่นแต่ละคนจะได้ฝึกฝนพัฒนาการเล่นให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ตนเองถนัด...ซึ่งจริงๆแล้วระบบบการเล่นจะเปลี่ยนไปตามสถานะการณ์ของเกมส์ ดังนั้นโค้ชต้องเตรียมความพร้อมให้ผู้เล่นได้รู้ เข้าใจและสามารถในไปใช้เล่นในแต่ละสถานะการณ์นั้นได้อย่างดีอีกด้วย..

                                        2. ต้องกำหนดสไตล์และรูปแบบการเล่นที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของคนไทย เพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานเบื้องต้นในการเล่นร่วมกัน ซึ่งรูปแบบการเล่นอาจจะปรับเปลี่ยนบ้างตามสภาพและขีดความสามารถของผู้เล่น..

                                        3. ต้องสรรหาโค้ชที่มีคุณภาพ แล้วนำมาอบรมสร้างความเข้าในระบบ สไตล์และรูปแบบการเล่นในกรอบการพัฒนาที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นไปในทางเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาที่เข้มแข็ง ยั่งยืนต่อไป..

                                        4. ต้องวางรากฐานความเข้าใจเกมส์การเล่นแบบสากล  ตั้งแต่การเล่นแบบ 1 v 1, เล่นในพื้นทีแคบๆ( Small size games), เกมรุก เกมรับ การหมุนเวียนเปลี่ยนตำแหน่งสนับสนุนช่วยเหลือกัน, การโจมตีทางด้านข้าง, การโจมตีในแนวตรง,การทะลุทะลวงในแนวลึก, การรุกกลับอย่างเร็ว,การเข้าทำประตูในแบบต่างๆ, การเล่นแบบผสมผสานทั้งผู้เล่น แทคติกและแบบการเล่นเฉพาะสถานะการณ์ให้ชำนาญ เพื่อช่วยให้ทีมเล่นกันได้อย่างลื่นไหล สัมพันธ์กันเป็นระบบ เป็นต้น..

                                        5.สมาคมฯต้องสร้างศูนย์พัฒนานักฟุตบอล 5 ศูนย์ โดยแบ่งพื้นที่ในการพัฒนานักบอลออกเป็น ศูนย์ประจำ 4 ภาค (เหนือ อีสาน กลาง ใต้) และอีกหนึ่งคือ ศูนย์ของสมาคมฯ เพราะภาคกลางเฉพาะในกรุงเทพฯก็มีทรัพยากรมากอยู่แล้ว...(ในส่วนนี้จะขอขยายความในตอนต่อไป) ซึ่งเยาวชนของไทยจะมีความเสมอภาคได้รับโอกาสในการพัฒนาศาสตร์การเล่นฟุตที่ถูกต้องเหมือนกับกลุ่มที่อยู่ในกรุงเทพฯ เพราะเมื่อแต่ละคนได้รับโอกาสฝึกและมีประสบการณ์ใกล้เคียงกัน สมาคมฯก็จะทรัพยากรที่มีคุณภาพจำนวนมากให้เลือกใช้ต่อไป เป็นต้น

                                         6. ต้องกำหนดเป้าหมายการพัฒนาตามลำดับขั้นให้ชัดเจน สมาคมฯต้องมีเป้าหมายของการพัฒนา เช่นต้องเข้าเล่นในรอบสุดท้ายหรือได้ตำแหน่งดีๆมาบ้างในการแข้งขัน AFC ในรุ่น U-16, U-19, U-23 แล้วขยับขึ้นไปสู่ระดับเอเชี่ยนเกมส์ โอลิมปิก และบอลโลกต่อไป ซึ่งเป้าหมายที่ชัดเจนจะเป็นแรงจูงใจผลักดันให้เกิดความสำเร็จได้ต่อไป ไม่ใช่ฝันข้ามขั้นไปบอลโลกเลย..มันเป็นการก้าวกระโดดที่ไกลเกินไปเราถึงยังล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนี้..

                                          แนวทางการพัฒนาดังกล่าวอาจจะดูว่าเหมือนธรรมดา แต่ถ้าพิจารณาให้รอบคอบจะเห็นได้ว่า สามารถลดหรือแก้ปัญหาที่เราพบในปัจจุบันได้จริง..แต่ต้องใช้ความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของทีมบริหารของสมาคมฯ และระยะเวลา ที่พัฒนาให้เกิดผลตามต้องการ..แนวคืดที่จะสร้างโอกาสให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จให้ได้นั้นจะนำเสนอในตอนต่อไป...

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ทำอย่างไร..ให้บอลไทยไปบอลโลก(ตอนที่2)

 

ทำอย่างไร..ไทยจะได้เล่นบอลโลกรอบสุดท้าย??

(แนวทางการแก้ปัญหา)

ภาพจาก www.mgronline.com

                                                    จากสภาพปัญหาที่พบในเบื้องต้นที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นปัญหาซ้ำซาก ที่เกิดขึ้นกับทีมผู้บริหารสมาคมฯทุกสมัย คงจะต้องหาแนวทางเพื่อการแก้ปัญหาให้เหมาะสม ซึ่งน่าจะนำ"เทคนิคการบริหารการเปลี่ยนแปลง" มาเป็นแนวทางเพื่อการแก้ไขอย่างเป็นระบบ

                                                   แนวคิดในการวางแนวทางการแก้ปัญหา..

