วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561



ทำอย่างไรจะพัฒนาฟุตบอลไทยให้ไปไกลได้อย่างที่ฝัน..!! (ตอนที่ 3)

ภาพจาก www.youtube.com

                               ข้อคิดเห็นต่อจากตอนที่แล้ว...
                                2.การดำเนินการด้านยุทธศาสตร์การพัฒนา..ควรกำหนดการพัฒนาดังนี้
                               2.1 พัฒนาผู้ฝึกสอน
                               2.2 พัฒนาผู้ตัดสิน
                               2.3 พัฒนาครู
                               2.4 พัฒนาเด็กและนักฟุตบอล
                               2.5 พัฒนาระบบการจัดการแข่งขัน 
                               2.6 พัฒนาศักยภาพของนักฟุตบอลทีมชาติ

 ภาพจาก www.isport.co.th
                           การพัฒนาผู้ฝึกสอน..จัดการอบรมผู้ฝึกสอนให้มีคุณภาพในทุกระดับตามมาตรฐานของ AFC หรือ FIFA ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการปูพื้นฐานและพัฒนาเด็กในส่วนภูมิภาคให้มีทักษะความสามารถตามมาตรฐานสากล

 ภาพจาก www.goal.com
                          การพัฒนาผู้ตัดสิน...จัดการอบรมผู้ตัดสินให้มีความรู้ความสามารถ ตัดสินได้ดีตามมาตรฐาน และเพียงพอครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพราะจะได้ทำหน้าที่ตัดสินในเกมการแข่งขันในรายการต่างๆ เพื่อสนับสนุนประสบการณ์ด้านเกมการแข่งขันและช่วยพัฒนาเกมการเล่นของนักกีฬาให้เล่นอยู่ในกรอบของกฏกติกาให้อย่างเหมาะสม

ภาพจาก www.oknation.nationtv.tv

                          การพัฒนาครู...ควรจัดการอบรมความรู้ด้านผู้ฝึกสอนให้ครูในโรงเรียนด้วย เพราะเด็กส่วนใหญ่อยู่ในระบบการศึกษา แม้ว่าครูส่วนใหญ๋ไม่มีโอกาสได้อบรมตามหลักสูตรของ AFC แต่พวกเขาต้องสอนเด็กในโรงเรียน อาจจะจัดอบรมด้วยหลักสูตรของสมาคมฟุตบอลฯซึ่งเป็นมาตรฐานของไทย อย่างเช่นในหลักสูตรที่กรมพลศึกษาจัดทำขึ้น  ตั้งแต่ระดับ T-Licence ขึ้นไป  เมื่อครูมีความรู้ก็จะปูพื้นฐานการเล่นฟุตบอลที่ถูกต้องให้ เด็กจะได้มีทักษะที่ดีเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งจะง่ายในการต่อยอดการพัฒนาต่อไป

 ภาพจาก www.vachiralai.ac.th

                         การพัฒนาเด็กและนักฟุตบอล...การพัฒนาเด็กและนักฟุตบอลควรจัดการพัฒนาตามวุฒิภาวะของเด็กในวัยต่างๆอย่างเหมาะสม ไม่ควรเร่งหรือข้ามขั้นตอนไปเน้นที่เล่นทีม เพราะเด็กจะยังขาดความรู้ความเข้าใจขาดความชำนาญในอีกหลายๆเรื่อง ทำให้เมื่อเติบโตขึ้นเขาจะมีขีดจำกัดในการเล่นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน เช่น..กลุ่มเด็กอายุ 10-13 ปีควรเน้นทักษะพื้นฐาน การจับ รับ-ส่ง โหม่ง เลี้ยง ยิงประตู ฝึกให้เก่งถึงขั้นชำนาญ ส่วนการลงเกมเล่นทีมควรฝึกด้วยทีมเล็กๆ(Small Size Games) 3:3, 5:5, 7:7, เพราะฝึกแบบทีมเล็กเด็กจะมีโอกาสได้เล่นหรือสัมผัสบอลบ่อยๆ ได้ใช้ทักษะมากขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์กับเกมการเล่น และที่สำคัญต้องเข้าใจเกมการรุกและเกมรับติดตัวไป ดังนั้นเมื่อเสียการครองบอลไปจะต้องถอยกับลงมาป้องกันทันทีเหมีอนเป็นอัตโนมัติ...ส่วนกลุ่มเด็กอายุ 14-16 ปีฝึกพัฒนาเทคนิคต่างๆในระดับที่สูงขึ้น ฝึกลงทีมแบบ 7:7, 9:9, 11:11, พัฒนาแทคติกการรุก-การรับ การเล่นเฉพาะตำแหน่ง และระบบในการเล่นทีมปกติ ส่วนรุ่นอื่นที่สูงขึ้นไปควรพัฒนาแทคติกอื่นๆที่จำเป็นและเสริมประสบการณ์โดยการแข่งขันในรายการต่างๆ..เป็นต้น

 ภาพจาก www.chiangmainews.co.th
                        การพัฒนาด้านการสร้างเสริมประสบการณ์...ควรสนับสนุนจัดระบบการจัดการแข่งขันให้เหมาะสมในทุกระดับ อย่างเช่นในกลุ่มเด็กอายุ 10-13 ปี ที่เน้นฝึกด้วย Small Size Games ก็ควรจัดการแข่งขันเพื่อประลองทักษะความสามารถ แบบ 3:3, 5:5, 7:7,  ส่วนในระดับที่สูงขึ้นก็จัดให้เหมาะสมจนสามารเล่นเกม 11:11 จึงจะเกิดการพัฒนาด้านประสบการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือเป็นการประเมินผลของการพัฒนาการ ถ้าพบว่าดีแล้ว ต้องเตรียมต่อไปว่าจะพัฒนาส่วนใดเพิ่มอีก เพื่อพัฒนาความสามารถให้ดียิ่งขึ้น หรือถ้าพบข้อบกพร่องจะได้ดำเนินการแก้ไขเพื่อให้เข้าสู่ระดับมาตรฐานต่อไป เป็นต้น...

 ภาพจาก www.talkdara.com
                        การพัฒนาศักยภาพของนักฟฟุตบอลทีมชาติ...สมาคมฟุตบอลฯต้องมีสถานที่เป็นศูนย์ฝึกเพื่อฝึกนักฟุตบอลทีมชาติทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 4 ภาคในทุกระดับ ซึ่งต้องส่งแมวมองออกไปดูฟอร์มการเล่นของเด็กที่มีความโดดเด่นแล้วเรียกเข้ามาทดสอบฝึกซ้อมต่อยอดที่ศูนย์ฝึก แล้วเลือกผู้เล่นที่ดีที่สุดเป็นตัวแทนทีมชาติต่อไป...

 ภาจจาก www.siamsport.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น