ทำอย่างไรจะพัฒนฟุตบอลไทยให้ไปไกลได้อย่างที่ฝัน..!! (ตอนที่ 6)
ข้อคิดเห็นต่อจากตอนที่แล้ว
การดำเนินการด้านการสร้างเสริมประสบการณ์..เป็นกิจกรรมที่จำเป็นเพื่อการประเมินผลการพัฒนาในสถานะการณ์จริง ข้อบกพร่องที่พบจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความเหมาะสมและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในตัวของนักกีฬา ซึ่งแต่ละคนจะรู้ขีดความสามารถของตน และต้องพยายามพัฒนาศักยภาพเพื่อแข่งกับนักกีฬาคนอื่นๆอีกด้วย..
การเข้าร่วมการแข่งขันในรายการต่างๆ เป็นแนวทางในการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับนักฟุตบอลที่ดีที่สุด แต่ควรวางแผนการเข้าร่วมการแข่งขันให้เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์ ดังนั้นสมาคมฟุตบอลฯควรจะนำรายการแข่งขันฟุตบอลที่มีอยู่ในปัจจุบันมาพิจารณาจัดระบบระเบียบเป็นแผนแม่บทเพื่อการพัฒนา บางรายการไม่สมควรอนุญาตให้นักฟุตบอลที่อยู่ในแผนพัฒนาของสมาคมไปลงแข่งขันเพราะจะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ง่ายไม่เกิดผลดีตามแผนพัฒนาที่ตั้งไว้..
แนวคิด..แบบจำลองของแผนพัฒนาต้นแบบ อย่างง่ายๆที่สะดวกและใช้งบประมาณแบบประหยัดได้ดังต่อไปนี้..โดยสมาคมฟุตบอลฯทำโครงการความร่วมมือพัฒนานักฟุตบอลระดับความเป็นเลิศกับสถาบันการพลศึกษา(ในอนาคตอาจจะเป็นมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ) เพราะสถาบันการพลศึกษาเป็นหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่จัดการศึกษาและพัฒนานักกีฬาของชาติอยู่แล้ว โดยมีสถานศึกษาในการดูแล คือโรงเรียนกีฬา 11 แห่ง(จะเปิดเพิ่มอีก 2 แห่ง) และสถาบันการพลศึกษาอีก 17 วิทยาเขต ครอบคลุมพื้นที่ครบทุกภาคทั่วประเทศไทย เปรียบเสมือนสมาคมฟุตบอลฯ มีศูนย์พัฒนาศักยภาพนักฟุตบอลครบทุกภาคพร้อมเสร็จ
วิธีดำเนินการ..
1.สมาคมฟุตบอลฯ ส่งแมวมองและกรรมการคัดเลือกเด็กที่มีความสามรถดีเข้าร่วมโครงการ และส่งเข้าศึกษาในสถานศึกษาที่กำหนด
2.สถานศึกษาในสังกัดสถาบันการพลศึกษา จัดการศึกษาให้ในทุกระดับ และดำเนินการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักฟุตบอล ตามรูปแบบและกรอบที่สมาคมกำหนด..
3.สมาคมฟุตบอลฯ วางแผนและจัดการแข่งขันในแต่ละรุ่นอายุเช่นรุ่น U-10, U-12, U-14, U-16, U-18, ในโรงเรียนกีฬา ส่วนสถาบันพลศึกษาวิทยาเขตต่าง ดูแลรุ่น
U-20, U-22 โดยจัดแข่งแบบทัวร์นาเม้นท์ 4 ครั้งต่อปี หรือจัดแข่งขันแบบลีก..ถ้ามีงบประมาณสนับสนุนให้อย่างเพียงพอ
4.สมาคมฟุตบอลฯ คัดนักฟุตบอลระดับหัวกระทิไปพัฒนาเพิ่มเติม ดังนั้นจะมีนักฟุตบอลแต่ละตำแหน่งไว้ในมือไม่น้อยกว่า 10 คน ซึ่งระดับความสามารถใช้ทดแทนกันได้ เพื่อนำมาใช้งานในนามทีมชาติต่อไป หรือมีทีมแต่ละระดับที่คุณภาพดีไว้ใช้ 3-4 ทีม
สมาคมฟุตบอลอาจจะทำความร่วมมือจากส่วนอื่นที่เหมาะสมได้อีก ตามที่เห็นสมควรเป็นต้น.............