                                               1. สร้างความตระหนักในทุกกลุ่มคนในชาติ...โดยส่งเสริมให้ยกระดับปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ..เพื่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนยอมรับว่าการพัฒนาฟุตบอลของไทยเป็นไปอย่างล่าช้าและมีมาตรฐานต่ำกว่าระดับโลกมากพอสมควร รวมถึงชาติอื่นๆที่ระดับต่ำกว่าเรามีการพัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็วตามติดชนิดหายใจรดต้นคอหรือบางชาติก็เบียดแซงขึ้นหน้าไปแล้ว ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องให้การสนับสุนนช่วยเหลือร่วมกันแก้ไขปัญหานี้โดยเร่งด่วน...

                                               2. สร้างทีมงานในการขับเคลื่อน...โดยเปิดกว้างจัดหาทีมงานเพื่มเติมจากที่สมาคมฯมีอยู่มาช่วยสนับสนุบภาระกิจที่ต้องทำ..เช่นสรรหานักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นทีมงาน ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา รวมถึงเสนอแนวทางการแก้ไข เช่นควรมีสไตล์การเล่นอย่างไร ทีมควรมีระบบการเล่นอย่างไร มีแนวทางวิธีการฝึกซ้อมเพื่อแก้จุดบกพร่องและพัฒนาทุกๆด้านให้เหมาะสมได้อย่างไร และจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมเป็นทีมงานแผนกต่างๆเพื่อดำเนินการแก้ไขตามยุทธศาสตร์และแผนงานที่กำหนดเป็นต้น

                                               3. กำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ กระบวนการในการแก้ไข และพัฒนา... โดยจัด  ทำแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขและพัฒนาทั้งระยะสั้น และระยะยาว...แผนระยะสั้นมีไว้เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า สร้างแรงศรัทธาและรักษากระแสความนิยมไว้ ส่วนแผนระยะยาวระยะ 10-15 ปี เป็นแผนเพื่อพัฒนายกระดับมาตรฐานสู่ระดับโลก แบบมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งทีมงานบริหารสมาคมฯต้องใจกว้างเด็ดเดี่ยวกล้าที่จะลงมือทำในสมัยของท่าน เพราะผลสำเร็จจะเกิดขึ้นชัดเจนในอีกหลายปีข้างหน้า ซึ่งอาจจะเป็นผลสำเร็จที่ดีเกิดขึ้นในยุคของทีมบริหารอื่นๆ...แต่คงต้องทำใจเพราะถ้าเราไม่ทำไว้ความสำเร็จคงไม่เกิดขึ้นแน่นอน...อย่าให้เหมือนสถานะการณ์ที่ผ่านๆมายังคงมีปัญหาเดิมๆเรื้อรังมาจนถึงบันนี้..

                                              4. จัดระบบสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธฺภาพ...เพื่อสื่อสารวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ แผนและวิธีการพัฒนา แบบครบวงจรเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจไปในแนวทาวเดียวกัน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหาช่องทางให้การส่งเสริมสนับสนุนได้อย่างเหมาะสมเต็มที่

                                               5. จัดระบบควบคุมติดตามและประเมินผลงานความก้าวหน้าเป็นระดับขั้น เพื่อทราบปัญหาการปฏิบัติ จะได้ปรับแผนการปฏิบัติการและสนับสนุนกระบวนการแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานะการณ์ทันที

                                               6. จัดระบบการสร้างขวัญกำลังใจให้ครบวงจร เพื่อเป็นค่าตอบแทนและเป็นแรงจูงใจอย่างเหมาะสม ให้ทั้งนักกีฬาและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

                                                7. จัดระบบการปฏิบัติงานให้ครบวงจร โดยวางระบบการพัฒนาตั้งแต่ระดับภูมิภาคให้ต่อเนื่องจนถึงระดับประเทศและส่งต่อสู่ระดับอาชีพ

                                                8. วางรากฐานวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เพื่อเป็นการปลูกฝังการทำงานอย่างเป็นระบบงานและสร้างระบบการพัฒนาสู่มาตรฐานสากลอย่างยั่งยืนต่อไป

                                                  เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเป็นระบบ และการแก้ไขนี้จะช่วยแก้ปัญหาเดิมๆ ที่เกิดซ้ำๆให้หมดไป ไม่ใช่ใช้วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆแล้วก็อ้างเหตุผลเดิมอย่างเช่นปัจจุบันโดยการใช้วิธีเปลี่ยนโค้ชใหม่ในทุกครั้งที่ผลการแข่งขันออกมาไม่ดี การพัฒนาฟุตบอลไทยเหมือนย่ำอยู่กับที่หรือดูถอยหลังเมื่อชาติอื่นๆเขาก้าวแซงหน้าไป...

                                                     

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ทำอย่างไร..ให้บอลไทยไปบอลโลก?(ตอนที่1)

 

ทำอย่างไร..ไทยจะได้เล่นบอลโลกรอบสุดท้าย??

