วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ทำอย่างไร..ให้บอลไทยไปบอลโลก?(ตอนที่3)

 

ทำอย่างไร..ไทยจะได้เล่นบอลโลกรอบสุดท้าย?(ตอนที่3)

แนวทางในการพัฒนา

                                                            ภาพจาก www.youtube.com

                                             จากสภาพปัญหาที่พบและแนวทางในการแก้ปัญหาซึ้งจำเป็นต้องทำทั้งระยะสั้นและระยะยาว สมาคมฟุตบอลฯก็มีแผนการแก้ไขและพัฒนาบางแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าเช่นมีการเปลี่ยนโค้ชมาคุมทีมชาติใหม่ทุกครั้งที่ผลงานออกมาไม่ดี ซึ่งเป็นความจำเป็นที่ต้องทำเพื่อจะพยายามรักษาศรัทธาและความนิยมเอาไว้ จริงๆแล้ววิธีการนี้ที่ทำยังไม่สามารถตอบโจทย์ที่คนไทยต้องการได้อย่างดีมีความสำเร็จได้ในระดับอาเซี่ยนเท่านั้น    ส่วนการพัฒนาก็มีแผนพัฒนาทีมเยาวชนขึ้นมาโดยมอบให้โค้ช เอคโคโน่และทีมงามมาวางพื้นฐานให้ ก็ถือว่ามีวิสัยทัศน์ดีทีเดียว...แต่คงลืมไปว่าชุดที่พัฒนาขึ้นมาจะมีอยู่เพียงกลุ่มเดียวและจำนวนนักฟุตบอลไม่มานัก..ซึ่งถ้าชุดนี้ก้าวขึ้นไปสู่ชุดใหญ่แล้วระยะหนึ่งจะมีรุ่นใหม่ไฟแรงเติบโตขึ้นมาทันหรือไม่ หรือเด็กชุดดังกล่าวเก่งขึ้นมาไปเป็นดาวเด่นของสโมสรแล้ว บางช่วงเวลาสโมสรขจะไม่ยอมปล่อยตัวมาให้เล่นใมนานทีมชาติ เหมือนปัญหาในปัจจุบันนี้ ทีมชาติก็จะไม่มีผู้เล่นตัวเก่งไปแข่งขันเหมือนเดิม...ดังนั้นต้องรอบคอบในการวางกรอบการพัฒนาแบบครบวงจรจึงจะเกิดผลดี...

                                              แนวทางในการพัฒนา..น่าจะเป็นดังนี้

                                         1. กำหนดระบบการเล่นให้ชัดเจน เพื่อโค้ชจะได้มีแนวทางในการสร้างทีม รวมถึงสามารถเลือกผู้เล่นที่มีความสามารถเหมาะสมกับแต่ละตำแหน่งมาใช้ และผู้เล่นแต่ละคนจะได้ฝึกฝนพัฒนาการเล่นให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ตนเองถนัด...ซึ่งจริงๆแล้วระบบบการเล่นจะเปลี่ยนไปตามสถานะการณ์ของเกมส์ ดังนั้นโค้ชต้องเตรียมความพร้อมให้ผู้เล่นได้รู้ เข้าใจและสามารถในไปใช้เล่นในแต่ละสถานะการณ์นั้นได้อย่างดีอีกด้วย..

                                        2. ต้องกำหนดสไตล์และรูปแบบการเล่นที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของคนไทย เพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานเบื้องต้นในการเล่นร่วมกัน ซึ่งรูปแบบการเล่นอาจจะปรับเปลี่ยนบ้างตามสภาพและขีดความสามารถของผู้เล่น..

                                        3. ต้องสรรหาโค้ชที่มีคุณภาพ แล้วนำมาอบรมสร้างความเข้าในระบบ สไตล์และรูปแบบการเล่นในกรอบการพัฒนาที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นไปในทางเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาที่เข้มแข็ง ยั่งยืนต่อไป..

                                        4. ต้องวางรากฐานความเข้าใจเกมส์การเล่นแบบสากล  ตั้งแต่การเล่นแบบ 1 v 1, เล่นในพื้นทีแคบๆ( Small size games), เกมรุก เกมรับ การหมุนเวียนเปลี่ยนตำแหน่งสนับสนุนช่วยเหลือกัน, การโจมตีทางด้านข้าง, การโจมตีในแนวตรง,การทะลุทะลวงในแนวลึก, การรุกกลับอย่างเร็ว,การเข้าทำประตูในแบบต่างๆ, การเล่นแบบผสมผสานทั้งผู้เล่น แทคติกและแบบการเล่นเฉพาะสถานะการณ์ให้ชำนาญ เพื่อช่วยให้ทีมเล่นกันได้อย่างลื่นไหล สัมพันธ์กันเป็นระบบ เป็นต้น..

                                        5.สมาคมฯต้องสร้างศูนย์พัฒนานักฟุตบอล 5 ศูนย์ โดยแบ่งพื้นที่ในการพัฒนานักบอลออกเป็น ศูนย์ประจำ 4 ภาค (เหนือ อีสาน กลาง ใต้) และอีกหนึ่งคือ ศูนย์ของสมาคมฯ เพราะภาคกลางเฉพาะในกรุงเทพฯก็มีทรัพยากรมากอยู่แล้ว...(ในส่วนนี้จะขอขยายความในตอนต่อไป) ซึ่งเยาวชนของไทยจะมีความเสมอภาคได้รับโอกาสในการพัฒนาศาสตร์การเล่นฟุตที่ถูกต้องเหมือนกับกลุ่มที่อยู่ในกรุงเทพฯ เพราะเมื่อแต่ละคนได้รับโอกาสฝึกและมีประสบการณ์ใกล้เคียงกัน สมาคมฯก็จะทรัพยากรที่มีคุณภาพจำนวนมากให้เลือกใช้ต่อไป เป็นต้น

                                         6. ต้องกำหนดเป้าหมายการพัฒนาตามลำดับขั้นให้ชัดเจน สมาคมฯต้องมีเป้าหมายของการพัฒนา เช่นต้องเข้าเล่นในรอบสุดท้ายหรือได้ตำแหน่งดีๆมาบ้างในการแข้งขัน AFC ในรุ่น U-16, U-19, U-23 แล้วขยับขึ้นไปสู่ระดับเอเชี่ยนเกมส์ โอลิมปิก และบอลโลกต่อไป ซึ่งเป้าหมายที่ชัดเจนจะเป็นแรงจูงใจผลักดันให้เกิดความสำเร็จได้ต่อไป ไม่ใช่ฝันข้ามขั้นไปบอลโลกเลย..มันเป็นการก้าวกระโดดที่ไกลเกินไปเราถึงยังล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนี้..

                                          แนวทางการพัฒนาดังกล่าวอาจจะดูว่าเหมือนธรรมดา แต่ถ้าพิจารณาให้รอบคอบจะเห็นได้ว่า สามารถลดหรือแก้ปัญหาที่เราพบในปัจจุบันได้จริง..แต่ต้องใช้ความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของทีมบริหารของสมาคมฯ และระยะเวลา ที่พัฒนาให้เกิดผลตามต้องการ..แนวคืดที่จะสร้างโอกาสให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จให้ได้นั้นจะนำเสนอในตอนต่อไป...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น