การเข้าร่วมการแข่งขันในรายการต่างๆ เป็นแนวทางในการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับนักฟุตบอลที่ดีที่สุด แต่ควรวางแผนการเข้าร่วมการแข่งขันให้เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์ ดังนั้นสมาคมฟุตบอลฯควรจะนำรายการแข่งขันฟุตบอลที่มีอยู่ในปัจจุบันมาพิจารณาจัดระบบระเบียบเป็นแผนแม่บทเพื่อการพัฒนา บางรายการไม่สมควรอนุญาตให้นักฟุตบอลที่อยู่ในแผนพัฒนาของสมาคมไปลงแข่งขันเพราะจะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ง่ายไม่เกิดผลดีตามแผนพัฒนาที่ตั้งไว้..
ภาพจาก www.ipe.ac.th
แนวคิด..แบบจำลองของแผนพัฒนาต้นแบบ อย่างง่ายๆที่สะดวกและใช้งบประมาณแบบประหยัดได้ดังต่อไปนี้..โดยสมาคมฟุตบอลฯทำโครงการความร่วมมือพัฒนานักฟุตบอลระดับความเป็นเลิศกับสถาบันการพลศึกษา(ในอนาคตอาจจะเป็นมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ) เพราะสถาบันการพลศึกษาเป็นหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่จัดการศึกษาและพัฒนานักกีฬาของชาติอยู่แล้ว โดยมีสถานศึกษาในการดูแล คือโรงเรียนกีฬา 11 แห่ง(จะเปิดเพิ่มอีก 2 แห่ง) และสถาบันการพลศึกษาอีก 17 วิทยาเขต ครอบคลุมพื้นที่ครบทุกภาคทั่วประเทศไทย เปรียบเสมือนสมาคมฟุตบอลฯ มีศูนย์พัฒนาศักยภาพนักฟุตบอลครบทุกภาคพร้อมเสร็จ
ภาพจาก www.ipemk.ac.th
วิธีดำเนินการ..
1.สมาคมฟุตบอลฯ ส่งแมวมองและกรรมการคัดเลือกเด็กที่มีความสามรถดีเข้าร่วมโครงการ และส่งเข้าศึกษาในสถานศึกษาที่กำหนด
2.สถานศึกษาในสังกัดสถาบันการพลศึกษา จัดการศึกษาให้ในทุกระดับ และดำเนินการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักฟุตบอล ตามรูปแบบและกรอบที่สมาคมกำหนด..
ภาพจาก www.ipesports.ipe.ac.th
3.สมาคมฟุตบอลฯ วางแผนและจัดการแข่งขันในแต่ละรุ่นอายุเช่นรุ่น U-10, U-12, U-14, U-16, U-18, ในโรงเรียนกีฬา ส่วนสถาบันพลศึกษาวิทยาเขตต่าง ดูแลรุ่น
U-20, U-22 โดยจัดแข่งแบบทัวร์นาเม้นท์ 4 ครั้งต่อปี หรือจัดแข่งขันแบบลีก..ถ้ามีงบประมาณสนับสนุนให้อย่างเพียงพอ
4.สมาคมฟุตบอลฯ คัดนักฟุตบอลระดับหัวกระทิไปพัฒนาเพิ่มเติม ดังนั้นจะมีนักฟุตบอลแต่ละตำแหน่งไว้ในมือไม่น้อยกว่า 10 คน ซึ่งระดับความสามารถใช้ทดแทนกันได้ เพื่อนำมาใช้งานในนามทีมชาติต่อไป หรือมีทีมแต่ละระดับที่คุณภาพดีไว้ใช้ 3-4 ทีม
สมาคมฟุตบอลอาจจะทำความร่วมมือจากส่วนอื่นที่เหมาะสมได้อีก ตามที่เห็นสมควรเป็นต้น.............