(สภาพปัญหา)


                                                          ภาพจาก www.thaisoccernews.com

                                         ความฝันของแฟนบอลชาวไทย มีความกระหายอยากเห็นฟุตบอลชายทีมชาติไปโลดเล่นในเวทีการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย...หลายๆปีที่ผ่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องพยายามแก้ปัญหาและพัฒนาในหลายๆด้านซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเช่น สร้างทีมชาติชุดดรีมทีม พยายามจะสร้างทีมเด็กยักษ์ที่มีความสูงประมาณ180 เซ็นติเมตรเพื่อไว้สู้กับพวกยุโรป และยกระดับการแข่งขันฟุตบอลเป็นระบบอาชีพเพื่อสร้างประสบการณ์ให้นักเตะได้เคยชินกับผู้เล่นต่างชาติก็ดี รวมทั้งจัดหาโค้ชมือดีจากต่างประเทศมาทำทีมชาติอีกด้วยเป็นต้น...แต่ผลงานที่ปรากฏยังไม่เป็นที่พอใจของแฟนบอลชาวไทยเพราะศักยภาพทีมอยู่ในระดับอาเซี่ยนเหมือนเดิม และขณะนี้ตำแหน่งเบอร์ 1 ในอาเซี่ยนก็กำลังสั่นคลอนอีกด้วย..

                                         เราคงต้องกลับมาเปิดใจวิเคราะห์สถานการณ์ในทุกๆด้านกันใหม่ ซึ่งน่าจะต้องเริ่มจากสภาพปัญหา และแนวทางในการพัฒนาให้ตรงจุดและเป็นรูปธรรม.....

                                         1. สภาพปัญหา..อย่างเช่น.

                                            1.1.เมื่อทีมทำผลงานไม่ดี ก็มีคำสั่งปลดและเปลี่ยนโค้ชใหม่(ตามกระแสกดดัน) ซึ่งเมื่อเปลี่ยนไปแล้วผลงานก็ไม่ดีไปกว่าเดิม

                                            1.2.เมื่อผลงานไม่ดี จะออกตัวว่าผู้เล่นหลักเกรดA ไม่ได้ร่วมทีมไปแข่งครั้งนั้นด้วย...ซึ่งดูเหมือนว่าชาติไทยมีนักฟุตบอลเก่งอยู่ไม่กี่คนเท่านั้น..และรวมถึงสโมสรไม่อนุญาตให้ผู้เล่นที่ทีมชาติต้องการไปเล่นให้ในบางรายการอีกด้วย ทำให้ทีมขาดผู้เล่นตัวหลักไป..

                                            1.3.เราเคยมีชุดดรีมทีม ที่ถูกสร้างไว้เพียงทีมเดียว เมื่อเวลาผ่านไปสถานการณ์เปลี่ยนหมดยุคชุดนี้แล้วก็ขาดช่วงหายไป

                                            1.4.เคยมีแนวคิดว่าทีมไทยมีร่างกายขนาดกลางเสียเปรียบผู้เล่นต่างชาติที่มีร่างกายสูงใหญ่กว่าก็พยายามสร้างทีมชุดเด็กสูงประมาณ180 เซ็นติเมตรขึ้นมา แต่ก็ไม่สำเร็จ..ตามสรีระของคนไทยประมาณ 160-175 เซ็นติเมตร จะมีความคล่องตัวสูง และผู้ที่มีทักษะการเล่นฟุตบอลจะมีเฉพาะบุคคลไม่ใช่ทุกคน ซึ่งถ้าพัฒนาอย่างถูกวิธีแล้วก็ไม่เสียเปรียบผู้เล่นที่มีร่างกายสูงใหญ่กว่า อย่างเช่น ปิยพงษ์ ผิวอ่อน, เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ชนาธิป สรงกระสินธ์, ไมเคิล โอเว่น,ลิโอเนล เมสซิ,ลูกา มอดริช เป็นต้น

                                            1.5.สไตล์การเล่นของทีมยังไม่มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เหมาะสมกับสภาพของคนไทย และผู้เล่นมีความเข้าใจสถานการณ์ในเกมไม่เท่าเทียมกัน จะเห็นได้ว่าในเกมการแข่งขันหลายๆครั้งจังหวะในการเล่นจะขาดๆเกินๆเกิดความผิดพลาดเสมอๆ

                                            1.6.สภาพทีมปัจจุบันจะขาดแคลนผู้เล่นหลักในตำแหน่งศูนย์หน้าตัวเป้าที่มีสัญชาตญาณในการทำประตูที่เด็ดขาด และขาดคู่เซ็นเตอร์แบ็คที่แข็งแกร่งมีไหวพริบในการอ่านเกมและป้องกันที่ดี เพราะในเวทีการแข่งขันไทยลีก เกือบทุกสโมสรจะใช้ผู้เล่นต่างชาติมาลงเล่น ทำให้นักเตะไทยขาดโอกาสพัฒนาศักยภาพการเล่นไปด้วย

                                            1.7.ระยะเวลาการเตรียมทีมจะมีเวลาสั้นๆเท่านั้น มักจะประกาศขายฝันในช่วงวันที่เกิดความล้มเหลว เช่นว่าเราจะต้องพัฒนาอย่างนั้นอย่างนี้ในการเตรียมทีมเพื่อให้เกิดผลสำเร็จทันที แต่เมื่อกระแสจางลงการลงมือปฏิบัติอย่างมุ่งมั่นจริงจังก็จางลง และจะไปกระตือรือล้นในช่วงใกล้ๆฤดูการแข่งขันอีกที การพัฒนาจึงไม่ต่อเนื่อง 

                                         สภาพปัญหาในบางส่วนที่ได้กล่าวนี้ น่าจะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้มองเห็นว่าผู้เกี่ยวข้องน่าจะต้องดำเนิกการปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจจะต้องนำ เทคนิคการบริหารการเปลี่ยนแปลงมาใช้ ในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความสำเร็จได้ต่อไป...   

