วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561



แนวทางการฝึกเพื่อสร้างรูปทรงของทีม

ภาพจาก www.proja.ir
                                     
                                    ทำอย่างไรจึงจะสร้างให้ผู้เล่นรักษารูปทรงของทีมได้อย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่โค้ชต้องคิดรูปแบบการฝึกซ้อมแบบพื้นฐานได้ดังนี้...

                                   1.โค้ชต้องกำหนดระบบการเล่นของทีม

ภาพที่ 1

                                    จากภาพที่ 1. โค้ชต้องพิจารณาว่าทีมของตัวเองนั้นควรจะเล่นในระบบรูปแบบใด เช่นเมื่อโค้ชกำหนดระบบการเล่นของทีมเป็นแบบ 4:4:2 ดังนั้นต้องจัดผู้เล่นลงในกลุ่มกองหลัง กองกลาง และกองหน้า ตามแบบและเป็นรูปทรงของทีมที่กำหนด

                                    2.สร้างความเข้าใจสถานะการณ์เกมที่กำหนด
 
ภาพที่ 2
                                    จากภาพที่ 2 โค้ชต้องสร้างความเข้าใจสถานะการณ์ตามเกมเกมที่กำหนด เช่นการเปิดเกมรุกทางด้านขวา เบ็คขวาเปิดบอลให้ปีกขวาหมายเลข 7  กองหน้าหมายเลข 9 เคลื่อนที่ออกไปรับบอลด้านข้างจากปีกขวา ทำให้ผู้เล่นกองหน้าที่ต้องทำหน้าที่กดดันบริเวณหน้าเขตโทษและเพื่อหาโอกาสยิงประตูจะเหลือหมายเลข 10 เพียงคนเดียว ดังนั้นกองกลางหมายเลข 6 ต้องเติมเกมรุกขึ้นไป ทำให้รูปทรงของทีมเปลี่ยนไปเป็น 4:3:3
                                3.เน้นการเคลื่อนที่เติมพื้นที่ว่าง

ภาพที่ 3

ภาพที่ 4

                                   จากภาพที่ 3 สถานะการณ์เกมรุกควรเล่นให้เต็มพื้นที่ ดังนั้นผู้เล่นต้องเคลื่อนที่เติมเต็มในพื้นที่ว่าง โดยผู้เล่นปีกซ้ายหมายเลข 11 เคลื่อนที่เติมขึ้นไปสู่พื้นที่ว่างแดนหน้าด้านซ้าย กองหน้าจะมีผู้เล่นเต็มพื้นที่ 4 คน ส่วนกองกลาง และกองหลังต้องขยับเคลื่อนตามขึ้นมา รูปทรงของทีมจะปรับเป็น 4:2:4 
                                  จากภาพที่ 4 ในบางโอกาสเมื่อต้องการกดดันเปิดเกมรุกให้เต็มพิกัด จะเห็นได้ว่ากองกลางหมายเลข 8 จะเคลื่อนขยายแนวออกมาประคองทางด้านซีกซ้ายมากขึ้น ส่วนหมายเลข 7 จะคอยประคองอยู่ที่พื้นที่ด้านขวา พื้นที่บริเวณตรงกลางจะเปิดกว้างทำให้ผู้เล่นกองกลาง 2 คนทำหน้าที่ได้ลำบากไม่ครอบคลุมพื้นที่อย่างที่ต้องการ ดังนั้นกองหลังหมายเลข 4 เคลื่อนตัวขึ้นไปเติมยังพื้นที่ว่างนั้น รูปทรงของทีมจะปรับเป็น 3:3:4 เป็นต้น
                                 4.เกมเปลี่ยนต้องถอยลงมาตั้งรับ/สลับตำแหน่ง
                           
ภาพที่ 5

ภาพที่ 6

                                  จากภาพที่ 5 เมื่อเสียการครอบครองบอลไป ต้องปรับเป็นเกมรับทันที เช่นคู่ต่อสู้บุกโจมตีกลับมาทางด้านแบ็คขวาของทีมเรา ตามหลักของเกมรับผู้เล่นที่อยู่ใกล้คู่ต่อสู้ที่มีบอล ต้องเคลื่อนตัวเข้าไปขวางเพื่อชะลอให้คู่ต่อสู้บุกทะลวงได้ช้าลง และให้ผู้เล่นคนอื่นรีบเคลื่อนที่ถอยกลับลงมาช่วยป้องกันในเกมรับ ซึ่งอาจจะต้องหมุนเวียนแทนตำแหน่งกันมาป้องกัน เช่นผู้เล่นหมายเล่น 2 และผู้เล่นหมายเลข 4 เคลื่อนที่เข้าไปประชิดเพื่อชะลอเกมของคู่ต่อสู้ ทำให้หมายเลข 4 ถอยลงไปเข้าแนวป้องกันของกองหลัง และผู้เล่นหมายเลข 6 ถอยกลับลงมาเข่าสู่แนวป้องกันของกองกลาง รูปทรงของทีมจะปรับในระยะแรกเป็น 4:3:3 
                                 จากภาพที่ 6 เมื่อเกมรับอยู่ทางด้านขวา ผู้เล่นจะขยับเทตามไปทางด้านซีกขวามากขึ้น ผู้เล่นหมายเลข 11 ก็จะต้องรีบถอยลงมาช่วยขุมกำลังกองกลางและคอยควบคุมสถานะการณ์ในพื้นที่ด้านซ้าย และปรับรูปทรงของทีมเป็น 4:4:2 เข้าสู่ระบบเดิมได้ทันที
                              สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึง..ผู้เล่นทุกตำแหน่งต้องเข้าใจหลักการเล่น และต้องมีวินัยอย่างมากที่จะรักษารูปทรงของทีมให้สมดุลย์ไว้เสมอ    ดังนั้นขุมกำลังทั้งกองหน้า  กองกลาง และกองหลังต้องปรับตำแหน่งให้ครบเพื่อคุมพื้นที่ในแต่ละแดน และต้องรักษาระยะของขุมกำลังให้เหมาะสมไม่ห่าง หรือใกล้ชิดกันเกินไปเพราะจะทำให้รูปทรงของทีมเสียไป ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นในทีมช่วยสนับสนุนการเล่นทั้งเกมรุก-เกมรับซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสามารถรักษารูปทรงของทีมไว้ได้อย่างสม่ำเสมอตลอดเกม ไม่เปิดพื้นที่ว่างให้คู่ต่อสู้บุกเข้าโจมตีได้โดยง่าย....
                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น