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564


 ข้อคิดจากฟุตบอลยูโร2020

                                                              ภาพจาก www.sanook.com

                                                         เกมการแข่งขันคู่ชิงชนะเลิศ ระหว่างที่อังกฤษกันทีมอิตาลี จัดได้ว่าถูกคู่สมน้ำสมเนื้อเพราะยังไม่เคยแพ้ในรายการนี้เช่นกัน กระแสของแฟนคลับต่างก็เชียร์ทีมที่ชอบเพราะแต่ละทีมต่างต้องชัยชนะเพื่อสร้างสถิติให้ทีมตนเองโดยเฉพาะทีมอังกฤษต้องการมากซึ่งถ้าทำสำเร็จจะได้แชมป์ยูโรเป็นครั้งแรก..

                                                         เกมการแข่งขันได้ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์หลายอย่าง สามารถเป็นแนวทางไปใช้เล่นและทำทีม..

                                                     ทีมอังกฤษ มีความพร้อมหลายด้านดังนี้...

                                                        1. มีความได้เปรียบเป็นทีมเจ้าภาพ

                                                        2. ผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มฉกรรจ์สภาพร่างกายสด

                                                        3. ผู้เล่นในตำแหน่งต่างๆค้อนข้างสมบูรณ์ มีหน้าเป้าเข้าทำประตูได้ดี ปีกทั้งสองข้างมีความเร็วสูง กองกลางแข็งแรงวิ่งไล่ได้ตลอดทั้งเกม กองหลังแข็งแกร่ง ผู้รักษาประตูเหนียวแน่น

                                                        4. ขุมกำลังของทีมมีเต็มอัตราศึก อาจจะทำให้ลำบากใจในการจัดตัวลงเล่น

                                                        5. มีความตั้งใจพยายามที่จะสร้างประวัติศาสตร์ให้ได้

                                                     ทีมอิตาลี มีความพร้อมดังนี้

                                                        1. ผู้เล่นมีประสบการณ์ค่อนข้างสูง และมีสมาธิที่ดี

                                                        2. มีความมุ่งมั่นต้องการสร้างสถิติให้ได้แชมป์เป็นครั้งที่สอง

                                                        3. ทีมมีขุมกำลังค่อนข้างสมบูรณ์ 

                                                      เกมการแข่งขันของทั้งสองทีมสามารถทำได้ดีด้วยกันทั้งคู่เกมสูสีกันมาก ซึ่งผลการแข่งขันเสมอกัน 1 ต่อ 1 ทั้งในเวลาปกติและช่วงการต่อเวลาพิเศษ จึงต้องยิงลูกโทษตัดสินกันทำให้ทีมอิตาลีได้แชมป์ไป.....ถ้าย้อนไปดูในเกมการแข่งขันจะเห็นได้ว่าทีมอังกฤษมีข้อผิดพลาดตรงไหนบ้าง..

ภาพจาก www.vwinsportsth.com

                                                      จุดเปลี่ยนที่ทำให้ทีมอังกฤษพลาดน่าจะมีดังนี้...

                                                         1. แม้ว่าขุมกำลังผู้เล่นค่อนข้างดี..กองกลางมีเพียงผู้เล่นที่มีความแข็งแรงประกบ ไล่แย่งตัดบอลได้ดี แต่ขาดตัวจ่ายบอลที่ดีจึงขาดโอกาสการสร้างสรรค์เกมรุกที่ได้เปรียบมากกว่านี้

                                                         2. การวางตำแหน่งผู้เล่นให้ราฮีม สเตอร์ลิง ไปยืนเป็นหน้าเป้า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่ถนัดที่จะต้องยืนอยู่ในวงล้อมของกองหลัง ไม่เหมือนการเล่นในพื้นที่ด้านข้าง แล้วให้แฮรี เคน ถอยลงมาต่ำเพื่อมาจ่ายบอลซึ่งก็ทำได้ดี แต่เกมรุกเพื่อเข้าทำประตู ผู้เล่นคนอื่นๆไม่สามารถกดดันแนวรับได้มากพอ ส่วนเกมรุกที่สร้างความกดดันจากทางด้านข้างจึงทำได้เพียงด้านเดียว

                                                         3. เมื่อใช้ยุทธวิธีการเล่นที่อาศัยความสด ประกบชิดวิ่งบีบไล่แย่งตัดบอลทั้งทีมทำให้ทีมอิตาลีเสียบอลง่าย แล้วใช้การเล่นรุกโต้กลับเร็ว จ่ายบอลด้วยความเร็วและเปลี่ยนแกนการเล่นซ้าย- ขวาสลับไปมาอย่างเร็ว ทำให้ทีมอิตาลี ปั่นป่วนเสียขบวนการป้องกัน ทำให้เสียประตูไปก่อน และเกมก็ยังแกว่ง ซึ่งสร้างความได้เปรียบให้ทีมอังกฤษตั้งแต่ต้นเกม...แต่ใช้วีธีการเล่นแบบนี้ประมาณครึ่งเดียวพอครึ่งเวลาหลังเหมือนผ่อนเกมลงมาทำให้ทีมอิตาลีตั้งหลักได้ ค่อยๆสร้างเกมรุกกดดันและมีโอกาสในการยิงประตูได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนทำประตูตีเสมอได้ในที่สุด

                                                         4. การตัดสินใจของโค้ชในการเปลี่ยนตัวผู้เล่นช้าเกินไป ทั้งๆที่มีขุมกำลังที่ดีมากพอซึ่งน่าจะสร้างเกมกดดันได้มากกว่านี้ และที่สำคัญตัดสินใจจะเปลี่ยนผู้เล่นเพื่อให้ลงไปยิงลูกโทษเพื่อตัดสินหาผู้ชนะนั้นน่าจะช้ามากเกินไป เพราะเห็นผู้เล่นสำรองพร้อมที่จะลงเล่นตั้งแต่ต้นครี่งเวลาหลังของการต่อเวลาพิเศษ แต่พอได้ลงจริงลงก่อนหมดเวลาเพียง2นาที ซึ่งผู้เล่นทั้งสองคนนั้นแทบจะไม่ได้สัมผัสบอลเลยและยังปรับตัวในเกมไม่ได้อีกด้วย ดังนั้นน่าจะส่งผลให้ยิงลูกโทษพลาดทั้งคู่..และอีกอย่างหนึ่งจัด บูกาโก ซากา ซึ่งเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดมารับหน้าที่ยิงเป็นคนที่5และต้องมายิงในสถานการณ์ที่กดดันมากอีกด้วย จึงส่งผลให้ทีมอิตาลีได้ชัยชนะไปในครั้งนี้...

                                                     ข้อคิดจากเกมการแข่งขัน นอกจากจะดูเพื่อความบันเทิงแล้ว ในแต่ละเกมจะมีสาระดีๆให้คนที่สนใจได้ศึกษาแล้วนำข้อคิดดีๆไปใช้เล่นหรือทำทีมได้อีกด้วย...

                                                       

                                                   


วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

 

ข้อคิดดจากคู่ชิงโคปา 2021

ภาพจาก www.sanook.com

                                                     เกมการแข่งขันคู่ชิงชนะเลิศระหว่าง ทีมบราซิล กับ ทีมอาร์เจนตินา ถีอได้ว่าเป็นเกมการแข่งขันที่ถูกคู่ตามความต้องการของแฟนบอล เพราะแต่ละทีมมีผู้เล่นที่เป็นซูเปอร์สตาร์ระดับโลกทั้ง เนร์มา และ แมสซี่ ที่ต้องมาประชันฝีเท้ากันและมีหน้าที่ต้องพยายามช่วยให้ทีมเป็นแชมป์ในคร้งนี้ให้ได้....

                                                    เกมการแข่นขันเข้มข้นเพราะทั้ง2 ทีมต้องงัดเอาศักยภาพทุกด้านมาต่อสู้กัน..ดังนั้นถ้าเราติดตามเกมการแข่งขันจะได้ จะเห็นว่าแทคติกบางอย่างมาไว้ใช้ในการทำทีมและใช้เล่นได้

                                                    ข้อคิดบางอย่างที่ทำให้เกิดผลต่างการแข่งขัน..ดังนี้.

                                               ทีมบราซิล มีจุดเด่นของทีมดังนี้

                                               1. เป็นเจ้าบ้านทำให้มีขวัญกำลังใจดี

                                               2. ผู้เล่นส่วนใหญ่วัยใกล้เคียงกันสดกว่าและมีความกระตือรือล้น

                                               3. มีความสามารถเฉพาะตัวสูง

                                               4. มุ่งมั่นตั้งใจเปิดเกมรุดกดุดัน

                                                ส่วนขีดจำกัดของทีม

                                               1. ผู้เล่นพยายามพาบอลเคลื่อนที่มาก และครองบอลนาน

                                               2. เกมรุกส่วนใหญ่ต้องฝากบอลให้เนมาร์เป็นคนสร้างสรรค์เกม

                                               3. กาเบรียล เอซุส  ซึ่งเป็นผู้เล่นแดนหน้าที่สามารถเก็บบอลแล้วช่วยสร้างสรรค์เกมได้ดี โดนใบแดงไม่มีสิทธิ์ลงช่วยทีมได้ 

                                              ทีมอาร์เจนติน่า

                                               1. มีผู้เล่นทักษะดีมีประสบการณ์สูง

                                               2. นอกจากแมสซี่แล้วยังมีผู้เล่นตัวหลักอย่าง อังเฆล ดิมาริอา เก็บบอลและสร้างสรรค์เกมรุกในแดนหน้า และโจบานี โลเซลโซ ช่วยสร้างสรรค์เกมในแดนกลางได้ดีและสามารถสนับสนุนเมสซีอีกด้วย

                                               3. วางแทคติกการเล่นแบบรับแน่นแล้วโต้รุกเร็วเป็นหลัก รัดกุมไม่ประมาท

ภาพจาก www.thailand.liverpoolfc.com

                                               4. ที่สำคัญใช้แทคติกชลอเกม โดยไล่ประกบเล่นหนักเข้าแย่งตัดบอลเบรคเกมรุกเพื่อไม่ให้ทีมบราซิลทำเกมรุกได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกมรุกของทีมบราซิลสะดุดไม่สามารถทำเกมกดดันได้อย่างต่อเนื่อง

ภาพจาก www.wereport.new

                                               นอกจากนั้นทั้งสองทีมพยายามใช้ความผิดพลาดในเกมการเล่นของคู่ต่อสู้มาสร้างโอกาส..อย่างเช่นอาร์เจนติน่า ตัดบอลแล้วส่งบอลระยะไกลให้ อังเฆล ดิมาริอา ในแดนหน้า ซึ่งแนวรับของทีมบราซิล ตัดบอลพลาด ขณะเดียวกัน เอเดอร์สัน ผู้รักษาประตูมือดี ตัดสินใจพลาดที่พยายามจะออกมาตัดบอล แต่ไม่ทันทำให้ ดิมาร์ริอา เดาะบอลข้ามศรีษะเข้าประตูไป..    ส่วนทีมบลาซิลก็มีหลายโอกาสแต่การยิงประตูทำได้ไม่คมพอ..

                                               แทคติกที่ทีมอาร์เจนติน่านำมาใช้ประกอบความสามารถของผู้เล่นและความมีวินัยในการเล่นของทีมทำให้ ทำผลงานได้ดีจนทำให้ประสบความสำเร็จคว้าชัยได้เป็นแชมป์ในคร้งนี้.. 

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564

 

การสร้างแบบเกมการเล่นของทีม


                                                    ภาพจาก www.lastminute-calabria.net

                                            โค้ชจำเป็นต้องสร้างแบบการเล่นในแต่ละขุมกำลัง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการเล่นของกองหลัง กองกลางและกองหน้าแล้วก็ตาม สิ่งที่โค้ชยังจำเป็นต้องทำเพิ่มเติมต่อไป..คือการสร้างแบบการเล่นของทีมอีกด้วย...

                                             แนวคิดในการสร้างแบบการเล่นของทีมมีดังนี้...

                                           1. เลือกแบบการเล่นที่เหมาะสมจากการผสมผสานแบบการเล่นของกองหลัง กองกลางและกองหน้าที่ได้เตรียมไว้มาเป็นแบบการเล่นเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของทีม

                                           2. เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางในการเล่นให้ผู้เล่นทุกคนของทีมได้นำไปใช้เล่นร่วมกัน

                                           3. โค้ชควรเตรียมแบบการเล่นในสถานการณ์ต่างๆไว้ แล้วนำไปฝึกซ้อมเพื่อสร้างความเข้าใจและสามารถเล่นได้สัมพันธ์กัน

                                           4. ถ้าสร้างแบบการเล่นของทีมได้อย่างเหมาะสมแล้ว โค้ชจะสามารถเลือกแบบการเล่นมาใช้วางแผนการเล่นของทีมได้ สามารถแนะนำผู้เล่นให้ทราบถึงวิธีการเล่นและรวมถึงสามารถแก้เกมการเล่นของทีมได้ง่ายอีกด้วย

                                           ดังนั้นการสร้างแบบการเล่นของทีมจะช่วยให้โค้ชสามารถวางแผนการเล่นได้เหมาะสมกับทีมคู่ต่อสู้แต่ละทีม กำหนดกลยุทธ์ในการเล่นทั้งเกมรุก เกมรับ และจัดระบบการแก้เกมการเล่นได้โดยง่าย รวมทั้งจะส่งผลให้ผู้เล่นในทีมเล่นกันได้อย่างสัมพันธ์กัน ซึ่งจะส่งผลให้ทีมเล่นกันได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นอีกด้วยเช่นกัน...       

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

 

การสร้างเกมการเล่นของกองหน้า


                                                    โค้ชจำเป็นต้องสร้างวิธีการและแบบการเล่นที่เหมาะสมกับผู้เล่นและทีม ซึ่งจะเป็นรูปแบบการเล่นเฉพาะ ดังนั้นผู้เล่นจึงต้องทำการฝึกซ้อมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

                                                    แนวคิดการในเล่นของกองหน้าสามารถทำได้ดังนี้

                                                   1. เน้นการเคลื่อนที่หนีตัวประกบ ไปยังพื้นที่ว่างเพื่อรับบอล

                                                   2. เน้นการโจมตีจากผู้เล่นที่เล่นบริเวณพื้นที่ด้านข้าง แบบ 4+2v4

                                                   3. เน้นการโจมตีจากผู้เล่นที่เล่นบริเวณพื้นที่ใกล้เส้นประตูของฝ่ายรับ แบบ 4+2v4

                                                   4. เน้นการโจมตีจากผู้เล่นที่เล่นในแนวกลางตรงเข้าหาประตู แบบ 5v3, 6v4

                                                   5. เน้นการหาโอกาสและสร้างจังหวะในการยิงประตู

                                                   6. ฝึกแบบ 4v4, 5v5, 6v6, ในพื้นที่สนามเล็กพร้อมผู้รักษาประตูเน้นการเปิดเกมจากผู้รักษาประตู โต้รุกเร็วและการเข้าทำประตู

                                                 การสร้างรูปแบบการเล่นของกองหน้าจะทำให้  ผู้เล่นของทีมมีความเข้าใจสามารถสร้างเกมรุกและเล่นกันได้อย่างสัมพันธ์กันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทีมทำเกมรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป



วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

 

การสร้างเกมการเล่นของกองกลาง 


                                             โค้ชจำเป็นต้องวางรูปแบบและสร้างเกมการเล่นของกองกลาง เพื่อทำให้ผู้เล่นรู้และเข้าใจเทคนิคละวิธีการเล่นของทีมว่าจะเล่นกันอย่างไร

                                              แนวคิดในการสร้างเกมการเล่นของกองกลาง..ดังนี้

                                             1. สร้างการเล่นในพื้นที่แดนกลางสนามให้ผู้เล่นกองกลางแบบ 3 v 3,  4 v 4,

3 v 4, 4 v 5, 


                                             2. เน้นเกมการครอบครองบอล

                                             3. เน้นการส่งผ่านบอลเปลี่ยนแกนสลับทั้งด้านซ้ายและขวา

                                             4. เน้นการครอบครองบอลร่วมกับกองหลังเพื่อความปลอดภัย

                                             5. เน้นการส่งบอลทะลุทะลวงกับผู้เล่นแดนหน้า ร่วมกับการเพิ่มความเร็วในการรับ-ส่งบอลด้วย

                                             6. เมื่อเสียการครองบอล ฝึกการชลอเกม ปิดทางการเล่น ประกบตัวบีบกระชับพื้นที่การเล่น และเข้าแย่งตัดเกมการเล่นของคู่ต่อสู้

                                               ควรฝึกการเล่นให้ผู้เล่นกองกลางสามารถเล่นได้เหมาะสมและสัมพันธ์กันกับเพื่อร่วมทีมอีกด้วย..

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

การสร้างเกมการเล่นของกองหลัง..

 

การสร้างความสัมพันธ์การเล่น(เกมรุก)ของกองหลัง        


                            โดยปกติแบบพื้นฐานการเล่นฟุตบอลของทีมมีความสำคัญที่ นักฟุตบอลแต่ละคนจำเป็นต้องเรียนรูั โค้ชจึงมีต้องจัดกิจกรรมปูพื้นฐานแบบการเล่นให้นักฟุตบอลได้ทำการฝึกซ้อม เพื่อสร้างความเข้าใจวิธีการเล่นของทีมได้อย่างถูกต้องและจะได้นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมทีมได้อย่างดี

                                      การสร้างความเข้าใจในแบบการเล่นของทีม ต้องจัดรูปแบบการฝีกแบบแยกส่วนๆโดยจะแยกแบบฝึกเป็นส่วนการเล่นของกองหลัง ส่วนกองกลาง ส่วนกองหน้า  แล้วจึงฝึกแบบการเล่นบอลผสมรวมทั้งทีมแบบนำบอลขึ้นมาจากกองหลังพาบอลขึ้นไปสู่กองหน้าและจบด้วยการเข้าทำประตู รวมทั้งเมื่อเสียบอลเป็นเกมรับแต่ละส่วนจะร่วมด้วยช่วยกันป้องกันอย่างไรเป็นต้น..

                                      แนวทางในการสร้างแบบการเล่นสามารถทำรูปแบบการฝึกซ้อมได้ดังนี้.

                                       แนวการสร้างแบบการเล่นของกองหลัง

                                        1. เซ็ทผู้เล่นกองหลังกับคู่ต่อสู้ 3 v 2 / 4 v 3 / 5 v 4

                                        2. เน้นส่งผ่านบอลกันในแดนหลัง พยายามไม่ให้เสียการครอบครองบอล

                                        3. เน้นเล่นบอลในแนวกว้างสลับผ่านสู่ด้านข้างทั้ง 2 ด้านเป็นหลัก ปัจจุบันต้องเล่นร่วมกับผู้รักษาประตูอีกด้วย


                                        4. สร้างแบบการเล่นให้สัมพันธ์กับผู้เล่นกองกลาง โดยเพิ่มกองกลาง 1 คน เพื่อสร้างแนวทางในการพาบอลคืบหน้าไปข้างหน้าตรงไปสู่แดนกลาง

                                        5. เมื่อเสียบอลต้องฝึกการปิดทางการเล่น ประกบตัว เบียบแย่ง สอดซ้อนช่วยกัน ไม่เปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้ยิงประตู

                                         จะเห็นได้ว่ากองหลังจะทำเกมเพื่อเปิดเกมรุก อาจจะทำได้ไม่ง่าย ดังนั้นจึงต้องเน้นการครอบครองบอลและเปิดเกมให้กว้างสู่พื้นที่ด้านข้างทั้งสองด้าน รวมทั้งอาจจะต้องฝากบอลไปถึงผู้รักษาประตูซึ่งอยู่ในแนวลึกเพื่อการครองบอลและเน้นความปลอดภัยในการเล่นของทีม นอกจากนั้นยังเป็นแทคติกการเล่นของทีมเพื่อดึงเวลาหรือดึงคู่ต่อสู้ให้ดันขึ้นมาเปิดเกมรุกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้พื้นที่การป้องกันของทีมคู่ต่อสู้เปิดที่ว่างมากขึ้น ทำให้มีพื้นที่ว่างให้ทีมของเราโจมตีได้มากขึ้นอีกด้วย..


วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564

พัฒนาทักษะใน Small size

     

Small size ใช้พัฒนาทักษะการเล่น

ภาพจาก www.facebook.com

                                        โค้ชสามารถบริหารจัดการกิจกรรมการฝึก เพื่อการพัฒนาในพื้นที่ที่มีขีดจำกัดเช่นในพื้นที่สนามขนาดเล็กได้ เพราะการฝึกทักษะไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เต็มทั้งสนามมาตรฐานจะใช้พื้นที่เพียงเฉพาะตัวเท่านั้น ดังนั้นสนามขนาดเล็กเพียงพอในการพัฒนาทักษะได้แน่นนอน..ตัวอย่างเช่น.

                                         การพัฒนาทักษะและเทคนิคการส่ง-รับบอล

                      โค้ชสามารถจัดกิจกรรมการฝึกทักษะและเทคนิคการเล่นในส่วนบุคคลและฝึกร่วมกับเพื่อนในทีมได้ดังนี้...   

                                         1. ฝึกการส่งและรับด้วยทักษะที่ถูกต้อง

                                         2. พัฒนาเทคนิคเพื่อเพิ่มคุณภาพการส่ง-รับตามลำดับขั้น..จากการส่ง-รับปกติ และเพิ่มเป็นการส่งไปสู่เป้าหมายที่มีที่กำหนดด้วยความแม่นยำ 

                                         3. พัฒนาเทคนิคการส่ง-รับ ประกอบการเคลื่อนที่ในทิศทางต่างๆด้วย

                                         4. พัฒนาทักษะการส่ง-รับบอลในอากาศได้อย่างเหมาะสม

                                         5. พัฒนาเทคนิคการส่ง-รับ ด้วยความแม่นยำและประกอบการเคลื่อนที่ในทิศทางต่างๆด้วย

                                         การพัฒนาด้านแทคติก

                                      โค้ชควรจัดกิจกรรมการฝึกในแบบที่เด็กต้องนำทักษะและเทคนิคการเล่นมาใช้ในแบบฝึกที่มีคู่ต่อสู้


                                          1. พัฒนาทักษะส่วนบุคคลโดยการเอาชนะคู่ต่อสู้ ด้วยการเลี้ยงบอลหลบหลีกผ่านไป

                                          2. พัฒนาเทคนิคการเล่นด้วยความสัมพันธ์กับเพื่อนเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้

                                          3. พัฒนาเทคนิคและแทคติกการเล่นเกมการรุกและเกมรับ

                                          4. พัฒนาเทคนิคและแทคติกการเล่นทีม ซึ่งการฝึกในสนามเล็กจะทำให้เด็กได้นำทักษะต่างๆมาใช้เล่นในเกมจริง และเด็กทุกคนจะมีโอกาสได้ใช้ทักษะเพื่อเล่นบอลในสถานะการณ์ต่างๆในเกมการเล่นบ่อยครั้งตลอดทั้งเกม ซึ่งจะเสริมให้เด็กแต่ละคนมีประสบการณ์การเล่นในทุกๆด้านเพิ่มมากขึ้นได้อย่างชัดเจน..และที่สำคัญจะพัฒนาศักยภาพในการเล่นในพื้นที่แคบๆได้ดีอีกด้วย.

                                     ดังนั้นการมีพื้นที่ไม่มากหรือมีขนาดสนามที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็สามารถพัฒนาศักยภาพของเด็กได้เป็นอย่างดีเช่นกัน ถ้าเราเข้าใจและสามารถจัดกิจกรรมการฝึกที่ถูกต้องเหมาะสม...

 




                                         

                                                   

                                              





วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564

small size games.สำคัญอย่างไร.

 

พัฒนาศักยภาพด้วย SMALL SIZE GAMES.

ภาพจาก www.pinterest.com

                                         หลายคนอาจจะมีความคิดว่า ถ้าไม่มีสนามบอลขนาดมาตรฐานจะทำการพัฒนาความสามารถของเด็กไม่ได้ หรือพัฒนาได้เล็กน้อยเท่านั้น ....

                                         อันที่จริงถ้าโค้ชมีความเข้าใจ ก็สามารถพัฒนาเด็กและนักกีฬาได้ ในพื้นที่สนามทุกขนาด แม้ว่ามีพื้นที่สนามขนาดเล็กก็ตาม..เพราะโค้ชจะต้องมีจุดประสงค์และเป้าหมายการฝึก มีแบบฝึกที่กำหนดขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมใช้ในกิจกรรมการฝึกนั้น เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ได้ตามจุดประสงค์ของการฝึกซ้อม

                                         ดังนั้นขนาดสนามขนาดเริ่มต้นที่ 10X10 หลา ก็สามารถพัฒนาศักยภาพของเด็กและนักกีฬาได้อย่างที่ต้องการ.....ตั้งแต่ทักษะ เทคนิค และแทคติก ที้งเฉพาะตัวและกลุ่ม   อย่างที่โค้ชกำหนด                

                                          คุณค่าของการฝึกด้วย Small size Games. สามารถพัฒนาได้ดังนี้.....

                                     1.พัฒนาทักษะส่วนบุคคล..ทั้งการรับ-ส่ง โหม่ง เลี้ยง และยิงประตู

                                     2.พัฒนาเทคนิคการเล่นกับเพื่อนร่วมทีม

                                     3.พัฒนาเทคนิคการเล่นกับคู่ต่อสู้

                                     4.พัฒนาเทคนิคการเล่นเกมรุก

                                     5.พัฒนาการเล่นเกมรับ

                                     6.พัฒนาด้านแทคติกโดยฝึกให้ผู้เล่นสามารถหมุนเวียนเปลี่ยนตำแหน่งแล้ว เล่นแบบผสมกลมกลืนและเล่นด้วยความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ และการเล่นทีม

                                           ดังนั้นเด็ก จะสามารถพัฒนาศักภาพให้ดีเพิ่มขึ้นได้จากการฝึกในสนามเล็กตามลำดับขั้นของทักษะ เทคนิค แทคติกและการเล่นเป็นทีม เพราะในสนามเล็กเด็กแต่ละคนจะมีโอกาสสัมผัสกับบอลและได้ทำกิจกรรมการฝึกได้บ่อยครั้ง เด็กจึงจะมีความสามารถได้ครบทุกด้านพร้อมที่จะเป็นนักกีฬาที่ดีได้ในอนาคต...แนวทางในการพัฒนาความสามารถจากสนามเล็กจะนำเสนอในครั้งต่อไป.